อนาคตภาพการผลิตบัณฑิตระดับอาชีวศึกษาบัณฑิตของสถาบันการอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในทศวรรษหน้า (2566-2576)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนาคตภาพการผลิตบัณฑิตระดับอาชีวศึกษาบัณฑิตของสถาบันการอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในทศวรรษหน้า (2566-2576) เป็นวิจัยเชิงคุณภาพใช้เทคนิคการวิจัยเชิงอนาคต ( Future Research ) ตามกระบวนการวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Future Research ) สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะกลุ่มแบบเจาะจง ดังนี้ 1.กลุ่มผู้บริหารด้านอาชีวศึกษา 2. ผู้เชี่ยวชาญที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบาย 2.กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสถานประกอบการ โดยสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ตามเกณฑ์ของ Macmillan (1971) รวมทั้งสิ้น 25 คน สอบถามความคิดเห็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบเดลฟาย (Delphi Questionnaire) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่ามัธยฐาน ฐานนิย และค่าพิสัยแบบควอไทล์ และค่าเฉลี่ย ร้อยละ และวิเคราะห์แบบสอบถามตามแบบประมาณค่า 5 ระดับตามวิธีของ ลิเคิร์ท (Likert Scale) ผลการวิจัย พบว่า อนาคตภาพการผลิตบัณฑิตระดับอาชีวศึกษาบัณฑิตของสถาบันการอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในทศวรรษหน้า (2566-2576) แนวโน้มการผลิตบัณฑิตในระดับอาชีวศึกษาบัณฑิตในอนาคต มุ่งเน้นการผลิตนักศึกษาอย่างมีคุณภาพ พบว่ามีแนวโน้มในการขับเคลื่อนที่สำคัญ 6 ด้าน ดังนี้ 1.ด้านคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาบัณฑิต คิดเป็นร้อยละ 59.14 ผลการวิจัยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ด้านการจัดการหลักสูตร คิดเป็นร้อยละ 56.0 ผลการวิจัยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก 3.ด้านจัดการเรียนการสอนระดับอาชีวศึกษาบัณฑิต คิดเป็นร้อยละ 54.85 ผลการวิจัยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4. ด้านครูผู้สอนระดับอาชีวศึกษาบัณฑิต คิดเป็นร้อยละ 54.28 ผลการวิจัยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก 5. ด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาระดับอาชีวศึกษาบัณฑิต คิดเป็นร้อยละ 53.71 ผลการวิจัยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 6. ด้านบริหารจัดการระดับอาชีวศึกษาบัณฑิต คิดเป็นร้อยละ 55.42 ผลการวิจัยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
จินตนา รวมชมรัตน์. (2558). รูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในวิทยาลัย อาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเพื่อการพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี; 2558.
นิพนธ์ วรรณเวช และ สาโรจน์ เผ่าวงศากุล. (2557). การศึกษาคุณลักษณะบัณฑิตของผู้ใช้บัณฑิต สาขาวิชาการ
บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. ประจำปีการศึกษา 2556-2557.
นิติ นาชิต. (2565). การบริหารอาชีวศึกษาด้านธุรกิจและบริการสู่มาตรฐานคุณภาพ. e-Journal of Education
Studies, Burapha University. 4 (1), 1-16.
นิยม ศรีวิเศษ. (2560). การปฏิรูปการบริหารงบประมาณสถาบันการอาชีวศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 (2560) อุบลราชธานี:2560
บุญสืบ โพธิ์ศรี. (2559). การบริหารหลักสูตรเพื่อสร้างคุณลักษณะแรงงานฝีมืออาชีพในระดับอาชีวศึกษา The Journal of the Veridian E-Journal,Silpakorn University. 9 (1), 1268-1287.
ผะกานาจ สุขคนธรัตน์ และคณะ. (2565). พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักศึกษา แผนกวิชาการตลาดวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. วารสารพิกุล. 20 (1), 143-166.
สหชาติ สุดเรือง. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของผู้บริหารกับคุณภาพ ของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดพัทลุง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
สนุ่น มีเพชร. (2562). สมรรถนะของครูในสถาบันอาชีวศึกษาตามกรอบมาตรฐานความรู้ และทักษะวิชาชีพ วารสารการวิจัยการบริหารและการพัฒนาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง. 9 (1), 52-60.
ไสว สีบูจันดี. (2565). รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนอาชีวศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี. วารสารวิจัยและนวัตกรรม. 5 (1), 126-147.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการจัดการ อาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เรื่องที่ 1 การ จัดการ อาชีวศึกษา พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ลิขสิทธิ์ สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและ วิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561 ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2546). พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. 1 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120/ตอนที่ 100 ก/หน้า 1/9 ตุลาคม 2546.
อ่องจิต เมธยะประภาส. (2562). ลักษณะครูในศตวรรษที่ 21. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 2567. แหล่งที่มา: http://www.slideplayer.mcu.ac.th. (2562).
Treleaven, L. & Voola, R. (2008). “Integrating the development of graduate attributes through constructive alignment.” Journal of Marketing Education. 30 (2).