ภาพลักษณ์ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในมุมมองของนักท่องเที่ยว ชาวไทยในพื้นที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบมุมมองด้านภาพลักษณ์ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในมุมมองของนักท่องเที่ยวชาวไทยในพื้นที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ โดยการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถาม จากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท่องเที่ยวในพื้นที่พัทยา จำนวน 400 คน ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้เลือกใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็น (Probabilty sampling) โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ค่าความถี่(Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Division) และใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ได้แก่ ทีเทส (T-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA or f-test) ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวไทยที่มีลักษณะประชากรศาสตร์ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่างกัน มีมุมมองเกี่ยวกับภาพลักษณ์ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินต่อเมืองท่องเที่ยว ในภาพรวม ไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ นักท่องเที่ยวไทยที่มีลักษณะประชากรศาสตร์ ได้แก่ สถานภาพ และระดับการศึกษา นักท่องเที่ยวไทยที่มี ในภาพรวมที่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ในส่วนของการศึกษาภาพลักษณ์ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในมุมมองของนักท่องเที่ยวชาวไทยในพื้นที่เมืองพัทยา ในภาพรวม พบว่า มีภาพลักษณ์ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในมุมมองของนักท่องเที่ยวชาวไทย อยู่ในระดับน้อย โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านภัยธรรมชาติ ด้านสาธารณสุข ด้านความปลอดภัย ด้านอาชญากรรม และด้านอุบัติเหตุ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุด ตามลำดับ
Article Details
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). แนวโน้มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2566. แหล่งที่มา: https://www.mots.go.th
ข่าวช่อง 7. (2561). การขยายตัวของการท่องเที่ยวไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2566. แหล่งที่มา: https://news.ch7.com/
ข่าวสดออนไลน์. (2559). อึ้ง!! นักท่องเที่ยวจีน โดนเก็บค่าแท็กซี่ พญาไท-สามเสน 2,540 บาท แฉกลโก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2566. แหล่งที่มา: https://www.khaosod.co.th/home
ณัฐพงศ์ วิชัยดิษฐ์ และผกามาศ ชัยรัตน์. (2563). ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. 9 (2), 183-192.
ทัชชกร แสงทองดี. (2561). รูปแบบความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวในจังหวัด พระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ. 4 (2), 23-24.
พจน์ เฟื่องฟู. (2560). แนวทางการสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในประเทศไทย (เอกสารวิจัยส่วนบุคคล). กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
พรหมพิเชฐ สนธิเมือง และพัชรา ต๊ะตา. (2564). สภาพปัญหาและแนวทางการป้องกันอาชญากรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารอาชญาวิทยาและสังคมศาสตร์. 3 (2), 1-17.
เลิศพร ภาระสกุล. (2558). แรงจูงใจและทัศนคติที่ส่งผลต่อความพึงพอใจโดยรวมของนักท่องเที่ยวชาวจีนต่อการท่องเที่ยวประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
สนิทเดช จินตนา และอารีวรรณ หัสดิน. (2563). ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานครในมุมมองของนักท่องเที่ยวต่างชาติ. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี. 1 (2), 33-43.
ศาลจังหวัดพัทยา. (2561). สถิติคดีนักท่องเที่ยวคดีอาญา ศาลจังหวัดพัทยา ปี 2561. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2556. แหล่งที่มา: https://ptyc.coj.go.th/
สุปัญญา ไชยชาญ. (2551). การบริหารการตลาด. (น. 54). พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร. สํานักพิมพ์พี. เอ. ลีฟวิ่ง.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). สถานภาพอาชญากรรม จำแนกตามประเภทความผิดเป็นรายเดือน
พ.ศ. 2557. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.m-society.go.th/
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2565). ผลสำรวจอาชญากรรมนักท่องเที่ยว. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา : https://www.royalthaipolice.go.th/
Kim, H., & Richardson, S. L. (2003). Motion picture impacts on destination images. Annals of Tourism Research. 30 (1), 216–237.
Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper. & Row.