รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก ด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัล สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู ระดับปริญญาตรี มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกฯ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกฯ และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาวิชาชีพครู ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม 3) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกฯ 4) แบบวัดความฉลาดทางดิจิทัลเชิงสถานการณ์ 5) แบบบันทึกสะท้อนการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและความต้องการของรูปแบบฯ ควรมีส่วนร่วมลงมือปฏิบัติ ใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มเรียนได้ทั้ง ในห้องเรียนปกติและห้องเรียนออนไลน์ไปพร้อมกันและสะท้อนคิด 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกฯ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.41, S.D. = 0.22) 3) ผลการศึกษาการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกฯ ความฉลาดทางดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครูอยู่ในระดับมาก ( = 4.34, S.D. = 0.72) 3.1) นักศึกษามีการสะท้อนคิดพบว่านักศึกษามีความฉลาดทางดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น
Article Details
References
ทับทิมทอง กอบัวแก้ว, เกริกเกียรติ กอบัวแก้ว และ สมเกียรติ กอบัวแก้ว. (2566). รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารวิชาการ ครุศาสตร์สวนสุนันทา. 7 (1), 1-13.
นิตยา นาคอินทร์. (2564). 8 ความฉลาดทางดิจิทัล ของนักศึกษาวิชาชีพครูสู่การเป็นพลเมือง 4.0. Graduate School Journal Chiang Rai Rajabhat University. 4 (1), 1-11. https://so04. tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/256034
อพัชชา ช้างขวัญยืน, รุจโรจน์ แก้วอุไร, วินัย วงษ์ไทย และ เอื้อมพร หลินเจริญ. (2566). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนิสิตปริญญาตรีตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับสื่อออนไลน์. Journal of Information and Learning. 34 (1), 24-33.
ลัดสะหมี พอนไซ. (2565). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางดิจิทัลของนักศึกษามหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการพัฒนาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ศิวาพัชญ์ บำรุงเศรษฐพงษ์, ภูริสร์ ฐานปัญญา และเกรียงไกร สัจจะหฤทัย. (2563). การเรียนการสอนแบบไฮบริด (Hybrid Learning) กับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์. 12 (3), 213-224.