การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวชุมชนแบบวิถีความปกติใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดกาฬสินธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทวิธีการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวชุมชน 2) ศึกษาความร่วมมือภาคีเครือข่ายการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวชุมชน และ 3) เสนอแนะเชิงนโยบายการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวชุมชนแบบวิถีความปกติใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 6 คน ได้แก่ ผู้ประกอบการ ผู้นำและเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว นำเสนอข้อมูลโดยการสังเคราะห์ ตีความ และวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา 2) เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้เครื่องมือแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มโดยไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นคำถามปลายปิด และปลายเปิด ค่าดัชนีความสอดคล้อง มีค่าเท่ากับ 0.92 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามมีค่าเท่ากับ 0.935 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณณา การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า 1. บทบาทวิธีการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวชุมชน พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องทบทวนบทบาทตัวเองและหาวิธีจัดการ โดยนำนวัตกรรมบริหารแบบใหม่ “วิถีแห่งนวัตกรรม” คือ 1.1) วิธีปฏิบัติในการระบุปัญหา 1.2) วิธีการในการกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา 1.3) วิธีบริหารจัดการองค์กรแห่งการเติบโต 2. ความร่วมมือภาคีเครือข่ายการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวชุมชน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.98) เมื่อพิจารณารายด้านการสร้างปฏิสัมพันธ์ระยะยาว (= 4.03) มีค่าสูงที่สุด และ 3) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวชุมชน พบว่า 3.1) บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบนฐานเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรที่ประสานงานอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง 3.2) การพัฒนาศักยภาพชุมชนให้มีความรู้ ทักษะจำเป็นด้านการท่องเที่ยว 3.3) การสร้างการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกัน เช่น ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบและร่วมรับผลประโยชน์
Article Details
References
กมลพร กัลยาณมิตร. (2564). การนำกลยุทธ์การบริหารสู่การปฏิบัติ ในรูปแบบความปกติใหม่ (New Normal). วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6 (4), 402-422.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). รายงานประจำปี 2563 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
จุมพล หนิมพานิช. (2566). รัฐประศาสนศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 : เครือข่ายการบริหารปกครอง และการบริหารปกครองแบบเครือข่าย. เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการโครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ดรรชนี เอมพันธุ์. (2550). การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนและการจัดกิจกรรมโฮมสเตย์.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นิพนธ์ ศศิธรเสาวภา. (2560). การบริหารกิจการท้องถิ่นที่ดีในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรณัชชา วุฒิวิริยะ. (2565). การศึกษาแนวโน้มผลกระทบและความท้าทายต่อการท่องเที่ยวไทยในโลกดิจิทัลยุคปกติใหม่. วารสารศิลปะศาตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ. 4 (3), 600-612.
มาฆะ ภู่จินดา. (2565). รายงานการศึกษาส่วนบุคคล เรื่อง การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ผ่านวัตกรรม Digital Platprom ในการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ.
รังสรรค์ สิงหเลิศ. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. มหาสารคาม: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วลัยลักษณ์ วันโพนทอง และธนวิทย์ บุตรอุดม. (2566). แนวทางการพัฒนาการจัดการภาครัฐแนวใหม่ของหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานในจังหวัดบึงกาฬ. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 11 (2), 64-76.
วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2550). เครือข่าย : นวัตกรรมการทำงานขององค์กรปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร:สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
สถาบันพระปกเกล้า. (2563). บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า “สมรรถนะองค์กร” ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
สมศักดิ์ สามัคคีธรรม. (2562). การจัดการคลัสเตอร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 11 (1), 83-101.
เสกสรรค์ สนวา, สุพัฒนา ศรีบุตรดี, พงศ์สวัสดิ์ ราชจันทร์ และนภัสภรณ์ ภูวตานนท์ ณ มหาสารคาม. (2563). การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามวิถีชีวิตของคนในชุมชน. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 4 (1),259-276.
อัญชลี ศรีเกตุ และ ปิยะนุช เงินคล้าย. (2564). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 7 (1), 260-261.
อนุชา ลาวงค์ และคณะ. (2566). สถาบันวิจัยและพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Agranoff, R. (2006). Inside collaborative networks: ten lessons for public managers. Public Adm Rev. 66 (s1), 56–65.
Culture + Creative Tourism ท่องเที่ยวสร้างสรรค์สถานการณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทย ไตรมาส 4/2562. (2020). Tourism Economic Review. 1 (3).
Kurniawan, E., Astuti, T.M.P., Syifauddin, M. (2021). Community participation in creating sustainable community-based tourism. Visions for Sustainability. 17 (5997), 39-55
http://dx.doi.org/10.13135/2384-8677/5997
Iorio,M & and Corsale,A. (2013). Community-based tourism and networking: Viscri, Romania. Journal of Sustainable Tourism . 22 (2), 234-255. https://doi.org 10.1080/ 09669582.2013.802327
W.G. Cochran. (1953). Sampling Techiques. New York : John Wiley & Sons. Inc.
Zavaleta Chavez Arroyo, F. O. et al. (2023). Community Tourism Conditions and Sust ainable Management of a Community Tourism Association: The Case of Cruz Pata, Peru. Sustainability. 15 (5), 4401. https://doi.org/10.3390/su15054401