แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา การศึกษาวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา ใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 จำนวน 310 คน และ 2) การหาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาจากการนำผลการศึกษาจากขั้นตอนที่ 1 มาหาแนวทางโดยใช้เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการกำหนดนโยบายและการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของสถานศึกษา จำนวน 5 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการบูรณาการการเรียนรู้ ด้านการเรียนรู้เป็นทีม ด้านการใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน ด้านการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ การเรียนรู้ และด้านความคิดสร้างสรรค์ ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านความคิดสร้างสรรค์ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ซึ่งได้เสนอแนวทางในการพัฒนา คือ ผู้บริหารควรจัดกิจกรรมให้บุคลากรมีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการทำงานและ การฝึกอบรม ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดการสร้างสรรค์และนำเสนอความคิดใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปสู่ การปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงานในหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ผู้บริหารควรพัฒนาหรือใช้ระบบสารสนเทศเพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อสนับสนุน การตัดสินใจและวางแผนการทำงาน ระบบนี้จะต้องให้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและมีความแม่นยำสูง เพื่อให้ผู้บริหารสามารถใช้ประสบการณ์และความรู้ที่มีอยู่ในการวิเคราะห์สถานการณ์และนำไปประยุกต์ใช้ได้ อย่างเหมาะสม
Article Details
References
จิรวัฒน์ วงษ์คง. (2560). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 11 (2), 48-58
เสาวลักษณ์ พิมพ์สายทอง. (2562). แนวทางการพัฒนาบทบาทภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถ้านศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพนที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สุกัญญา เกิดอินทร์. (2566). แนวทางการพัฒนาบทบาทภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารวิจัยวิชาการ. 6 (5), 105-122
ศรสวรรค์ พานซ้าย. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. CMU Journal of Education. 5 (1), 90-103.
Organisation for Economic Co-operation and Development. (2013). Leadership for 21st Century Learning. New York: OECD Publishing.
Kohlreiser, G. (2013). Learning Leadership. IMD Real World Real Learning.
Kouzes, J. M., & Posner, B.Z. (2016). Learning leadership: The five fundamentals of Becoming an exemplary leader. San Francisco: Wiley.
Salavert, R. (2013). Approaches to learning leadership development in different school system in Leadership for 21st Century Learning. New York: OECD publishing.
Wood, K. (2023). Learning Leadership: Leading Growth in a Transactional System.