การพัฒนาแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัดองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและตรวจสอบคุณภาพแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ และ 2) สร้างเกณฑ์ปกติ (Norms) ในการแปลผลคะแนนของแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 3 เป็นวิจัยเชิงปริมาณ ตัวอย่างสำหรับการวิจัยคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 300 คน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยคือ แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามแนวคิดและทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์ (Torrance) ซึ่งประกอบด้วย ความคิดคล่องแคล่ว ความคิดยืดหยุ่น และความคิดริเริ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความตรงตามเนื้อหา ความยาก อำนาจจำแนก ความเที่ยง ผลการวิจัยดังนี้
1) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ที่สร้างขึ้น ประกอบด้วยข้อคำถามจำนวน 6 ข้อ วัดครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่ ความคิดคล่องแคล่ว ความคิดยืดหยุ่น และความคิดริเริ่ม มีลักษณะเป็นแบบเขียนตอบ โดยกำหนดภาพ และสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ แล้วให้นักเรียนเขียนตอบจากคำถามที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่กำหนด ผลการตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์พบว่าข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.67-1.00 มีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.48 - 0.66 ค่าอำนาจจำแนก (r) มีตั้งแต่ 0.20 - 0.50 และค่าความเที่ยงด้านความคิดคล่องแคล่วมีค่าเท่ากับ 0.81 ค่าความเที่ยงด้านความคิดยืดหยุ่นมีค่าเท่ากับ 0.80 และค่าความเที่ยงด้านความคิดริเริ่มมีความเที่ยงเท่ากับ 0.84 2) เกณฑ์ปกติ (Norms) ในการแปลผลคะแนนของแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ด้านความคิดคล่องแคล่ว ด้านความคิดยืดหยุ่น ด้านความคิดริเริ่ม และรวมทั้งฉบับ มีค่าตั้งแต่ T29 ถึง T77 , T36 ถึง T70 , T35 ถึง T74 , T35 ถึง T74 ตามลำดับ
Article Details
References
กรมวิชาการ. (2544). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือครูรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: องค์การค้าของสกสค.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กชพรรณ เภสัชชา. (2560). การสร้างแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
กรุณา เสนฤทธิ์ และ คณะ. (2555). การสร้างแบบทดสอบวัดความสามารถการคิดสร้างสรรค์วิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 7 (1), 97 -106
กองส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น (พ.ศ.2566 -2570). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.dla.go.th/servlet/ EbookServlet?_mode=detail&ebookId=2369&random=1716529595267
ชวาล แพรัตกุล. (2552). เทคนิคการวัดผล. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
นิติพร ประสบพิชัย. (2558). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เรื่ององค์ประกอบศิลป์ตามรูปแบบการเรียนรู้ เบรนเบสต์ด้วยเทคนิคซินเนคติกส์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างสรรค์งาน ศิลปะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาทัศนศิลปากร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ไพศาล วรคำ. (2558). การวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
วัชราภรณ์ แสนนา. (2565). การพัฒนาแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมนึก ภัททิยนี. (2551). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
สมรัก อินทวิมลศรี. (2560). ผลของการใช้แนวคิดสะเต็มศึกษาในวิชาชีวิทยาที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มาหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน. (2563). ความคิดสร้างสรรค์เด็กไทยที่หายไป. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.thaipbskids.com/contents/5f6188f917d8e5bbee2401a1
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพมหานคร: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.
สุทธิดา วงศามิ่งและคณะ. (2558). การสร้างแบบทดสอบความคิดสร้างสรรทางวิทยาศาสตร์สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การประชุมวิชาการระดับชาติครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 1, 515-526.
สุภาวดี ปกครอง. (2555). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านเชียงกลม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มาหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.