รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

Main Article Content

ธำรงค์ จั่นฤทธิ์
สถิรพร เชาวน์ชัย
ฉลอง ชาตรูประชีวิน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา การวิจัยมี 3 ขั้นตอนประกอบด้วย 1) การศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษาโรงเรียน สัมภาษณ์โรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) จำนวน 3 แห่ง และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน  2) การสร้างรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา โดยนำข้อมูล ขั้นตอนที่ 1 มายกร่างรูปแบบและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบด้วยการสนทนากลุ่มอิงผู้เชี่ยวชาญกับผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน 3) การประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา กลุ่มประชากร จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจำเขตตรวจราชการที่ 17(Cluster17) ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดตาก โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน 143 โรงเรียน รวมจำนวน 429 คน กลุ่มตัวอย่าง 20 โรงเรียน โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) แบ่งเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ โรงเรียนขนาดใหญ่ โรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียนขนาดเล็ก โดย ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานรักษา ความปลอดภัยในสถานศึกษา หัวหน้างานอาคารสถานที่ หัวหน้างานพัฒนาสิ่งแวดล้อมโรงเรียน หัวหน้างานระบบ ดูแลช่วยเหลือ นักเรียน หัวหน้างานประสานงานชุมชน หัวหน้างานเครือข่ายผู้ปกครอง หัวหน้างานอนามัยโรงเรียน หัวหน้างานปกครองนักเรียน รวม 220 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.66) ผ่านเกณฑ์ เมื่อพิจารณารายองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ องค์ประกอบที่ 1 อยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.81) ผ่านเกณฑ์ รองลงมา คือ องค์ประกอบที่ 2 อยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.68) ผ่านเกณฑ์ รองลงมา คือ องค์ประกอบที่ 3 อยู่ในระดับมาก (  = 4.66) ผ่านเกณฑ์ และรองลงมา คือ องค์ประกอบที่ 4 อยู่ในระดับมาก (  = 4.54) ผ่านเกณฑ์ และผลการประเมินความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.68) ผ่านเกณฑ์ เมื่อพิจารณารายองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ องค์ประกอบที่ 1 อยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.76) ผ่านเกณฑ์ รองลงมา คือ องค์ประกอบที่ 2 อยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.70) ผ่านเกณฑ์ รองลงมา คือ องค์ประกอบที่ 3 อยู่ในระดับมาก (  = 4.69) ผ่านเกณฑ์ และรองลงมา คือ องค์ประกอบที่ 4 อยู่ในระดับมาก (  = 4.59) ผ่านเกณฑ์ 
          ผลการวิจัย
          1. การศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา จากการสังเคราะห์เอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำแนกได้ 4 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ปัจจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วม 2) ผู้มีส่วนร่วมการบริหารความปลอดภัยในสถานศึกษา 3) ขอบข่ายความปลอดภัยในสถานศึกษา 4) กระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วม
          2. การสร้างรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา โดยการสัมภาษณ์และการศึกษาแนวทางการบริหารจากสถานศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้องค์ประกอบดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา ประกอบด้วย 4 ด้านดังนี้ 1) ด้านการบริหารงบประมาณ 2) ด้านการจัดบรรยากาศทางกายภาพของสถานศึกษา 3) ด้านการกำหนดนโยบายของสถานศึกษา 4) ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา
องค์ประกอบที่ 2 ผู้มีส่วนร่วมด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา ประกอบด้วย 4 ด้านดังนี้ 1) ด้านคณะกรรมการความปลอดภัยของสถานศึกษา 2) ด้านคณะกรรมการสภานักเรียน 3) ด้านหน่วยงานเครือข่ายภาครัฐและเอกชน 4) ด้านคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง องค์ประกอบที่ 3 ขอบข่ายความปลอดภัยในสถานศึกษา ประกอบด้วย 4 ด้านดังนี้ 1) ด้านงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) ด้านงานความปลอดภัยอาคารสถานที่ 3) ด้านงานความสะอาดสิ่งแวดล้อม 4) ด้านงานส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน องค์ประกอบที่ 4 กระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา ประกอบด้วย 5 ด้านดังนี้ 1) ด้านการมีส่วนร่วมการวางแผน 2) ด้านการมีส่วนร่วมการตัดสินใจ 3) ด้านการมีส่วนร่วมการดำเนินการ 4) ด้านการมีส่วนร่วมการนิเทศ 5) ด้านการมีส่วนร่วมการประเมินผล
          3.การประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา โรงเรียนมีความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ พบว่า ผลการประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.66) ผ่านเกณฑ์ เมื่อพิจารณารายองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ องค์ประกอบที่ 1 อยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.81) ผ่านเกณฑ์ รองลงมา คือ องค์ประกอบที่ 2 อยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.68) ผ่านเกณฑ์ รองลงมา คือ องค์ประกอบที่ 3 อยู่ในระดับมาก (  = 4.66) ผ่านเกณฑ์ และรองลงมา คือ องค์ประกอบที่ 4 อยู่ในระดับมาก (  = 4.54) ผ่านเกณฑ์ 


ผลการประเมินความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.68) ผ่านเกณฑ์ เมื่อพิจารณารายองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ องค์ประกอบที่ 1 อยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.76) ผ่านเกณฑ์ รองลงมา คือ องค์ประกอบที่ 2 อยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.70) ผ่านเกณฑ์ รองลงมา คือ องค์ประกอบที่ 3 อยู่ในระดับมาก (  = 4.69) ผ่านเกณฑ์ และรองลงมา คือ องค์ประกอบที่ 4 อยู่ในระดับมาก (  = 4.59) ผ่านเกณฑ์ 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2567). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของ กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา: (ttps://www.moe.go.th/)

จิตรา รู้กิจการพานิช. (2561). วิศวกรรมความปลอดภัย สำหรับวิศวกรรมอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โฉมฉาย กาศโอสถ. (2554). รูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2554). ความปลอดภัยในเด็ก. เอกสารประกอบการเรียนความปลอดภัยและ ชีวอนามัยสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ราชกิจจานุเบกษา. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ. (พ.ศ.2561 – 2580) พ.ศ.2561. ราชกิจจานุเบกษา. 183 (82 ก).13 ตุลาคม 2561 หน้า 8

รักษิต สุทธิพงษ์. (2556). รูปแบบการบริหารความเสี่ยงทางการกีฬาและนันทนาการในโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร

วราภรณ์ บุญเชียง. (2564). อนามัยโรงเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 2) เชียงใหม่: โรงพิมพ์นานา

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564) คู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา. กันยายน 2564. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สัมมา รธนิธย์. (2556). หลักทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: บริษัทสำนักพิมพ์ ข้าวฟ่าง จำกัด. 2556.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2565) การบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรุ่นเยาว์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อภิชัจ พุกสวัสดิ์. (2564). นวัตกรรมการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Center for the study and prevention of violence. (2000). What is a safe school? Institute of Behavioral Science, University of Colorado at Boulder.

Oakley,P., & Marsden, D. (1984). Approaches Organization to Participation in rural development. Geneva: International Labour Office.