การสำรวจความครอบคลุมการได้รับวัคซีนโควิด-19 ของหญิงตั้งครรภ์ ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Study) เพื่อศึกษาความครอบคลุมการได้รับวัคซีนโควิด-19 ของหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก รวมทั้งศึกษาสาเหตุของการได้รับและไม่ได้รับวัคซีนของหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มารับบริการฝากครรภ์ในคลินิกฝากครรภ์ในโรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 250 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ในช่วงเดือนมกราคม - เมษายน 2565 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป ประกอบด้วย อายุ การศึกษา อาชีพ อายุครรภ์ จำนวนครั้งการตั้งครรภ์ โรคประจำตัว ประวัติการติดเชื้อโควิด-19 ประวัติการได้รับวัคซีนโควิด-19 ขณะตั้งครรภ์ รวมทั้งสาเหตุการได้รับวัคซีนและการไม่ได้รับวัคซีน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิตเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา พบว่า หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่อายุ 18 - 29 ปี (ร้อยละ 47.60) อายุเฉลี่ย 30 ปี (SD = 6 )การศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 51.60 ประกอบอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 54 อายุครรภ์เฉลี่ย 24 สัปดาห์ (SD = 5) ส่วนใหญ่ตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 ร้อยละ 55.60 ส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 85.60 มีประวัติติดเชื้อ
โควิด-19 ร้อยละ 28.80 โดยติดเชื้อก่อนการตั้งครรภ์ ร้อยละ 80.56 มีประวัติได้รับวัคซีนโควิด-19 ขณะตั้งครรภ์ ร้อยละ 33.20 โดยสาเหตุที่ได้รับวัคซีนส่วนใหญ่เนื่องจาก ได้รับคำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ร้อยละ 60.24 เพื่อป้องกันทารกในครรภ์ร้อยละ 21.69 และเพื่อป้องกันตนเองร้อยละ 18.07 สาเหตุของการไม่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ขณะตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่กลัวเกิดอันตรายต่อเด็กในครรภ์ ร้อยละ 42.51 ติดเชื้อ
โควิด-19 ก่อนการตั้งครรภ์ ร้อยละ 34.73 และไม่ทราบว่าต้องฉีดวัคซีน ร้อยละ 14.37
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนโควิด-19 ในหญิงตั้งครรภ์จากการสำรวจ ร้อยละ 33.20 สามารถเพิ่มระดับความครอบคลุมวัคซีนได้จากคำแนะนำของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวโรค โอกาสเสี่ยงและความรุนแรงของโรคในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์สามารถตัดสินใจรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ครอบคลุมเพิ่มขึ้น
คำสำคัญ ความครอบคลุมการได้รับวัคซีน หญิงตั้งครรภ์ วัคซีนโควิด-19
Article Details
References
กรมควบคุมโรค. (2564). แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาด ปี 2564 ของประเทศไทย. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2. สิงหาคม 2564. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2564. แหล่งที่มา: https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/getFiles/11/1628849610213.pdf
กรมควบคุมโรค. (2565). รายงานความก้าวหน้าการให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19. 1 มกราคม 2565. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2565. แหล่งที่มา: https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19 /getFiles/10/1641441573738.pdf
กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ผลการให้บริการวัคซีนโควิด-19 เขตสุขภาพที่ 2 ใน MOPH Immunization center . 1 มกราคม 2565. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2565. แหล่งที่มา: https://cvp1.moph. go.th/dashboard
กระทรวงสาธารณสุข. (2564). วัคซีนโควิดล็อตแรก ซิโนแวค ถึงไทยแล้ว. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2564. แหล่งที่มา: https://www.hfocus.org/content/2021/02/21115
เชิดศักดิ์ เพิ่มปัญญา และเจนจิรา บุราคร. (2565). เปรียบเทียบผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มเสี่ยง(608) ที่ได้รับวัคซีนและไม่ได้รับวัคซีนในโรงพยาบาลแก้งคร้อ. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 8 (2), 124 – 135.
นำชัย ชีววรรธน์. (2564). วัคซีนโควิด-19. กรุงเทพมหานคร : ฝ่ายสื่อสร้างสรรค์และผลิตภัณฑ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2564.
แหล่งที่มา: https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2021/20210316-covid19-vaccine-handbook.pdf.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข. (2563). เรื่องชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3). ออนไลน์.สืบค้นเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563. แหล่งที่มา: https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/ PDF/2563/E/048/T_0001.pdf.
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. (2564). คำแนะนำเรื่อง การฉีดวัคซีนในสตรีตั้งครรภ์. ออนไลน์.
สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา: http://www.rtcog.or.th/home/
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. (2564). แนวทางเวชปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การดูแลรักษาสตรีตั้งครรภ์ที่ติดโรคโควิด-19. ฉบับปรับปรุง Verion 5 วันที่ 21 พฤษภาคม 2564. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2564.แหล่งที่มา: https://www.thainapci. org/2021/wp-content/uploads/2021/05/CPG-Covid-Preg-V5-21May21-edit-24May21.pdf.
วิชุดา วิวัฒนเจริญ. (2566) การสำรวจการยอมรับวัคซีนป้องกันโควิด 19 และปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับวัคซีนป้องกันโควิด 19 ในหญิงตั้งครรภ์ที่รับบริการฝากครรภ์ โรงพยาบาลสารภี จ.เชียงใหม่. ออนไลน์.
สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2566. แหล่งที่มา: https://www.chiangmaihealth.go.th/document /231122170062364498.pdf.
สรวงสุดา จำปาราช ชนัญญา จิระพรกุล และเนาวรัตน์ มณีนิล. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในหญิงตั้งครรภ์ อำเภอกุสุมาลย์ และอำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 16 (3), 157-167.
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก. (2564). รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2565. แหล่งที่มา: https://ddc.moph.go.th/odpc2/
ศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์และการวิจัยและพัฒนา ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.).
สรุปสถานการณ์รายวัน ประจำวันที่ 31 ธันวาคม 2564. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2564.
แหล่งที่มา: https://covid19.nrct.go.th/wp-content/uploads/2022/03/covid19-report-641231.pdf
Baloch, S., Baloch, M. A., Zheng, T., & Pei, X. (2020). The coronavirus disease 2019 (COVID-19) pandemic. Tohoku Journal of Experimental Medicine. 250 (4), 271-278.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607 – 610
Wang, L., Wang, Y., Ye, D., & Liu, Q. (2020). Review of the 2019 novel coronavirus (SARS-CoV-2) based on current evidence. International Journal of Antimicrobial Agents. 55, 1-8.
Zhu, N., Zhang, D., Wang, W., Li, X., Yang, B., Song, J., et al. (2020). A Novel Coronavirus from Patients with Pneumonia in China 2019. The New England Journal of Medicine. 382 (8), 727-733.