การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม(STSE) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด เพื่อส่งเสริมการสะท้อนคิดและความฉลาดรู้ด้านสิ่งแวดล้อม เรื่อง แหล่งน้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม(STSE) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด และ 2)ศึกษาการสะท้อนคิดและความฉลาดรู้ด้านสิ่งแวดล้อม เรื่อง แหล่งน้ำ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 17 คน การจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1)ระบุปัญหาประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อม 2)การกระตุ้นให้นักเรียนหาคำตอบ 3)ระดมความคิดและสืบค้น 4)สะท้อนความรู้จากการค้นคว้า 5)แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสะท้อนความคิด 6)วิเคราะห์และประเมินค่า และ7)สรุปและนำไปใช้ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย1)แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบบันทึกสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ 3)เครื่องมือวัดความฉลาดรู้ด้านสิ่งแวดล้อมด้านความรู้ (ใบกิจกรรมและแบบประเมินชิ้นงานนักเรียน) 4)แบบประเมินความฉลาดรู้ด้านสิ่งแวดล้อมด้านเจตคติและด้านพฤติกรรม และ5)แบบประเมินการสะท้อนคิดของนักเรียน โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสะท้อนการจัดการเรียนรู้ด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบแบบสามเส้า
ผลของความฉลาดรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและการสะท้อนคิด พบว่า นักเรียนมีพัฒนาการเกี่ยวกับความฉลาดรู้ด้านสิ่งแวดล้อมทั้งด้านความรู้ เจตคิต และพฤติกรรม และการสะท้อนคิดเพิ่มมากขึ้นในแต่ละวงจรปฏิบัติ โดยพบความฉลาดรู้ด้านสิ่งแวดล้อมด้านความรู้พบอยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 11.76 ความฉลาดรู้ด้านสิ่งแวดล้อมด้านเจตคติพบในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 47.05 ความฉลาดรู้ด้านสิ่งแวดล้อมด้านพฤติกรรมอยู่ระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 52.94 และระดับการสะท้อนคิดระดับที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 35.30
Article Details
References
กัญชลิกา แวงวรรณ. (2562). การศึกษาระดับการสะท้อนคิดกับการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2565). รายงานประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2565. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.pcd.go.th/public cation/29343
จิระพา สุโขวัฒนกิจ. (2556). ผลการเรียนการสอนแบบสืบสอบโดยใช้แหล่งเรียนรู้ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์และความสามารถในการวิเคราะห์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดุษฎีพร สังข์สะอาด. (2566). แนวทางการจัดการเรียนรู้ด้วยประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 34 (1), 59–72.
นรินทร์ สังข์รักษา. (2563). การสะท้อนการเรียนรู้ : มุมมองการสร้างองค์ความรู้ในงานวิจัยทางการศึกษา.วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 2 (2), 1-15.
นาถณรินทร์ วัฒน์ธนนันท์. (2563). ผลการสอนแบบสะท้อนคิดในวิชาวิทยาศาสตร์ต่อการตระหนักรู้การรู้คิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
วัฒนพงศ์ เขียวเหลือง. (2562). การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อม เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วิมลมาศ ศรีนาราง. (2562). เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. นิตยสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 47 (219), 26-29.
สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). สสวท.ปลูกจิตสำนึกเด็กไทยรักษ์สิ่งแวดล้อม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา: https://glebethailand.ipst.ac.th/news.php?t=&y=2017
สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2562). การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา. พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุธี พลมาศ. (2563). การพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับการโต้แย้งเพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อม เรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 23 (3) , 315-327.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ. (2565). รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www. onep.go.th/ebook/soe/soereport2022.pdf
พินทอง ปิ่นใจ, พงศ์พัชรา พรหมเผ่า และ สุรางคณา ไชรินคำ. (2562). ผลของการสอนโดยกระบวนการสะท้อนคิดต่อการพัฒนาทักษะทางปัญญา สำหรับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ในรายวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา. 20 (3), 200-213.
Asay, L. D., and Orgill, M. (2010).Analysis of Essential Features of Inquiry found in ArticlesPublished in the Science Teacher, 1997-2007. Journal of Science Teacher Education. 21, 57-79.
Gibbs, G (1988). Learning by doing : A Guide to Teaching and Learning Methods. Further Education Unit, Oxford Polytechnic: Oxford.
Hemaprasit S. (2000). EL 421 Science for Elementary School Teachers. Bangkok : Department of Curriculum and Instruction Srinakharinwirot University.
Kember, D., McKay, J., Sinclair, K. & Wong, F. K. Y. (2008). A Four-Category Scheme forCodingandAssessing the Level of Reflection in Written Work. Assessment & EvaluationIn HigherEducation. 33 (4), 369-379.
Kollmuss, A.,& Agyeman, J. (2002). Mind the gap: Why do People act Environmentally AndWhat are the barriers to Pro-Environmental Behavier. Environmental EducationResearch. 8 (3), 239-260.
Miftahuddin, M. Roshayanti, F., & Siswanto, J. (2023). Profile of Environmental LiteracyStudents of SMPN 3 TELUK KERAMAT. Indonesian Journal of Education. 3 (1), 44-54.
Murphy, T. P., & Olsen, A. M. (2008). The third Minnesota report card on environmentalliteracy: a survey of adult environmental knowledge, attitudes and behavior. St. Paul, MN: Minnesota Pollution Control Agency.
Nesseth, N. M., Henson, A. M., & Barriault, C.L. (2021). A Framework For Understanding The Nature of Questions asked by Audience Participants at Science cafés. Frontiers in Education. 21 (6), 674-878.
Rosario, B. I. D. (2009). Science, Technology, Society and Environment (STSE) Approach inEnvironmental Science for Conscience Students in a Local Culture. CHED AccreditedResearch Journal. 6 (1), 269-283.
UNESCO-UNEP. (1978). The Tbilisi Declaration Connect. UNESCO-UNEP Environmental Education Newsletter. (3), 1-8.
Williams, R.D. (2017). An Assessment of Environmental Literacy Among Oklahama PublicHigh School Students and the Factors Affecting Students' Environmental literacy. Harvard University. Ph. D. thesis. Cambridge, MA : Harvard University.