การฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารงานยุติธรรมระดับต้นของกระทรวงยุติธรรม

Main Article Content

อุทัย เลาหวิเชียร
สุวรรณี แสงมหาชัย

บทคัดย่อ

          ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ภาครัฐได้จัดให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรในกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งต้องอาศัยความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ของผู้ออกแบบหลักสูตรเพื่อให้สามารถกำหนดเนื้อหาสาระของหลักสูตรที่มีประโยชน์และสอดคล้องกับความต้องการขององค์การ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดหลักสูตรฝึกอบรมนักบริหารระดับต้นของสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม รุ่นที่ 30 และประสิทธิผลของการฝึกอบรม ผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากเอกสารของทางราชการและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ผ่านการฝึกอบรมรุ่นที่ 30 ในปี พ.ศ. 2565 จำนวน 9 ราย  ผลการศึกษาพบว่าหลักสูตรการอบรมนักบริหารระดับต้นของกระทรวงยุติธรรมรุ่นที่ 30 จัดขึ้นในช่วงที่มีสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 เป็นหลักสูตรแบบผสมผสาน มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 50 รายที่มาจากหน่วยงานหลากหลาย เนื้อหาของหลักสูตรเน้นแนวนโยบายแห่งรัฐ ความรู้เกี่ยวกับการจัดการ การพัฒนาตนเอง การบริหารงานยุติธรรม การขับเคลื่อนนโยบายการปฏิบัติ และการเรียนรู้ผ่านองค์การต้นแบบ รวม 70 ชั่วโมง มีการจัดการเรียนการสอนทั้งในระบบออนไลน์และการศึกษาจากวิดีโอ ผลของการฝึกอบรมทำให้ผู้ผ่านการอบรมมีความพึงพอใจและมีความมั่นใจมากขึ้นในการปฏิบัติงาน ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้มีการพิจารณาจัดหลักสูตรฝึกอบรมแยกระหว่างการอบรมนักบริหารชั้นต้นสายงานหลัก ออกจากนักบริหารในสายปฏิบัติงานเฉพาะด้าน โดยไม่นำมาอบรมคละกันภายใต้หลักสูตรนักบริหารระดับต้น เพราะเนื้อหาสาระของเรื่องการจัดการสมัยใหม่กับงานวิชาชีพเฉพาะด้านแตกต่างกันอย่างมาก และไม่อาจนำมารวมกันในการฝึกอบรมคราวเดียวได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

อุทัย เลาหวิเชียร. (2563). ค่านิยมของการบริหารงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: บริษัท พี.เอส.กรุ๊ป จำกัด.

Cohen, S. (1988). The Effective Public Manager: Achieving Success in Government. San Francisco and London: The Jossey-Bass Public Administration Series and The Jossey-Bass Management Series.

Engelbert, E. A. (1984). Guidelines and Standards for Curricular Development for Public Administration/ Public Management. Brussels: International Institute of Adminis-trative Sciences.

Frederickson, H. G. (1997). The Spirit of Public Administration. San Francisco: Jossey-Bass Publishers.

Imundo, L.V. (1993). The Effective Supervisor’s Handbook. 2d ed. New York: Amazon Paperback edition.

Lee, Hahn-Been. (1972). Desirable Attributes of Development Administrators. Philippines Journal of Public Administration. 16 (3), 390-398.

Lewis, P. S., Goodman, S. H. & Fandt, P. M. (2001). Management: Challenges in the 21st Century. 3d ed. Australia: South-Western College Publishing, a division of Thompson Learning.

Mintzberg, H. (1980). The Nature of Managerial Work. New Jersey: Englewood Cliffs.

Osborne, S. P. (2010). The New Public Governance: Emerging Perspective on the Theory and Practice of Public Governance. London and New York: Routledge.

Quinn, R. E., Faerman, Sue R. & Thompson, Michael P. (2002). Becoming a Master Manager: A Competency Framework. Australia: John Wiley & Sons.