รูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

ปิลันธ์ ปาวิชัย
สถิรพร เชาวน์ชัย
ทัศนะ ศรีปัตตา
ฉลอง ชาตรูประชีวิน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน และศึกษาสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) จำนวน 3 แห่ง 2) การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยนำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มายกร่างการพัฒนารูปแบบและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบด้วยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ (Focus Group) จำนวน 9 คน 3) การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ในเขตภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 317 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น ผลการวิจัย พบว่า
          1. รูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ 2) ประเภทของแหล่งเรียนรู้ 3) กระบวนการบริหารแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน 4) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และ 5) คุณภาพผู้เรียน ผลการตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่ามีความเหมาะสม
          2. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิติมา วรรณศรี. (2566). การบริหารจัดการสู่คุณภาพผู้เรียนและสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 1). พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.

ธนพล ด่านวิวัฒน์วงศ์. (2561). การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้โรงเรียนบ้านริมใต้ อำเภอแม่ริมจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยวิทยาเขตล้านนา.

ธีระชัย แสนแก้ว. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาขนาดเล็กด้านวิชาการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 11 (1), 117-131.

นันธวัช นุนารถ. (2563). การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก: โอกาสและความเสมอภาคในยุคไทยแลนด์ 4.0. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์. 8 (1), 289-300.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2562). กลยุทธ์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา. 30 (3), 199-214.

สุดารัตน์ งามวิลัย. (2561). แนวทางการบริหารแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนกลุ่มสหวิทยาเขตร่มเกล้า-นวมินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.(2560). การจัดการความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร.

อมรรัตน์ เตชะนอก (2563). การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศในศตวรรษที่ 21 (Education Management Towards Excellence In The 21st Century). Journal of Modern Learning Development. 5 (6), 364-373.

ฮำดัน สาอุ. (2565). การส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอสุคิรินสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นราธิวาส เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.