การพัฒนาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารการจัดการความเสี่ยงของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย

Main Article Content

รภัสศา รวงอ่อนนาม
ฉัตรชัย พรประสิทธิ์

บทคัดย่อ

           การวิจัยเรื่องการพัฒนาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารการจัดการความเสี่ยงของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทยยังมีปัญหาหลายอย่างรวมถึงอุปสรรคของสหกรณ์ออมทรัพย์ในด้านความเสี่ยงที่เกิดจากการบริหารงานสหกรณ์ตามมาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการบริหารการจัดการความเสี่ยงของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย และ2. เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการบริหารการจัดการความเสี่ยงของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 840 ตัวอย่าง โดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมิน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM
           ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการบริหารการจัดการความเสี่ยงของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทยประกอบไปด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านการบูรณาการในการจัดการความเสี่ยง 2) ปัจจัยด้านกลยุทธ์ในการจัดการความเสี่ยง 3) ปัจจัยด้านความสามารถในการจัดการความเสี่ยงและการสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน และ 4) ปัจจัยด้านการจัดการความเสี่ยงและความรับผิดชอบที่มีต่อสังคมร่วมกันในองค์กร ส่วนใหญ่ส่งผลต่อการบริหารการจัดการความเสี่ยงของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทยทั้งสิ้น และผลการพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการบริหารการจัดการความเสี่ยงของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทยมีดัชนีวัดความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2565). รายงานสรุปภาพรวมการใช้อำนายนายทะเบียนสหกรณ์สั่งการให้คณะกรรมการดำเนินการแก้ไขข้อบกพร้องทางการเงินการบัญชีและไม่ใช่ทางการเงินและการบัญชี ไตรมาสที่ 2. ส่วนวิจัยและพัฒนาสารสนเทศทางการเงิน สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย LISREL. กรุงเทพมหานคร: สามลดา.

กฤษฎิ์ สาลิกา. (2560). ผู้นำสหกรณ์ยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: สามแพร่ง.

กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2554). การจัดการความเสี่ยงและตรสารอนุพันธ์เบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: เพียร์สันเอ็ดดูเคชั่น. อินโดไชน่า.

จุฑาทิพย์ เวสนุสิทธิ์. (2553). ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของระบบการบริหารความเสี่ยงขององค์กรในกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน. การศึกษาด้วยตนเองบัญชีมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชนินทร สุวรรณสุขุม. (2556). การบริหารความเสี่ยงการให้สินเชื่อของสหกรณ์ในจังหวัด ชุมพร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ18 มีนาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.e-manage.mju.ac.th/ openFile.aspx?id=MTg5MDA5.

ดวงใจ ช่วยตระกูล. (2551). การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษาภาควิชาการ บริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2565). ประเด็นเศรษฐกิจในรอบปี. รายงานเศรษฐกิจและการเงิน. สายนโยบายการเงิน. กรุงเทพมหานคร.

นุกูล กรยืนยงค์. (2554). หลักและวิธีการสหกรณ์. ภาควิชาสหกรณ์. คณะเศรษฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยเกษตร.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พล อินทเสนีย์. (2558). การบริหารจัดการตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพมหานคร

รุ่งรัตน์ ครุฑเวโช. (2560). ลักษณะผู้นำสหกรณ์ที่ดี. กรุงเทพมหานคร: สารสหกรณ์ออมทรัพย์ สป.

David McClelland (1993). Strategic Management and Business Policy. 8 th Ed. Upper Saddle River, NJ: Pearson Education.

Hair, J., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis. (7th ed.). Upper saddle River, New Jersey: Pearson Education International.

Hopkin, P. (2010). Understanding Evaluating and Implementing Effective Risk Management

Husted, B. W. and De Jesus Salazar, J. (2006). Taking Friedman seriously: maximizing profits and social performance, Journal of Management Studies, 43 (1), pp.75-91.

Kurt. (2012). The Dynamic offromp Action. Education Leadership. Management Framework. Standards & Regulations News. December 1, 2009. (Online). http://engineers.ihs. com/news/2009/iso 31000-risk-management-120109.htm., December 13, 2560.

Mitchell, M. S., & Ambrose, M. L. (2007). Abusive supervision and workplace deviance and the moderating effects of negative reciprocity beliefs. Journal of Applied Psychology. 92 (4), 1159-1168.

Morgan & Andersen. (1997). Images of organization. (2nd ed.). Newbury Park, CA: Sage.

Power, Michael. (2009). The risk management of nothing Accounting, Organizations and Society, 34 (6-7). 849-855. ISSN 0361-3682.

Schein, Edgar H. (1985). Organizational Culture and Leadership. San Francisco: Jossey-Bass Publishers

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A beginner's guide to structural equation modeling (3rd ed.). Routledge/Taylor & Francis Group.

Schmidt A, Kunzmann C. (2010). Ethnographically Informed Studies as a Methodology for Motivation Aware Design Processes. In Proc. MATEL-2010-2012, ECTEL 2010, Palermo, Italy.

Teschner. (2008). Einschränkung der intramitochondrialen Redoxkontrolle in C2C12- Myoblasten.

Waber. (1947). The Theory of Social and Economic Organizations. Translated by A.M. Handerson and T. Parsons. New York: Free Press.