การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าชานเมือง กรณีศึกษารถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วง

Main Article Content

สาวิตรี ปัญญา ชมิตต์
สุทธาทิพย์ กำธรพิพัฒนกุล

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความแตกต่างของปัจจัยคุณภาพการบริการ ภาพลักษณ์องค์กรที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าชานเมือง กรณีศึกษารถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเป็นผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงและสายสีม่วงไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์และกระจายแบบสอบถามด้วยตนเอง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติเชิงอนุมานการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
          ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วง ได้แก่ ด้านความเชื่อถือได้ อย่างมีนัยสำคัญ 0.01 ด้านการตอบสนองความต้องการส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วง อย่างมีนัยสำคัญ 0.05 ด้านการเข้าใจและรู้จักลูกค้าส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง อย่างมีนัยสำคัญ 0.05 ภาพลักษณ์องค์กรส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วง อย่างมีนัยสำคัญ 0.001 และความพึงพอใจส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วง อย่างมีนัยสำคัญ 0.001 ส่วนคุณภาพการบริการ ด้านความเป็นรูปธรรมบริการ ด้านการให้ความมั่นใจไม่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วง ด้านความเชื่อถือได้ไม่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง และด้านการเข้าใจและรู้จักลูกค้าไม่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กันต์ณธีร์ เนติโรจนชัยชาญ และศิรดล ศิริธร. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการเดินทางช่วงแรกของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า. วารสารวิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต. 13 (1), 104-117.

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้. (2566). รถไฟฟ้าสายสีแดง (ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต) 13 สถานี พลิกโฉมชานเมือง. ออนไลน์. ค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2566. แหล่งที่: https://shorturl.asia/QE03i

ธีรพันธ์ สงวนวงศ์. (2564). การตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ท่าอากาศยาน ความพึงพอใจลูกค้าการบอกต่อ และร้องเรียนของท่าอากาศยาน กรณีศึกษาท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 13 (4), 127-147.

ธัญยธรณ์ นพสิทธิพันธ์, ประยงค์ มีใจซื่อ และ แก้วตา ผู้พัฒนพงศ์. (2562). ผลกระทบของความพึงพอใจของลูกค้าและพาหุปัจจัยที่มีผลต่อความจงรักภักดี ของลูกค้าสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. 9 (2), 277-289.

บงกชรัตน์ เปี่ยมสิริกมล. (2565). อิทธิพลของภาพลักษณ์และความมีชื่อเสียงสายการบินต่อความพึงพอใจและ

ความภักดีของลูกค้าที่ใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ. 14 (3), 18-35.

ประทุมพร ผลสนอง และ สุรสิทธิ์ บุญชูนนท์. (2565). สำรวจปัจจัยที่ส่งผลต่อประโยชน์สุทธิที่ได้จากการใช้งานเทคโนโลยีสมาร์ทการ์ด สำหรับการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย. วารสารปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. 1 (2), 49-62.

โพสต์ ทูเดย์. (2566). ใครบอกว่า รถไฟฟ้าทำให้ กรุงเทพฯรถติดน้อยลง. ออนไลน์. ค้นเมื่อ 18 มกราคม 2567.

แหล่งที่มา: https://www.posttoday.com/lifestyle/702284

รถไฟฟ้าสายสีแดง. (2566). สายสีแดง เผยผลสำรวจความพึงพอใจจากผู้ใช้บริการ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566.

ออนไลน์. ค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2566. แหล่งที่มา: https://shorturl.asia/zHNFD

รุ่งโรจน์ สงสระบุญ. (2563). คุณภาพการให้บริการที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้โดยสารรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนใต้ดินจากสถานีท่าพระถึงสถานีวัดมังกรในกรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. 4 (2), 135-146.

วรลักษณ์ เขียวมีส่วน. (2564). แนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวตามรอยอดีตสู่ปัจจุบันบนเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต). วารสารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร. 16 (1), 114-126.

ศุภกร วรฤทธิ์, ณัฐพัชร์ วิเศษพานิช และ ประสพชัย พสุนนท์. (2566). การตัดสินใจเดินทางของผู้โดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ภายใต้บริบทการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 43 (4), 77-89.

สำนักข่าว อีไฟแนนซ์ไทย. (2564). รถไฟฟ้าไทยสีไหน เปิดเมื่อไรบ้าง?. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2566. แหล่งที่มา: https://rb.gy/o3twdl.

อรุณศิริ กันธิยะ, สมพล ทุ่งหว้า และทองฟู ศิริวงศ์. (2565). คุณภาพการให้บริการ ภาพลักษณ์องค์กร และแรงจูงใจในการใช้บริการ ที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิ้งค์. วารสารวิชาการร้อยแก่นสาร. 7 (12), 232-245.

Ahlina, A. H. N., & Ishak, D. P. (2022). Design of Mass Rapid Transit (MRT) Service Quality Through Analysis of Factor Affecting Passenger Behavior Intention Using PLS-SEM and QFD. Proceeding of the International Conference on Industrial Engineering and Operations Management Nsukka, Nigeria, 1089-1100.

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.

Fu, X. (2022). What should we do to enhance your loyalty if you are (dis)satisfied with public

Transit service?. Travel Behaviour and Society 26, 28-40.

Gall, M. D., Borg, W. R., & Gall, J. P. (1996). Education research, an introduction (6th ed.).

New York: Longman Publishers.

Harrison, S. J. (1995). Industrial accident prevention. New York: McGraw-Hill. 71-75.

Islam, S., Usman, M., & Junaid, D. (2023). Service Quality influence on Customer Satisfaction and Brand Loyalty: An Empirical Study on Pakistan Airline Industry. KASBIT Business Journal. 16 (1), 128-152.

Kotler, P. (2003). Marketing Management. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Mulyati, T., & Utami, S. B. (2019). SEM Analysis in the Effect of Service Quality on Customer Satisfaction and Its Implications on Student’s Loyalty online Transportation Users in Madiun Municipality. Journal of International conference proceedings (JICP), 395-404.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory. (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.

Ong, A. K. S., Prasetyo, Y. T., Lagura, F. C., Ramos, R. N., Sigua, K. M., Villas, J. A., Nadlifatin, R., Young, M. N., & Diaz, J. F. T. (2023). Determining tricycle service quality and satisfaction in the Philippine urban arear: A SERVQUAL approach.

ScienceDirect. 137, 1-13.

Parasuraman, V. A., Zeithaml, V.A., and Berry, L.L. (1988). SERVQUAL: A Multiple - Item Scale for Measuring Customer Perceptions of Service Quality. Journal of Retailing. 64,

-40.

Pong, L. T., & Yee, T. P. (2001). An Integrated Model of Service Loyalty. In International Conferences Brussels (1-26). Belgium: Brussels.