รูปแบบการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช

Main Article Content

เพชรี มากมี
จุติพร อัศวโสวรรณ
นพรัตน์ ชัยเรือง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช 2) พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช และ 3) ตรวจสอบรูปแบบการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี มีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย  ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช โดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จำนวน 234 คน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบรูปแบบการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกและแบบสัมมนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความต้องการจำเป็น และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพในการวิเคราะห์ เนื้อหา (Content Analysis)


          ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช พบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สภาพความต้องการของการบริหาร งานวิชาการในศตวรรษที่ 21ของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น โดยภาพรวมมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 0.20  ซึ่งสรุปได้ว่า ทุกด้านมีความต้องการจำเป็น


  1. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช โดยใช้ APDSEI MODEL มีองค์ประกอบการบริหารงานวิชาการ  9 ด้าน ได้แก่ 1) การวางแผนงานวิชาการในศตวรรษที่ 21  2) การพัฒนาและนำหลักสูตรไปใช้ในศตวรรษที่ 21 3)  การพัฒนาการเรียนการสอนให้สอดคล้องในศตวรรษที่ 21 4) การส่งเสริมบรรยากาศการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 5)  การนิเทศการสอนในศตวรรษที่ 21 6) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในศตวรรษที่ 21 7)  การใช้เทคโนโลยีในการประเมินผลและเทียบโอนการเรียน 8) การประกันคุณภาพภายใน และมาตรฐานการศึกษาในศตวรรษที่ 21  9) การส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการให้สอดคล้องในศตวรรษที่ 21 และรูปแบบที่นำมาพัฒนาประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่  1) ชื่อรูปแบบ 2) หลักการของรูปแบบ 3) จุดประสงค์ของรูปแบบ 4) วิธีดำเนินการของรูปแบบ   5) การประเมินผลของรูปแบบ  6) แนวทางการนำรูปแบบไปใช้ และ 7) เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ

  2. 3. การตรวจสอบรูปแบบการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ มีความถูกต้อง และมีความเป็นประโยชน์ทุกรายการ และสามารถนำไปใช้พัฒนาการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาได้จริง

 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). แผนปฏิบัติการดิจิทัลเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2563 - 2565. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

กัญญารัตน์ แรกรุ่น. (2561). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ทัศนีย์ รัตนสุวรรณ (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานของสถานศึกษาเอกชนขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิผล. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนกฤต อั้งน้อย. (2562). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูใหม่ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพลส.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ประภาพร แฝดสูงเนิน. (2561). ศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.

ปรีชา ปัญญานฤพล. (2557). การพัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อการศึกษาตลอดชีวิต. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริม.

เพ็ญพักตร์ มิ่งวงศ์ธรรม. (2561). แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มณทิพย์ บุญมณี. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

มาลัยพร สาวิสัย. (2563). วิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

มีศิลป์ ชินภักดี. (2554). การพัฒนารูปแบบการบริหารการปฏิรูปการศึกษาสำหรับสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษา. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์ ดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2548). การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพทั้งองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิมาน กะริอุณะ. (2561). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ศรุต บุญโนนแต้. (2558). แนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีประสิทธิผล. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยรายภัฏอุบลราชธานี. 15 (3), 243-252.

ศิวพร ละหารเพชร. (2562). ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขนาดเล็กตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สกุลการ สังข์ทอง. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนร้แบบ MECCA เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. ดุษฎีนิพนธ์ ปร.ด. (หลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมาน อัศวภูมิ. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารประถมศึกษาระดับจังหวัด. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สัมมา รธนิธย์. (2560). หลักทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). แนวทางการกระจายอานาจบริหารและการจัด การศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2564. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศ.

สิณัฏฐา ถิรวิทย์วรกุล. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการของโรงเรียนสองภาษา. สำนักพิมพ์. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

สุพัตรา ประจง. (2559). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Brophy, G.M. (2006). "A Study of the Process Used by Academic Affairs Administrators at Participating Institutions of Higher Education to Select Instructional Technology Tools For Faculty Use in Instructional in Undergraduate Classes," Dissertation Abstracts International.

Brown, W. B. & Moberg, D. J. (1980). Organization Theory and Management : A Macro Approach. New York: John Wiley & Sons.

Bush, T. (1986). Theories of Education Management. London: Harper & Row.

Campbell,R. E., Bridges, E.M. & Nystrand, R.O. (1977). Introduction to Educationa Administration. Boston: Allan and Bacon.

Faber, C.F. and Sherron, F. G. (1970). Elementary school administration. New York : Holt Rinehart and Winston.

Hoy, K. W. & Miskel, G. C. (2001). Education Administration : thory research and practice. New York: McGraw Hill.

Keeves, J. P. (1998). Model and Model Building Educational Research Methodology and Measurement : An International Handbook. Oxford: Pergamum.

Keeves, J. P. (1997). Educational Research, Methodology, and Measurement. Cambridge: Cambridge University.

Kimbrough, B. and Nunnery, Y. (1998). Educational Administration: An Introduction. New York: Macmillan.

Mcquail, D. and Windahl, S. (2011). Communication Models for the Study of Mass Communications. (2nd ed.) New York : Routledge.

Miller, V. (1965). Administration of American School. New York: McMillan.

Phongsakorn Adulpittayaporn. (2019). Approaches for The Academic management improvement of the small-sized secondary schools according to the concept of student quality development networks. Dissertation Abstract, Faculty of Education, Chulalongkorn University.

Sergiovanni, T. J. (1991). The principalship : A reflective practice perspective. Boston: Allyn & Bacon.

Smith, R. H. & Others. (1995). Management Making Organizations Perform. New York: Macmillan.

Soliman, H. A. (1997). Administrative Behavior. New York: The Free Press.