การจัดการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เรื่อง เครื่องกลอย่างง่าย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ศิริลักษณ์ ไข่แก้ว
สกนธ์ชัย ชะนูนันท์

บทคัดย่อ

           งานวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และ 2) ศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เรื่อง เครื่องกลอย่างง่าย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 แผน แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรม แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และชิ้นงานของนักเรียน
           ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวทางการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีประเด็นที่ควรเน้น ได้แก่ การเลือกใช้สถานการณ์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันหรือสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อนักเรียน ลักษณะของสถานการณ์จะต้องเอื้อต่อแนวคิดการแก้ปัญหาที่นำองค์ความรู้ด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมมาประยุกต์ใช้ ประกอบกับควรมีแหล่งข้อมูลด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น, วัสดุที่ลดการเกิดของเสีย และข้อมูลต้นทุนของวัสดุในการสร้างโมเดลชิ้นงาน ทั้งนี้ระยะเวลาในการสร้างแนวคิดของนักเรียนควรมีอย่างเพียงพอ และครูควรมีการตรวจสอบแนวคิดที่แต่ละกลุ่มได้เลือก 1 แนวคิดก่อนนำไปสร้างโมเดลชิ้นงานจริง อีกทั้งให้อิสระกับนักเรียนในการเลือกใช้วัสดุสำหรับสร้างโมเดลชิ้นงาน และควรชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจกับนักเรียนในเรื่องของเกณฑ์การประเมินโมเดลชิ้นงานเพื่อให้นักเรียนสามารถสะท้อนข้อคิดเห็นได้ตรงตามประเด็นที่ครูกำหนด และ2) นักเรียนมีพัฒนาการของความคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพิ่มขึ้นในทั้ง 6 องค์ประกอบและแต่ละองค์ประกอบอยู่ในระดับ 4

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

พรภัทร จตุพร. (2563). เครื่องมือการคิดออกแบบเพื่อส่งเสริมครูนักคิดออกแบบ: การวิจัยการคิดออกแบบ. วิทยานิพนธ์. คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2567). การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ (Creative Learning). (4). กรุงเทพมหานคร: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์

ศุธิดา อาจทะนงค์. (2565). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่ใช้การออกแบบเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC). (2560). DESIGN THINKING: LEARNING BY DOING การคิดเชิงออกแบบเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2565. แหล่งที่มา: https://resource.tcdc.or.th/ebook/Design.Thingking.Learning.by.Doing.pdf.

สายสุนีย์ กลิ่นสุคนธ์. (2545). ผลของการใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมแรงร่วมใจต่อความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนป้อมนาคราชสวาทยานนท์ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ. สารนิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566—2570). ราชกิจจานุเบกษา.

สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2562). การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา. พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Amabile, T.M. (2012). Componential theory of Creativity. Working paper Harvard business School. 12 (96), 4.

Brem, A., & Diaz, R. P. (2020). Creativity, Innovation, Sustainability: A Conceptual Model for Future Research Efforts. Journal of Sustainability. 12 (3139), 1.

Fortus, D., Dershimer, R. C., Krajcik, J., Marx, R.w., & Mamlok – Naaman, R. (2004). Design-based science and student learning. Journal of Research in Science Teaching. 41 (10), 1.

Francisco, Z. P., & Jesus, S. M. (2019). Teaching for a Better World. Sustainability and Sustainable Development Goals in the Construction of a Change-Maker University. Journal of Sustainability. 11 (15), 1-15.

Hans, D., (2019). The Relationship between Sustainability and Creativity. Journal of Sustainable development. 4 (1), 68.

Kristen. (2019). Do You Have the 21st Century Skills Today Employers Are Seeking?. Online. Retrieved July 3, 2023. from: https://www.rasmussen.edu/student-experience/college-life/21st-century-skills/.

Rabab, S. & Alexander B. (2023). Creativity for sustainability: An integrative literature review. Journal of Cleaner Production. 388 (135848), 1-11.

Sternberg, L. (1995). Defying The Crowd: Cultivating Creativity In A Culture Of Conformity. Online. Retrieved March 15, 2024. from : https://psycnet.apa.org/record/1995-97404-000.

Teaching & Learning Lab. (2015). Design thinking in Education. Online. Retrieved June 25, 2023. from : https://tll.gse.harvard.edu/sites/projects.iq.harvard.edu/files/hgsetll/ files/designthinkingeducation.pdf.

Tsoukas, H. (2009). A Dialogical Approach to the Creation of New Knowledge in Organizations. Organization Science. 20 (6), 941 – 951.

Vivian M.Y.Cheng. (2019). Developing individual creativity for environmental sustainability: Using an everyday theme in higher education. Journal of Thinking Skills and Creativity. 33 (100567), 1.

Watson, M. K., Barrella, E., Wall, T., Noyes, C., & Rodgers M. (2017). A Rubric to Analyze Student Abilities to Engage in Sustainable Design. Journal of Advance in Engineering Education. 6 (1), 1-25.