รูปแบบการบริหารสถานศึกษาระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก ภาคใต้ฝั่งตะวันออก

Main Article Content

สาริณี หมัดอะดัม
นิรันดร์ จุลทรัพย์
สมศักดิ์ ลิลา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารสถานศึกษาระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก ภาคใต้ฝั่งตะวันอออก 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก ภาคใต้ฝั่งตะวันออก และ 3) เพื่อยืนยันความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก ภาคใต้ฝั่งตะวันออก และ ระยะที่ 3 การยืนยันความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก ภาคใต้ฝั่งตะวันออก
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. สภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาระดับปฐมวัย ประกอบด้วย 1) หลักการในการบริหารสถานศึกษา 2) วัตถุประสงค์ในการบริหารสถานศึกษา 3) ระบบการบริหารสถานศึกษา 4) แนวทางการนำรูปแบบการบริหารสถานศึกษาไปใช้ในการบริหารสถานศึกษา
          2. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ มีค่ามัธยฐานมากกว่า 5 ทุกข้อ มีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์น้อยกว่า 1.5 ทุกข้อ
          3. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ตรวจสอบความสอดคล้องทั้ง 4 องค์ประกอบ มีความสอดคล้องกลมกลืนในระดับที่ยอมรับได้ นำมากำหนดเป็นรูปแบบการบริหารสถานศึกษาระดับปฐมวัยขนาดเล็ก ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ตามรูปแบบ POMI Model ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ ระบบการบริหาร และแนวทางการนำรูปแบบไปใช้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรกแห่งประเทศไทย.

คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย. (2564). แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.2564-2570. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ผู้จัดการออนไลน์. (2564). สมศ.รายงานผลการประเมินแล้วเสร็จ 1.3 หมื่นแห่ง มั่นใจยังเดินหน้าประเมินต่อได้ในช่วงสถาการณ์โควิด-19 โดยไม่สร้างภาระให้สถานศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2564. แหล่งที่มา: http://mgronline.com/onlinesection/ detail/9640000074633.

พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย. (2562, 30 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 56 ก. 5-14.

เรขา ศรีวิชัย. (2554). รูปแบบการบริหารงานสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย ที่มีประสิทธิผลในจังหวัดนนทบุรี. งานวิจัยศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

วรพล ธุลีจันทร์. (2562). รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กที่มีความต้องการเป็นพิเศษ ระดับปฐมวัย. งานวิจัยศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.

วรรธนา นันตาเขียน. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงบริหารสำหรับเด็กปฐมวัย. งานวิจัยศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานศึกษาธิการภาค 5. (2563). รายงานวิจัย เรื่องปัญหาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยและแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในทัศนะของผู้บริหาร ครู โรงเรียนอนุบาล ประจำเขตพื้นที่การศึกษา ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 5. นครศรีธรรมราช: กลุ่มพัฒนาการศึกษาสำนักงานศึกษาธิการภาค 5.

Highett, N. T. (1989). School effectiveness and ineffective parent’s principal’s and superintendent’s perspective. Unpublished doctoral dissertation : University of Alberta, Edmonton, AB.