จริยธรรมสิ่งแวดล้อมในเพลงพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์เหยา มณฑลกวางสี ประเทศจีน วิเคราะห์ตามแนวคิดการวิจารณ์เชิงนิเวศ

Main Article Content

Mao Yanfang
ธนพร หมูคำ
ขนิษฐา ใจมโน
บุญเหลือ ใจมโน

บทคัดย่อ

               งานวิจัยนี้มุ่งวิเคราะห์จริยธรรมสิ่งแวดล้อมที่ปรากฏในเพลงพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์เหยามณฑลกวางสี ประเทศจีนโดยใช้แนวคิดการวิจารณ์เชิงนิเวศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์คือบทเพลงพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์เหยา 3 สำนนวน คือ 1) “เพลงมี่ลั่วถัว” (密洛陀) ของ Zhang Shengzhen (张声震) 2) เพลงพระเจ้าผาน (盘王) ของ Pan Chengqian (盘承乾) และ 3) เพลงพื้นบ้านโบราณกลุ่มชาติพันธุ์เหยาของอำเภอกงเฉิงในมณฑลกวางสี ของ Mo Jide (莫纪德) ผลการวิจัย พบว่า 1) จริยธรรมสิ่งแวดล้อม   ที่มีต่อสัตว์ปรากฏใน 6 บทเพลง ได้แก่ เพลงการสร้างสัตว์ เพลงการจับเทพเจ้าภูเขาข่าเฮิง เพลงการช่วยเทพเจ้าภูเขาข่าเฮิง เพลงโชคชะตาระหว่างมนุษย์กับลิง เพลงการใช้มีดไถพรวนดินและเผาดิน และเพลงพระจันทร์สว่างและสดใส การประกอบสร้างจริยธรรมสิ่งแวดล้อมที่มีต่อสัตว์เป็นการอธิบายผ่านความเชื่อว่าด้วยมนุษย์ สัตว์และพืชเป็นระบบที่มีความสัมพันธ์กันเพื่อดำรงอยู่ของชีวิต ในเพลงได้สื่อถึงระบบข้อห้ามด้านจริยธรรมต่อสัตว์ คือ ห้ามฆ่า ห้ามโกรธ ห้ามจับ และห้ามตี โดยเฉพาะกบ นก หนู ลิง และวัว และ 2) จริยธรรมสิ่งแวดล้อมที่มีต่อพืชปรากฏใน 2 บทเพลง คือ เพลงการพบเมล็ดพืช และเพลงนกขมิ้นและนกแว่นตายุโรปร้องเพลงดัง มีการประกอบสร้างจริยธรรมสิ่งแวดล้อมที่มีต่อพืชผ่านความเชื่อว่าหากทำลายพืชย่อมเกิดผลกระทบและอาจเกิดปัญหาในระบบนิเวศ โดยมีข้อห้ามในการทำลายต้นไผ่ หรือตัดไม้ในฤดูใบไม้ผลิ อันแสดงถึงการใช้หลักจริยธรรมที่มีต่อระบบนิเวศ เป็นไปตามหลักการการเคารพชีวิตตามแนวคิดวิจารณ์เชิงนิเวศ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ และพนา กันธา. (2567). โกลหลากหลายพันธุ์ : ผัสสะ จริยศาสตร์ และการอยู่ร่วมกัน. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยครูตะวันออกเฉียงเหนือ.

ดารินทร์ ประดิษฐทัศนีย์. (2559). พินิจปัญหาสิ่งแวดล้อมผ่านมุมมองวรรณกรรมเมริกันร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2559). แว่นวรรณคดี ทฤษฎีร่วมสมัย. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์นาคร.

ธงชัย นิลคำ. (2557). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมเพื่อเข้าใจในจริยธรรมสิ่งแวดล้อม. Journal of Research and Development Institute Rajabhat Maha Sarakham University. 1 (1), 32-37.

พชรวรรณ บุญพร้อมกุล. (2562). นววิถี: วิธีวิทยาร่วมสมัยในการศึกษาวรรณกรรม. กรุงเทพมหานคร: สยามปริทัศน์.

วินัย วีระวัฒนานนท์. (2546). สิ่งแวดล้อมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์

Chen Qinjian. (2003). ความเชื่อเกี่ยวกับนกในจีน: การคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของจักรวาลที่เกี่ยวข้อง กับนก. ปักกิ่ง: สำนักพิมพ์วิชาการ.

Chen Xingliang, Deng Minwen. (2014). การวิจัยนิเวศวิทยาวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ดงในปะเทศจีน. ปักกิ่ง: สํานักพิมพ์การป่าไม้จีน.

