ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานเก็บขยะที่ส่งผลต่อความผูกพัน ในองค์กรในเขตจังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

รัฐพล ลี้สกุล
นพพงศ์ เกิดเงิน

บทคัดย่อ

          คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานเก็บขยะมักเป็นเรื่องที่ถูกมองข้ามจากองค์กร เพราะองค์กรไม่ให้ความสำคัญ จึงทำให้พนักงานเก็บขยะไม่ได้รับการสนับสนุนในด้านคุณภาพชีวิตในการทำงานเท่าที่ควร แต่เรื่องนี้กลับเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงานเก็บขยะที่จะทำให้งานขององค์กรมีความต่อเนื่องและบรรลุตามจุดประสงค์
          งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานเก็บขยะที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรในเขตจังหวัดสมุทรปราการ (2) ศึกษาปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงานเก็บขยะ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม มีค่า IOC เท่ากับ 0.67-1.00 ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ย 2 กลุ่ม ที่เป็นอิสระต่อกัน  การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์แบบถดถอยเชิงพหุคูณ
          ผลการวิจัย พบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อายุงาน และเงินเดือน ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรอย่างมีนัยสำคัญ (2) ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน ได้แก่ ความสมดุลงานกับชีวิตส่วนตัว ความยุติธรรมในการทำงาน และความปลอดภัยในการทำงาน ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กร อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2566). สมัครงาน หางาน เทศบาลเมืองบางแก้ว รับ 150 อัตรา รายละเอียดครบ เช็กที่นี่. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/ health/labour/1102961

ณชชล หาญแสงชัย. (2565). ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณัฐพัชร ศรีวิไล. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงานบริษัทเอกชน Gen Y ในเขตพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร. โครงการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นวรัตน์ เพชร พรหม. (2562). วัฒนธรรมองค์กรและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธีกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นาดีม เจะสามะ และสิริวิท อิสโร. (2562). ปัจจัยคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันในการทำงาน: กรณีศึกษาพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาลเมืองสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์

ปิยะมาศ เกิดแสง. (2562). ความผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลนครปฐม. สารนิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการองค์การ คณะศิลปศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกริก.

วิไลวรรณ จันทร์เมือง และประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ. (2652). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงพยาบาลในจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 30 (3), 165-181

สุดารัตน์ ครุฑสึก. (2558). ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน ความผูกพันต่อองค์กรและการสื่อสารในองค์กรส่งผลต่อการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรของพนักงานเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Allen, N. J., & Meyer, J. P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance and normative commitment to the organization. Journal of occupational psychology. 63 (1), 1-18.

Brand Buffer. (2566). WTW ไขปัญหาแนวโน้มการจ้างงานในไทยปี 66 พร้อมชี้แนวทางรักษาคนเก่งสายดิจิทัล อาชีพดาวรุ่งที่คนลาออกมากที่สุด. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.brandbuffet.in.th/2566/02/wtw-thailand-pr/

Cochran, W. G. (1953). Sampling techniques. John Wiley & Sons

Field, A. (2005). Discovering statistics using SPSS (2nd ed.) London: Sage.

Maslow, A. H. (1954). Motivation and personality. Harpers. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2566 แหล่งที่มา https://psycnet.apa.org/record/1955-02233-000

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory. (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.

Walton, R. E. (1973). Quality of working life: what is it. Sloan management review. 15 (1), 11-21.