ผลของโปรแกรมการฝึกแบบสถานีด้วยกิจกรรมการเคลื่อนไหวแบบผสมผสานที่มีผลต่อความสัมพันธ์ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

อรอุมา เชษฐา
กรีฑา พรหมเทพ

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อก่อนและหลังของกลุ่มทดลองที่ได้รับการฝึกแบบสถานีด้วยกิจกรรมการเคลื่อนไหวแบบผสมผสานและกลุ่มควบคุมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลของการฝึกแบบสถานีด้วยกิจกรรมการเคลื่อนไหวแบบ  ผสมผสานที่มีผลต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนการฝึกและหลังการฝึก สัปดาห์ที่ 4 และ 8 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 คน กลุ่มทดลอง 15 คน และ กลุ่มควบคุม 15 คน ประเภทของการวิจัยคือวิจัยกึ่งทดลอง โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) โปรแกรมการฝึกแบบสถานีด้วยกิจกรรมการเคลื่อนไหวแบบผสมผสาน จำนวน 8 โปรแกรม โดยมีค่าเฉลี่ยดัชนีความสอดคล้องรวมเท่ากับ 0.88 และ 2) แบบทดสอบความสัมพันธ์ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวชนิดวัดซ้ำ
            ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ของความสัมพันธ์ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อของกลุ่มทดลองที่มีระยะเวลาในการฝึก พบว่า ก่อนการฝึกกับหลังการฝึก 4 สัปดาห์ ไม่มีความแตกต่างกัน โดยมีความแตกต่างหลังการฝึก 8 สัปดาห์ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิเคราะห์ของกลุ่มควบคุมในแต่ละสัปดาห์พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และ 2) ผลการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า ก่อนการฝึกของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน โดยมีความแตกต่างกันหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กนกวรรณ อันบุรี. (2557). ผลการจัดโปรแกรมการเคลื่อนไหวที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกลไกของนักเรียนชาย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2557). วิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา (Science of Coaching). กรุงเทพฯ : สินธนา ก๊อปปี้เซ็นเตอร์.

นิพนธ์ ชาญอัมพร. (2558). รูปแบบการดำเนินชีวิตและความคิดเห็นต่อรายการโทรทัศน์ของเด็กเจเนอเรชั่นแซดมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.

นนทนันต์ เผ่าภูรี. (2560). ผลของการฝึกแบบเชิงซ้อนที่มีต่อความเร็วในการวิ่ง 50 เมตร. (ปริญญา นิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (พลศึกษา), บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.บุญเจือ สินบุญมา. (2558). ผลการฝึกแบบผสมผสานที่มีต่อความเร็วและความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬา วอลเลย์บอลระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา พลศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ประไพ ประดิษฐ์สุขถาวร. (2555). พัฒนาการด้านร่างกาย วัยประถมต้น (Primary School Children PhysicalDevelopment. สืบค้น 19 ธันวาคม 2563, จาก http://taamkru.com.

ปิยานันท์ โสพิน. (2564). ผลการฝึกความสัมพันธ์ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อควบคู่การฝึกทักษะที่มีต่อความสามารถ ของการเดาะตะกร้อด้วยข้างเท้าด้านในของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ปริญญานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ไพวัน เพลิดพราว. การเคลื่อนไหวเบื้องต้น. (2559). สืบค้น 13 มกราคม 2564, จากhttp://www.tnsuudn.ac.th.

ภัสสร ธูปบุตร. (2562). ผลการฝึกแบบผสมผสานและการฝึกแบบควบคู่ที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อขาและความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิง. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรรณวิภา เที่ยงธรรม. (2557). ผลของการจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนโดยใช้ของเล่นพื้นบ้านตามแนวคิดการประมวลข้อมูลการรับความรู้สึก เพื่อส่งเสริมทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กอนุบาล. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(1), 473-487.

วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล. (18 มกราคม 2560). บริการด้านกีฬา.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จhttps://ss. mahidol.ac.th/th2/index.php?option=com_k2&view= item&layout= item&id=22&Itemi=126.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2559). กิจกรรมทางกายเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็ก. สืบค้น 8 มกราคม 2563, จาก https://www.thaihealth.or.th.

เสถียร เหล่าประเสริฐ (2560). ผลของการฝึกผสมผสานแบบ เอส เอ พี ที่มีต่อ พลังและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ความเร็ว ความอ่อนตัว ความคล่องแคล่วว่องไวและปฏิกิริยาตอบสนองของนักกีฬาบาสเกตบอลชายในระดับเยาวชน. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 17(1), มกราคม-มีนาคม 2560 หน้า 32-42.

หงส์ทอง บัวทอง. (2559). ผลของการใช้โปรแกรมฝึกความคล่องแคล่วร่วมกับการเพิ่มความหนักของงานต่อความคล่องแคล่วและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาของนักกีฬาวอลเลย์บอลชาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา.

Brien,Belton,&lssartel (2016) . Fundamental movement skill proficiencyamongst adolescent ……….youth. Physical Education and Sport Pedagogy, 26(6), 557- 571 Rushall, B. S. , & Pyke, F. S. (1990) . Training for sports and fitness. Macmillan Education.