การศึกษาดนตรีที่ใช้ในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

Main Article Content

บัญชา ศรชัย
เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี
จตุพร สีม่วง

บทคัดย่อ

         งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาดนตรีที่ใช้ในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค  กลุ่มเป้าหมาย ในการวิจัยเป็นนักวิชาการจำนวน  5  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ มีค่า IOC เท่ากับ .80  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและนำเสนอในรูปแบบการพรรณนา ผลวิจัยพบว่า ดนตรีที่ใช้ในขบวนพยุหยาตราทางชลมารคแบ่งออกเป็น 2 ประเภท  คือ 1) ดนตรีที่ใช้เป็นสัญญาณในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค  ได้แก่ กรับพวง เส้า แตรฝรั่ง  2) ดนตรีพระราชพิธีในขบวน พยุหยาตราทางชลมารค ได้แก่  วงเครื่องประโคมแตรสังข์มโหระทึก และวงกลองแขกปี่ชวา  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก. (2567). พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2567. แหล่งที่มา : http://phralan.in. th/Coronation/downloaddetail.php.

ธีรยุทธ ตุ้มฉาย. (2549). การเห่เรือในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

มหาวิทยาลัยมหิดล. (2567). กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2567. แหล่งที่มา: https://stang.sc.mahidol.ac.th/stangmuseum/pdf/RoyalBarges.

นพพล ไชยสน และ ธัญญลักษณ์ อุบลเลิศ. ( 2565). ดนตรีในกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 16 (4), 255-269.

อิทธิพล เพ็ชรงาม และคณะ. (2562). ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง.

อัศนีย์ เปลี่ยนศรี. (2558). ดนตรีในพระราชพิธีสมัยรัตนโกสินทร์. ศิลปกรรมสาร. (10) 1, 193-214.