แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำแบบร่วมมือของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์เขต 1

Main Article Content

ขวัญธารา พุ่มพฤกษ
ญานิกา สอดจันทร์
ณัฐชยา นาควิสุทธิ์
สถิรพร เชาวน์ชัย

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำแบบร่วมมือของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำแบบร่วมมือของผู้บริหารสถานศึกษา  การศึกษาวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนได้แก่ 1) การศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำแบบร่วมมือของผู้บริหารสถานศึกษา ใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม  ประชากร จำนวน 1,433 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 303 คน จากครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น และ 2) การหาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำแบบร่วมมือของผู้บริหารสถานศึกษา จากการนำผลการศึกษาจากขั้นตอนที่ 1 มาหาแนวทางโดยใช้เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง (Structure or Guided Interviews) จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน มาจัดทำข้อมูลและสรุปข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
           ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำแบบร่วมมือของผู้บริหารสถานศึกษาภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ความผูกพันต่อองค์กร ด้านการตัดสินใจร่วม ความไว้วางใจ และด้านวิสัยทัศน์ร่วม อยู่ในระดับมากทุกด้าน ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำแบบร่วมมือของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านวิสัยทัศน์ร่วม มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ซึ่งได้เสนอแนวทางในการพัฒนา คือผู้บริหารสถานศึกษารู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของบริบทต่าง ๆ และมีวิสัยทัศน์ที่เป็นความคาดหวังในอนาคตของสถานศึกษา นำวิสัยทัศน์มาผลักดันให้เกิดผลสู่การปฏิบัตินำองค์การไปสู่เป้าหมายที่ต้องการตามวิสัยทัศน์และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลผู้บริหารควรศึกษาภาวะผู้นำแบบร่วมมือของผู้บริหารสถานศึกษาและแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำแบบร่วมมือไปออกแบบแนวทางการพัฒนาและการนําไปสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาอย่างเหมาะสมและศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณลักษะภาวะในหลากหลายด้านของผู้บริหารสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กัลยานี บัณฑิชาติ. (2557). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอเขาสมิง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาตราด. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2556). การบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.

วิทยากร เชียงกูล. (2553). แนวคิดการปฏิรูปการศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2563. แหล่งที่มา: http://www.krusmart.com/wp-content/.../Education-Reform2552-2561.pdf.

วันชนก อาจปรุ. (2564). แนวทางการพัฒนาความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้สถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในเขตภาคกลาง. บริหารศึกษาครุศาสตร์อุตสาหกรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุงใหม่). (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น

บุญไช จันทร์ศรีนา. (2562). การศึกษาภาวะผู้นำแบบร่วมมือรวมพลังของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของภาครัฐ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. 17 (1), 215-233.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเพชรบูรณ์. (2566). แผนพัฒนาการศึกษา (พ.ศ. 2566-2567) จังหวัดเพชรบูรณ์ เอกสารลำดับที่ 10/2566. ออนไลน์. เรียกใช้เมื่อ 20 เมษายน 2567. แหล่งที่มา: https://www. pnbpeo.go.th/th/main_plan.php

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. [ม.ป.ป.]. ผู้นำสถานศึกษากับการสร้างโรงเรียนแห่งการเรียนรู้. http://suthep.ricr.ac.th/ leader31.doc

Frederickson, G. (2007, March 26). Bureaucrats without Borders: Public Management and the end of geography. Donald Stone's Lecture presented at the American Society for Public Administration Conference, Washington, DC

Huxham, C., & Vangen, S. (2005). Managing to collaborate: The theory and practice of collaborative advantage. London: Routledge.

Jerry D.Van Vactor. (2012). Collaborative leadership model in the management of health care. Journal of Business Research. 65 (4).

Telford, Helen. (1996). Transforming schools through collaborative leadership. London : Falmer.