แนวทางการใช้ประโยชน์แหล่งเรียนรู้ของจังหวัดตราดที่ส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนา ที่ยั่งยืน ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สำหรับระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

ปวิตรา จีนากำเนิด
วรวุฒิ เพ็งพันธ์
ศุภัครจิรา พรหมสุวิชา

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาลักษณะแหล่งเรียนรู้ของจังหวัดตราดที่ส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) เพื่อศึกษาแนวทางการใช้ประโยชน์แหล่งเรียนรู้ของจังหวัดตราดที่ส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สำหรับระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสำรวจพื้นที่ การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึกซึ่งผลการวิจัย พบว่า
        1. คุณลักษณะแหล่งเรียนรู้ของจังหวัดตราดที่ส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน พบว่า มี 6 แห่ง ที่มีคุณลักษณะของแหล่งเรียนรู้ครบทั้ง 4 ประเภท และครอบคลุมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 5 มิติ ดังนั้น แหล่งเรียนรู้ดังกล่าวเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่า และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ช่วยพัฒนาการศึกษา ส่งเสริมให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ได้แก่ ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว ชุมชนบ้านท่าระแนะ
         2. ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเรือนจำชั่วคราวเขาระกำ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง วัดไผ่ล้อม และวัดบุปผาราม
           3. แนวทางการใช้ประโยชน์แหล่งเรียนรู้ของจังหวัดตราดที่ส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สำหรับระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า ครูและนักเรียนสามารถนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมาบูรณาการกับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนได้ครบทั้ง 5 มิติ โดยชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว โดดเด่นมิติด้านสันติภาพและความยุติธรรม โดยใช้กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง ครู นักเรียน ชุมชน ในประเด็นพหุวัฒนธรรม สันติภาพและความยุติธรรม โดยเป็นการเรียนรู้ความสงบสุขภายใต้ความหลากหลาย ชุมชนบ้านท่าระแนะ โดดเด่นมิติด้านเศรษฐกิจและความมั่งคั่ง โดยใช้กิจกรรมเรียนรู้แบบปฏิบัติการ โดยใช้เศรษฐกิจชุมชนเป็นฐาน มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายโดยคนในชุมชน เช่น การทำผ้ามัดย้อมจากลูกตะบูน ทำอาหารพื้นถิ่น ศิลปะบำบัด การปลูกหัวร้อยรู เป็นต้น
           ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเรือนจำชั่วคราวเขาระกำ โดดเด่นมิติด้านความเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนา ใช้กิจกรรมสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม เพื่อนำมาสู่การพัฒนาตนเอง ผ่านการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงโดยผู้ต้องขังอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง โดดเด่นมิติด้านสิ่งแวดล้อม มีการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ค่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ในฐานะมรดกทางธรรมชาติ โดยมีการทำกิจกรรมฟื้นฟูปะการังที่เสื่อมโทรม อบรมจิตสาเพื่อดูแลภัยพิบัติทางธรรมชาติ วัดไผ่ล้อม โดดเด่นมิติด้านการพัฒนาคน โดยใช้กิจกรรมสืบสอบทางประวัติศาสตร์ เพื่อให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ของบ้าน วัด โรงเรียน ผ่านการเรียนรู้ความเป็นอยู่ระหว่างคนในชุมชน และการจัดตั้งสถานศึกษาที่มีความสำคัญต่อชาวตราดซึ่งริเริ่มโดยพระอาจารย์ วัดบุปผาราม โดดเด่นมิติด้านการพัฒนาคน โดยใช้กิจกรรมทัศนศึกษาเพื่อสร้างการเรียนรู้ตามอัธยาศัย โดยในวัดจะมีพิพิธภัณฑ์และจุดต่าง ๆ ที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพมหานคร:

โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กัญจนพร ศรีมงคล. (2565). การสร้างความสัมพันธ์ของโรงเรียนกับชุมชนที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

ไกรศร วันละ. (2564). การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย. วารสารมจร บาฬีศึกษา พุทธโฆสปริทรรศน์. 7 (3), 56-66.

ชลพรรษ ดวงนภา. (2564). ประวัติจังหวัดตราด. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2565. แหล่งที่มา: http://province.m-culture.go.th/trat/p9.html

ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. (2559). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 5 มิติ. ออนไลน์.

สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2565. แหล่งที่มา. https://www.sdgmove.com/intro-to-sdgs/

พุทธินันต์ ภาคเจริญ. (2565). แนวทางการพัฒนาชุมชนหมู่บ้านไปสู่ความยั่งยืนในบริบทของสังคมเมือง กรณีศึกษา หมู่บ้านดงยาง หมู่ที่ 12 ตำบลสวนกล้วย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร

วาลิกา พงศ์ภัทรานนท์. (2566). แนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศและอนาคตภาพของนวัตกรรมการบริหารงานวิชาการสำหรับการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. Journal of Roi Kaensarn Academi. 8 (12), 43-57.

สุริยา เหมตะศิลป. (2562). ศึกษาศาสตร์กับการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2567. แหล่งที่มา. http://www.edu.tsu.ac.th/major/ eva/files/journal/education_for_develop_to_last.pdf

สุมน อมนวิวัฒน์. (2544). กระบวนการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนและธรรมชาติ. กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานิช.