รูปแบบการบริหารจัดการความเสี่ยงของสถานศึกษาเอกชนภาคใต้ตอนบน

Main Article Content

เศรษฐ เสือทอง
อรรครา ธรรมาธิกุล
วีระยุทธ ชาตะกาญจน์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการความเสี่ยงของสถานศึกษาเอกชนภาคใต้ตอนบน สภาพที่เป็นอยู่จริง สภาพโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง และสภาพความรุนแรงของผลกระทบที่จะเกิดความเสี่ยงของรูปแบบการบริหาร จัดการความเสี่ยงของสถานศึกษาเอกชนภาคใต้ตอนบน กลุ่มตัวอย่างคือครูผู้สอนจำนวน 305 คน  2) สร้างรูปแบบ การบริหารจัดการความเสี่ยงของสถานศึกษาเอกชนภาคใต้ตอนบนและ 3) ตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการความเสี่ยงของสถานศึกษาเอกชนภาคใต้ตอนบน โดยเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกและแบบสัมมนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน วิเคราะห์โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง และวิเคราะห์สภาพความรุนแรงของผลกระทบ
          ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและรูปแบบการบริหารจัดการความเสี่ยงของสถานศึกษาเอกชน   ภาคใต้ตอนบน จากผู้เชี่ยวชาญทุกคนเห็นด้วยกับองค์ประกอบหลักทั้ง 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การกำหนดวัตถุประสงค์ความเสี่ยง องค์ประกอบที่ 2 การระบุความเสี่ยง  องค์ประกอบที่ 3 การประเมินและ จัดลำดับความเสี่ยง องค์ประกอบที่ 4 การจัดการและตอบสนองความเสี่ยง 5 ติดตามผล  ดัชนีลำดับ   ความสำคัญของโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง และสภาพความรุนแรงของผลกระทบที่จะเกิดความเสี่ยงของรูปแบบการบริหารจัดการความเสี่ยงของสถานศึกษาเอกชนภาคใต้ตอนบนอยู่ในระดับมาก (  = 4.83, S.D. = 6.88) 2) รูปแบบการบริหารจัดการความเสี่ยงของสถานศึกษาเอกชนภาคใต้ตอนบน คือ CLUSTER Model 3) รูปแบบการบริหารจัดการความเสี่ยงของสถานศึกษาเอกชนภาคใต้ตอนบน มีความเหมาะสม มีความเป็นประโยชน์และมีความเป็นไปได้ สามารถนำไปใช้ในสถานศึกษาได้จริง  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงมหาดไทย. (2566). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร. กรุงเทพมหานคร: สำนักบริหารการทะเบียนกรมการปกครอง

กระทรวงศึกษาธิการ, กลุ่มตรวจสอบภายในระดับกระทรวง. (2561). การบริหารความเสี่ยงและการควบคุม ภายใน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2566. แหล่งที่มา: http://ga.kpru.ac.th/audit/ images/pdf- Knowledge/internal-control- and-risk-Management.pdf

กาญจนา ศิริพานิช. (2562). การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี. วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น. 15 (1), 1-12.

เจริญ เจษฎาวัลย์. (2550). การบริหารความเสี่ยง. (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี: พอดี จากัด.

ชัยเสฎฐ์ พรหมศรี. (2550). การบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2559). กรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กร (ERM Framework). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2559. แหล่งที่มา: https://www.set.or.th/th/about/ overview/files/Risk_ 2015_v2.pdf

ธนกฤต อั้งน้อย. (2562). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูใหม่ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นองค์การ แห่งการเรียนรู้. การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธร สุนทรายุทธ. (2550). การบริหารความเสี่ยงทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: เนติกุลการพิมพ์.

นิรภัย จันทร์สวัสดิ์. (2551). การบริหารความเสี่ยง Risk Management. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สูตรไพศาล.

นฤมล สะอาดโฉม. (2550). การบริหารความเสี่ยงองค์กร. กรุงเทพมหานคร: ฐานการพิมพ์.

นฤมล สะอาดโฉม. (2550). การบริหารความเสี่ยง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2550. แหล่งที่มา: http:/www.auditddc.org/images/1148885564/RM.P1.ppt#262,8

นฤมล สะอาดโฉม. (2550). สรุปการบรรยายการบริหารความเสี่ยง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2550. แหล่งที่มา: http:/www.opdc.go.th/oldweb/thai/devlopleader/day%203/4desc_ risk_pdf.

ประชาชาติธุรกิจ. (2564). โรงเรียนเอกชนเจ๊ง 300 แห่ง รายใหญ่รุกซื้อสาขาบุกออนไลน์. ประชาชาติ ธุรกิจ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.prachachat.net/education/ news768649/

ปริษฐา ถนอมเวช. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงแบบมีส่วนร่วมในสถารศึกษาอาชีวศึกษา.วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 8 (2), 265–274.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 4 หน้า 49

พระราชบัญญัติการศึกแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก. (19 สิงหาคม 2542): (หน้า 1-23)

พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน (ฉบับที่2) พ.ศ. 2554. (2554). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 128 ตอนที่ 46 ก. (9 มิถุนายน 2554): (หน้า 1-9)

พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550. (2551). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่7 ก. (11 มกราคม 2551): (หน้า 29-69)

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, คณะวิทยาศาสตร์. (2557). การจัดการความเสี่ยง (RM). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2565. แหล่งที่มา: https://science.swu.ac.th/Default.aspx?tabid=12468& language=th-TH

ศิลา สงค์อาจินต์. (2560). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู. ตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถาบันการศึกษาในสังกัดเทศบาลตรัง. วารสารศรี นครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา. 10 (20), 160 – 175

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารความเสี่ยง. ม.ป.ท., 2556.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. (2560). พรบ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 และแก้ไข เพิ่มเติม 2554. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2565. แหล่งที่มา: https://opec.go.th/aboutus? cate_id=3/

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2562). ประเภทของโรงเรียนเอกชน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2565. แหล่งที่มา: https://sites.google.com/site/prachasampan56/prapheth-khxng-rongreiyn-xekchn

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2546). ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ตาม เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2545). การประกันคุณภาพทางการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน: แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2560). รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเอกชน : สภาพและ แนวทางการสนับสนุน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). รายงานการศึกษาความร่วมมือระหว่างรัฐกับภาคเอกชนในการพัฒนาการศึกษาตามกฎหมายและแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาเอกชน พ.ศ. 2566 –2570: (หน้า 52 - 56) กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเจี้ยฮั้ว.

อรวรรณ กัลชาญพิเศษ. (2565). การศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารความเสี่ยงโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย. วารสารรัชต์ภาคย์. 16 (45), 141 - 154

Committee of Sponsoring Organization of the Treadway Commission (COSO).(2008). Enterprise risk management – Integrated framework. Accessed 10 January 2008 from http://www.COSO.org/publications.htm

Gray, Clifford F., and Erik W. Larson, Project management : the managerial process,5th ed. New York: McGraw-Hill companies, Inc., 2011.

Keeves, J.P. (1998). Educational research, methodology and measurement : an international handbooks. Oxford: Pergamum Press.

Krejcie, R. V., and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607 – 610.