การพัฒนารูปแบบการป้องกันปัญหายาเสพติดของนักเรียน ในหลักสูตรการศึกษานอกระบบ จังหวัดพะเยา

Main Article Content

ภานุพันธ์ ไพทูรย์

บทคัดย่อ

          การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหายาเสพติด พัฒนารูปแบบการป้องกันปัญหายาเสพติด และประเมินผลการใช้รูปแบบการป้องกันปัญหายาเสพติดของนักเรียนในหลักสูตรการศึกษานอกระบบ จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำชุมชน ครูและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 360 คน  โดยมีขั้นตอนวิจัย 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาปัญหายาเสพติด 2) พัฒนารูปแบบการป้องกันปัญหายาเสพติด และ 3) ประเมินผลรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ อยู่ระหว่าง 0.86-0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ paired t-test
          ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนใช้ยาเสพติด ร้อยละ 35.83 มีพฤติกรรมการดื่มสุรา/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มากที่สุด (ร้อยละ 37.45) รองลงมาคือการสูบบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้า ร้อยละ 34.26, กัญชา ร้อยละ 14.74, ใบกระท่อม ร้อยละ 11.95 และยาบ้า ร้อยละ 1.59 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ยาเสพติด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ได้แก่ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน โรคประจำตัว การอาศัยอยู่กับครอบครัว การรับรู้เกี่ยวกับยาเสพติด ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม 2) รูปแบบการป้องกันปัญหายาเสพติด มี 5 ประการ คือ (1) การพัฒนาระบบการช่วยเหลือนักเรียน (2) การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม (3) โครงการ To be number one (4) การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (เหล้า/บุหรี่) และ (5) การพัฒนาระบบการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสนเทศ เอกสารและสื่อเกี่ยวกับยาเสพติด 3) ผลการประเมินรูปแบบพบว่า ภายหลังเสร็จสิ้นโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างมีทักษะชีวิต การรับรู้เกี่ยวกับยาเสพติดและพฤติกรรมการป้องกันปัญหายาเสพติดเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) โดยมีสัดส่วนพฤติกรรมการสูบบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้า และการดื่มสุรา/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลดลง ดังนั้นจึงควรขยายผลในพื้นที่อื่น ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างครู ผู้ปกครอง นักเรียน แกนนำชุมชน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างต่อเนื่อง  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2565). “White Zone สถานศึกษา กศน. ปลอดสารเสพติด” สู่สถานศึกษาสีขาว. ออนไลน์. สืบค้น 15 มิถุนายน 2566. แหล่งที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/health/edu cation/1034305

กิตติวงค์ สาสวด และปรีชา ดิลกวุฒิ. (2559). การพัฒนารูปแบบการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด ในกลุ่มเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่เทศบาล อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม. 10 (2), 116-124.

ณัฐวุฒิ บุตรธนู และณภัสวรรณ ธนาพงษ์อนันท์. (2565). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์. 6 (2), 68-82.

ธีรพงษ์ ชูพันธ์ และกาญจน์ เรืองมนตรี. (2563). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยัลยราชภัฏสกลนคร. 8 (32), 263-273.

ธีรวัฒน์ พงศ์ภาณุพัฒน์ และคณะ. (2565). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการเสพสารเสพติดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 37 (3), 559-568.

นิภาวรรณ ตติยนันทพร. (2565). การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการป้องกันและบำบัดยาเสพติดอำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 16 (2), 581-596.

พณณกร ราชแก้ว. (2564). ปัจจัยแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม การป้องกันยาเสพติดโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดนราธิวาส สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 13 (1), 99-115.

พระครูกิตติวราทร (ทองปั้น), จิราภรณ์ ผันสว่าง, อมรรัตน์ ผันสว่าง และ ระพีพัฒน์ หาญโสภา. (2562). การพัฒนารูปแบบวิธีการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด ในกลุ่มเด็กและเยาวชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 19 (3), 218-229.

พระครูพิพัฒน์ สุตคุณ, พระมหาเมธี จนฺทวํโส และกวีภัทร ฉาวชาวนา. (2564). การเอาชนะยาเสพติดในสถานศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์สครสวรรค์. 8 (3), 235-244.

พระสมุห์ธนภัทร ธนภทฺโท(ทิพย์วงษ์), พระครูวุฒิ สาครธรรม(สาครสาคโร) และไพรัตน์ ฉิมหาด. (2566). ปัญหาและแนวทางบูรณาการการป้องกันปัญหายาเสพติดของเยาวชนในสถานศึกษา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 10 (11), 255-268.

ภิรมย์ศักดิ์ กิจพัฒนาสมบัติ, เกษมชาติ นเรศเสนีย์ และบุญเรือง ศรีเหรัญ. (2561). สภาพปัญหายาเสพติดในเยาวชนของกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 37 (4), 121-132.

วราภรณ์ วีระพันธ์. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียน มัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 14 (3), 166-178.

รัชตะ รอสูงเนิน, ธนาคาร เสถียรพูนสุข, สาธิต สีเสนซุย, วัชรากร หวังหุ้นกลาง และวันฉัตร โสฬส. (2564). แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเลิกบุหรี่. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 15 (2), 362-376.

ศักดา มังคะรัตน์ และธีระวัฒน์ มอนไธสง. (2564). แนวทางการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา). วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยัลยราชภัฏสกลนคร. 9 (35), 245-254.

ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา การสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกัน เด็กและเยาวชนไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2566. แหล่งที่มา: https://spcspb3.thai.ac/client- upload/spcspb3/download/project%20protect.pdf

ศูนย์บำบัดยาเสพติดเอกชนภูฟ้าเรสท์โฮม. (2566). ปัญหายาเสพติดในไทย และแนวทางการแก้ไข ปี 2566. ออนไลน์. สืบค้น 15 มิถุนายน 2566. แหล่งที่มา: https://www.phufaresthome.com/blog/drugs-problem-in-thailand-2566/

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพะเยา. (2565). รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดพะเยา ประจำปี 2565. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2566. แหล่งที่มา: https://www.m-society.go.th/ewtadmin/ewt/mso_web/download/article/article_20220920160640.pdf

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพะเยา. (2565). ข้อมูลสารสนเทศพื้นฐานด้านการศึกษา จังหวัดพะเยา ปีการศึกษา 2565. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2566. แหล่งที่มา: https://fliphtml5. com/xwqst/eqhh/basic

อับดุลคอลิก อัรรอฮีมีย์, สวัสดิ์ ไหลภาภรณ์, จิรัชยา เจียวก๊ก และฐานิดาภัทฐ์ แสงทองสง. (2564). รูปแบบการป้องกันตนเองในการใช้สารเสพติดซ้ำของผู้ติดสารเสพติดในพื้นที่จังหวัดปัตตานี กรณีศึกษา ผู้เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดในศูนย์บำบัดบ้านแสนสุข และสถาบันปอเนาะพัฒนาเยาวชน (รายงานผลการวิจัย). ศูนย์ศึกษาปัญหายาเสพติด (ศศก.)

Daniel WW. (2005). Biostatistics: a foundation for analysis in the health sciences. 8th. Hoboken, N.J. : Wiley/John Wiley & Sons.

MediaThailand. (2555). การศึกษานอกระบบ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2566. แหล่งที่มา: https://www.mediathailand.org/2012/05/blog-post_2584.html

UNODC. (2022). World Drug Report 2022 highlights trends on cannabis post-legalization, environmental impacts of illicit drugs, and drug use among women and youth. (n.d.). online. Retrieved June 15, 2023. From: https://www.unodc.org/