การศึกษาคำคมในรายการผู้หญิงทำมาหากิน

Main Article Content

สมิทธ์ชาต์ พุมมา
จริญญา ธรรมโชโต
สืบพงศ์ ธรรมชาติ
ไพบูลย์ ดวงจันทร์

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการใช้ภาษา  กลวิธีการนำเสนอเนื้อหากลวิธีการเรียบเรียง และภาพสะท้อนทางสังคมวัฒนธรรมจากคำคมในรายการผู้หญิงทำมาหากิน  ตั้งแต่วันที่ 1  กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2563 รวมทั้งสิ้น 330 คำคม  ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสอบถาม  ผลการวิจัยพบว่า ด้านกลวิธีการใช้ภาษา มี 9 ชนิด ได้แก่ 1) การใช้คำไม่สุภาพ   2) การใช้คำตรงกันข้าม  3) การใช้คำซ้ำ  4) การใช้คำซ้อน  5) การใช้คำยืมภาษาอังกฤษ 6) การใช้คำแสดงการห้ามหรือสั่ง 7) การใช้คำคล้องจอง  8) การใช้สำนวนสุภาษิต และ 9) การใช้โวหารภาพพจน์ ด้านกลวิธีการนำเสนอเนื้อหา มี 4 ชนิด ได้แก่  1) การนำเสนอเนื้อหาแบบเตือนสติ 2) การนำเสนอเนื้อหาแบบสร้างความขบขัน 3) การนำเสนอเนื้อหาแบบประชดประชัน  และ 4) การนำเสนอเนื้อหาแบบโฆษณาสินค้า       ด้านกลวิธีการเรียบเรียง มี 5 ชนิด ได้แก่  1) การใช้ข้อความที่ขัดแย้งกัน 2) การใช้ข้อความแสดงเหตุผล      3) การใช้ข้อความแสดงการสั่ง  4) การใช้ข้อความแสดงเงื่อนไข และ 5) การเปลี่ยนแปลงสำนวนที่มีอยู่เดิม  ด้านภาพสะท้อนทางสังคมวัฒนธรรม   มี 7 ชนิด ได้แก่  1) ค่านิยมเรื่องความขยัน พยายาม ประหยัด       อดออม 2) ค่านิยมเรื่องรูปร่างหน้าตา ความสวย  ความหล่อของคนในสังคม  3)  ค่านิยมเรื่องความร่ำรวย และความสุขสบายของชีวิต  4)  การมีสุขภาพที่ดีนำมาซึ่งความสุข 5)  คนไทยนิยมเล่นหวย  6)  ปัญหาเศรษฐกิจยุคโควิด  และ 7) ปัญหาความยากจนและหนี้สินของคนในสังคม  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ช่องวัน 31. (2562). รายการผู้หญิงทำมาหากิน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2562. แหล่งที่มา: https://www.one31.net/news/detail/11793

ทินวัฒน์ สร้อยกุดเรือ. (2562). กลวิธีทางภาษาในการอวยพรงานเลี้ยงฉลองมงคลสมรส. วารสารวรรณวิทัศน์. 19 (1), 107-135.

ธำรงสิทธิ์ พจนานุภาพ และสิริวรรณ นันทจันทูล. (2558). การใช้ภาษาและภาพสะท้อนของคำคมที่ปรากฏในเว็บเพจคำคมเฟซบุ๊ก. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นันทวัฒน์ เนตรเจริญ. (2560). กลวิธีทางภาษาในพาดหัวข่าวที่ชวนให้อ่านในข่าวออนไลน์. วารสารอักษร-ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 39 (2), 237-263.

ปรีชา ธนะวิบูลย์ และชลอ รอดลอย. (2553). การใช้ภาษาและกลวิธีการสร้างภาษาโฆษณาของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปรีชา ธนะวิบูลย์ และสิริวรรณ นันทจันทูล. (2559). วัจนกรรมคำคมความรักในเครือข่ายสังคมออนไลน์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 10 (1), 137-150.

ปรียานุช สองศร (2558). บทบาทการสื่อสารคำคมคัตโตะและบ่นบ่นผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พนมสิทธิ์ สอนประจักษ์ (2562). กลวิธีการใช้ภาษาในป้ายหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 24 มีนาคม 2562 กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก เขตเลือกตั้งที่ 1. วารสารสจล. ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 1 (1-2), 1-7.

พรรณธร ครุฑเนตร และปัณณรัช ชูเชิด. (2563). การใช้ภาษาโน้มน้าวใจในโฆษณาบ้านบนเฟซบุ๊กของบริษัทอสังหาริมทรัพย์. วารสารวจนะ. 8 (2), 25-43.

พรรณษา พลอยงาม. (2551). วิเคราะห์การใช้ภาษา กลวิธีการเขียน และโลกทัศน์ในบทความของนิติภูมิ นวรัตน์ ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย. 2 (3), 184-198.

วิภาวรรณ อยู่เย็น. (2550). คำคมในภาษาไทย. วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย. 1 (2), 36-62.

อิสราพร อนันตสุข. (2561). กลวิธีการใช้คำและการใช้ภาพพจน์ในเพลงของศิลปินนิวจิ๋ว. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2565. แหล่งที่มา: https://hs.ssru.ac.th/useruploads/files/20181003/d305d587 ed82777d0f9ae0b021b9719c55a7857d.pdf