Crutzen P J m Stoermer E F. (2000). “The Anthropocene” IGBP Ne-wsletter, 41, 16-18

Dong Jun and Yang Jixiang. (2008). การไม่เร่งรีบ การรู้จักพอ การยกย่องชีวิต การรักษาสิ่งมีชีวิต การวิเคราะห์ความคิดจริยธรรมนิเวศของเต๋า. วารสารวงการวิชาการ. (3), 202-205

Hu Huakai. (2010). การสนทนาอย่างย่อเกี่ยวกับความหมายของจริยธรรมนิเวศวิทยาในความคิดของเต๋า. วารสารสารสนเทศนิเวศวิทยาธรรมชาติ. 70-75, 69, 127

Jia Laisheng. (2019). การอภิปรายเบื้องต้นเกี่ยวกับฐานรากของมุมมองการเจริญพันธุ์ตามคติชนวิทยาของเต๋า. วารสารศึกษาคติศาสนา. (4), 30-34

Li Qingfu. (2015). วัฒนธรรมทางสุนทรียศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์เหยา. ปักกิ่ง: สำนักพิมพ์สังคมศาสตร์แห่งประเทศจีน.

Liu Xiangrong. (1992). จริยธรรมนิเวศวิทยา. ชางซา: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยครูหูหนาน.

Luo Yiqun. (2005). การศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมการบูชาวัวของชาวเหมียว. ปักกิ่ง: สำนักพิมพ์วรรณกรรมและประวัติศาสตร์จีน.

Luo Youliang. (2015). การวิจัยภูมิปัญญานิเวศวิทยาพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์. ปักกิ่ง: สำนักพิมพ์ประชาชน.

Mo Jide. (2019). เพลงโบราณของกลุ่มชาติพันธุ์เหยา ฉบับเขตปกครองตนเองของกลุ่มชาติพันธุ์เหยาอำเภอกงเฉิง มณฑลกวางสี ประเทศจีน. หนานหนิง: สำนักพิมพ์แห่งชาติกวางสี.

Palmer, Clare, Katie McShane, and Ronald Sandler. (2014). “Environmental ethics.” Annual Review of Environment and Resources. 39, 419-442.

Pan Chengqian. (1993). เพลงพระเจ้าผาน. Tianjin: สำนักพิมพ์หนังสือโบราณเทียนจิน.

Paul W. Taylor. (1986). Respect for Nature, A Theory of Environmental Ethics, Princeton University Press, 172-175.

Pu Xiaolei. (2018). ให้พฤติกรรมการทำลายสิ่งแวดล้อมกลายเป็นหนูที่เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการประณาม [N]. หนังสือพิมพ์กฎหมายรายวัน, 07.10

Qin Bo and Huang Zhenliang. (2020). วัฒนธรรมกลองทองแดงและการแสดงกลองทองแดง [M]. ชางชุน: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยครูตะวันออกเฉียงเหนือ.

Qin Rong. (2006). การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับวัฒนธรรมลิง — ลักษณะชีวภาพและวัฒนธรรมของลิง. ฟูเจี้ยนฟอรั่ม (ฉบับสังคมศาสตร์และการศึกษา). (201), 146-148

Schweitzer. (1990). Out of My Life and Thought, trans. by A. B. Lemke, Henry Holt and Company Publishers, 130.

Wang Nuo. (2003). วรรณกรรมนิเวศวิทยายุโรป-อเมริกา [M]. ปักกิ่ง: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยปักกิ่ง.

Xiang Daiyuan and Zhen Zhimin. (2013). การเคารพพระราชาวัวและการบูชาวัว. วารสารประเพณีจีน (ฉบับพื้นฐาน). (5), 4-9

Xu Zuxiang. (2014). ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์เหยา. คุนหมิง: สำนักพิมพ์สัญชาติยูนนาน.

Yang Zhuhui. (2014). วัว: มุมมองในการศึกษาวัฒนธรรมสังคมของชนเผ่าในภาคตะวันตกเฉียงใต้. วารสารชนเผ่ากวางสี. (4), 122-132

Zhang Shengzhen. (2002). เพลงมี่ลั่วถัว. [M]. หนานหนิง: สำนักพิมพ์ชาติพันธุ์กวางสี.

Zhang Zhaoxia and Zhang Junhua. (2006). ความสัมพันธ์ระหว่างการบูชาความเชื่อในกบ — สะท้อนจุดสัมผัสของความเชื่อในกบของชนเผ่าโบราณในภาคใต้จากต้นกำเนิดการบูชากบในจินซี. เจียงซี. การศึกษาเรื่องชนเผ่าของกวางสี. (3), 135-139

Zhao Chunfu and Shan Aihong. (2001). ธรรมชาติกับการป้องกันสิ่งแวดล้อม — จริยธรรมนิเวศของเต๋าและความหมายในยุคสมัยนี้. วารสารฉีลู. (2), 14-19

Zhao Feng. (2014). วัฒนธรรมหนูในประเพณีและศิลปะพื้นบ้านจีน [J]. วารสารมหาวิทยาลัยหลานโจว (ฉบับสังคมศาสตร์). (6), 165-168

Zhou Xiaomin and Huang Wenfei. (2023). การสำรวจวัฒนธรรมการบูชากบของชาวไทยในประเทศไทย. วารสารสารคดีจากต่างประเทศ. (13), 20-23