การศึกษาสมรรถนะของผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์

Main Article Content

สมปอง หนูทอง

บทคัดย่อ

          การดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ เป็นภาวะวิกฤติหนึ่งของครอบครัวผู้ป่วย เพราะความต้องการการดูแลในระยะยาว ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ตั้งแต่ระยะเริ่มจนถึงระยะสุดท้าย ส่วนใหญ่ได้รับการดูแลที่บ้าน ผู้วิจัยปฏิบัติงานที่หน่วยตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษ โรงพยาบาลตำรวจมักได้คำถามจากญาติผู้ป่วยเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยว่าต้องปฎิบัติตัวเช่นไร จึงได้ทำการศึกษาสมรรถนะของผู้ดูแลผู่วยอัลไซเมอร์ เพื่อช่วยในการประเมินและเตรียมการแนะนำผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์เพื่อให้ดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม
          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลหลักของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ที่มารับบริการหน่วยตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษ โรงพยาบาลตำรวจ คัดเลือกแบบสุ่มอย่างง่ายจำนวน 127 คน เครื่องมือที่ใช้ในในการวิจัยคือ แบบสอบถามสมรรถนะของผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่มารับบริการที่ โรงพยาบาลตำรวจ ผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่านและได้ค่า IOC=.84 สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค=.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดย สถิติบรรยาย ค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซมอร์มีความรู้มากที่สุดคือด้านการพูดกับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ จะต้องพูดชัดเจน สบตา ยิ้มและบางครั้งต้องกล่าวชม คอยให้กำลังใจมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 94.50 ส่วนด้านที่ผู้ดูมีความรู้น้อยที่สุดที่ผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์มีคือผู้ป่วยอัลไซเมอร์มีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันลดลงเรื่องๆตามระยะและความรุนแรงของโรค คิดเป็นร้อยละ 70.10
          2. ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ของผู้ดูแล ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง แต่มีอยู่ในระดับปานกลางบ้างที่ควรให้คำแนะนำเพิ่ม
          ข้อเสนอแนะที่ได้จากผลการวิจัย
          1. ทราบสมรรถนะของผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่มารับบริการที่ โรงพยาบาลตำรวจ จากเครื่องมือที่สร้างขึ้น
          2. ใช้เป็นข้อมูลสำหรับเจ้าหน้าที่พยาบาลที่ปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ได้ทราบแนวทางในการให้คำแนะนำที่เหมาะสม
          3. ใช้เป็นข้อมูลต่อยอดในการทำวิจัยเรื่องที่เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทนา ปัญญาวราภรณ์. (2558). ศึกษาความเป็นไปของการวิเคราะห์โรคอัลไซเมอร์จากภาพถ่ายทางการแพทย์. คณะวิศวกรรมศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

จุฑาทิพย์ รัตนพันธ์. (2560). ความถี่ของการหันศีรษะไปหาผู้ดูแลในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เปรียบเทียบกับผู้ป่วยสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิราณี ศรีหาภาค, โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และคณิศร เต็งรัง. (2557). ผลกระทบและภาระการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวภายใต้วัฒนธรรมไทย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

สุขศิริ ประสมสุข, ณฐกร นิลเนตร และ เกรียงไกร เกิดหนู. (2563). การศึกษาความรู้ ทัศนคติในการดูแลผู้สูงอายุ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ. 7 (1), 1-12.

Alzheimer’s association. (2020) Alzheimer’s Disease Facts and Figures [Internet]. Online. Available from: https://www.alz.org/media/Documents/alzheimers-facts-and-figures. pdf

Burns, A. and Iliffe, S. (2009). Alzheimer’s Disease. British Medical Journal, 338, b158. http://dx.doi.org/10.1136/bmj.b158

Fagundes, T. A., Danielle, A. G. P., Kátia, M. P., Bueno, & Assis, M. G. (2017). Functional disability in elderly with dementia. Cadernos de Terapia Ocupacional. 25 (1), 159-169.

Phinyo, P. et al. (2015). Care Improvement for patients with stroke through community participation. Songklanagarind Journal of Nursing. 35 (2), 93-112. (in Thai).