ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านทักษะการทำงานในอนาคตของนักเรียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านทักษะการทำงานในอนาคตของนักเรียนใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 62 เขตพื้นที่ กลุ่มตัวอย่าง คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 54 เขตพื้นที่ ได้มาโดยใช้วิธีการ สุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านทักษะการทำงานในอนาคตของนักเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในกรวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified)
ผลการวิจัย พบว่า การบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านทักษะการทำงานในอนาคตของนักเรียน ที่มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงที่สุด คือ การบริหารกระบวนการ รองลงมา คือ การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลการดำเนินงาน การมุ่งเน้นบุคลากร การวัดการวิเคราะห์และการจัดการความรู้ การวางแผนกลยุทธ์และการนำองค์การ ตามลำดับ ส่วนทักษะการทำงานในอนาคตของนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงที่สุด คือ ทักษะการประยุกต์ใช้ความรู้ รองมา คือ ทักษะส่วนบุคคล ทักษะการคิด ทักษะที่ใช้ในที่ทำงาน และทักษะด้านคนและสังคม ตามลำดับ
Article Details
References
กรณัฏฐ์ สกุลกฤตง. (2019). นวัตกรรมการบริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามแนวคิดทักษะการทำงานใน อนาคต. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา. คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กองบริหารข้อมูลตลาดแรงงาน. (2561). การเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานในยุคดิจิทัล. กรมการจัดหางานกระทรวงแรงงาน.
เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว. (2561). ช่องว่างทักษะกับนัยยะที่มีต่อการพัฒนากำลังคนของประเทศไทย. เอกสารการวิจัยทางวิชาการ. คณะเศรษฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธรัช อารีราษฎร์ และวรปภา อารีราษฎร์. (2562). รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม สาหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตามกรอบแผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560-2579 สู่การจัดการศึกษา 4.0. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สันติ แสงระวี, วีระยุทธ ชาตะกาญจน์, และจำเริญ ชูช่วยสุวรรณ. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6 (7), 3552-3571.
สายเพ็ญ บุญทองแก้ว. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
สิทธิชัย เวศสุวรรณ. (2015). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพ องค์กรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. รายงานการประชุมวิชาการและนำเสนอ ผลการวิจัย ระดับชาติและนานาชาติกลุ่มระดับชาติด้านการศึกษา. 3 (6), 457-465.
เสาวนีย์ จันทะพงษ์ และกำพล พรพัฒนไพศาลกุล. (2562). การยกระดับทักษะแรงงานไทย: โจทย์ใหญ่ในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
Bakhshi, H., Downing, J. M., Osborne, M. A., & Schneider, P. (2017). The future of skills: Employment in 2030. Pearson.
Davies, A., Fidler, D., & Gorbis, M. (2011). Future work skills 2020. Palo Alto: Institute for the Future for University of Phoenix Research Institute. Online. Retrieved May 23, 2020, from: https:/legacy.iftf.org/futureskills/.
Edmond, C. (2017, 04 Sep). 7 skills your child needs to survive the changing world of work. Online. Retrieved Oct 20, 2022, from: https://www.weforum.org/agenda/2017/09/skills-childrenneed-work-future/.
Fidler, D., & Williams, S. (2016). Future skills. Update and literature review. Prepared for ACT Foundation and the Joyce Foundation. Institute for the Future. Online. Retrieved Oct 20, 2022, from: https:/legacy.iftf.org/futureskills/.
Kandukuru Nagarjun. (2020). COVID-19: Stimulating the economy and employment. Online. Retrieved Oct 20, 2022, from: https://www.ilo.org/global/ab out-the lo/newsroom/news/WCMS743036/lang-en/index.htm.
Williams, S. (2016). Future Skills : Update and Literature Review. Online. Retrieved Oct 20, 2022, from: htte://www.ifff.ore/fileadmin/userupload/downleads/wfi/ACTE IETE Euturesskills-report pdf.