รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ภัททิรา เดชฤกษ์าน
ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษ โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 12 คน สอบถามนักเรียน 36 คน 2) พัฒนาและหาคุณภาพของรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษ โดยนำข้อมูลขั้นตอนที่ 1 ยกร่างรูปแบบการสอน และตรวจสอบความถูกต้อง ความเหมาะสมความเป็นไปได้ด้วยการจัดสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Focus Group Discussion : FGD) ปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำ นำรูปแบบการสอนเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิอีกครั้ง เพื่อตรวจสอบประเมินคุณภาพความเหมาะสมของรูปแบบการสอน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน 36 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แบบสอบถาม และ 4) แบบประเมินความสอดคล้องเหมาะสมของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
         ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสามารถในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ โดยครูและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสอนภาษาอังกฤษให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงรุก  นักเรียนควรฝึกการฟังและการพูดผ่านการทำกิจกรรมที่หลากหลาย สนุกกับการเรียนรู้ผ่านเกมและคลิปวิดีโอ แนวคิดที่สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น คือ การสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร การสอนแบบเน้นภาระงาน การสอนโดยใช้กิจกรรมเป็น และการสอนโดยใช้สถานการณ์เป็นฐาน และ 2. รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษ คือ “4P Model” มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเตรียมปฏิบัติภาระงาน ขั้นเสนอเนื้อหา ขั้นปฏิบัติกิจกรรมตามสถานการณ์ และขั้นนำเสนอและสื่อสาร 4) การวัดและประเมินผล 5) ปัจจัยความสำเร็จ ซึ่งผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จริมจิต สร้อยสมุทร. (2563). การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษและความสุขในการเรียนโดยใช้บริบทท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีนิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร

จุฑามณี อินทร์อุริศ. (2564). การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ

ไชยฉัตร โรจน์พลทามล. (2562). การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสาขาการท่องเที่ยว ชั้นปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ทัศนีย์ ธราพร. (2556). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการโรงแรมโดยใช้รูปแบบการสอนแบบเน้นภาระงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสาร. วิทยานิพนธ์ดุษฏีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอนคณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร

พรนภัส ทับทิมอ่อน. (2563). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษแบบเน้าภาระงานร่วมกับบทเรียนออนไลน์เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและการอ่านเชิงวิเคราะห์สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีนิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร

มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันการทดสอบแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2565). รายงานข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.niets. or.th/th/ catalog/view/3121

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แนวปฏิบัติตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท จามจุรี โปรดักส์ จำกัด.

สุขุมาภรณ์ แคสิค. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 22 (2), 214-226.

สุทัศน์ สังคะพันธ์. (2557). นวัตกรรมการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนและทักษะในศตวรรษที่ 21 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แนวปฏิบัติตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท จามจุรี โปรดักส์ จำกัด.

สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2540). กิจกรรมการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชามัธยมศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุปกิต ทรวงทองหลาง (2563). การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพตามยุทธศาสตร์ชาติที่ 20 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 . วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีนิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Dick, W., Carey, L., and Carey, J. O. (2005). The Systematic Design of Instruction. 6th ed. Boston : Allyn and Bacon.

Kruse, K. (2009). Instructional design. online. Retrieved August 18, 2022, from http://www. cognitivedesignsolutions.com/Instruction/LearningTheory.htm

Larsen-Freeman, D. (2000). Techniques and Principles in Language Teaching. 2nd ed. Oxford: OUP (University of Cambridge Local Examinations Syndicate: PET SPEAKING, 1996).

McGrath, J. R., and MacEwan, G. (2011). Linking pedagogical practices of activity-based teaching. The International Journal of Interdisciplinary Social Sciences, 6: 261-274.

Morley, J. (2001). Teaching English as a Second or Foreign Language. 3rd ed. Boston: Heinle & Heinle.