การศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ตัดสินใจใช้บริการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฮับแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

จารุณี ศรีบุรี
ยุทธการ ไวยอาภา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ใช้บริการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฮับแม่วิน และ 2) ศึกษาระดับการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ใช้บริการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฮับแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บกลุ่มตัวอย่างจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาใช้บริการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฮับแม่วิน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า1) นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวยังวิสาหกิจชุมชนฮับแม่วิน เคยมาท่องเที่ยวโดยใช้บริการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฮับแม่วิน มาเป็นครั้งแรก ส่วนใหญ่ทราบข้อมูลกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฮับแม่วิน จากคำบอกเล่าจากบุคคลอื่น ส่วนใหญ่วัตถุประสงค์หลักศึกษาดูงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฮับแม่วิน เดินทางมาโดยพาหนะรถเช่า/จ้างเหมา ลักษณะการเดินทางมาท่องเที่ยวกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฮับแม่วิน มากับโรงเรียน / สถานศึกษา มีค่าใช้จ่ายหลัก ส่วนใหญ่เป็นอาหาร / เครื่องดื่ม ในช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน มีรูปแบบที่พักชุมชนที่ท่านตัดสินใจใช้บริการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฮับแม่วิน ส่วนใหญ่เป็นโฮมสเตย์ ส่วนใหญ่มีเหตุผลในการเลือกใกล้ชิดกับทรัพยากรทางธรรมชาติ ระยะเวลาในการเข้าพัก ส่วนใหญ่ 1 – 3 วัน ส่วนใหญ่มีความถี่ในการใช้บริการที่พักชุมชน 1 ครั้ง จุดเด่นของที่พักชุมชนมีความโดดเด่นในที่พักที่ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ มีช่องทางในการจองที่พักชุมชน ทำการจองโดยตรงกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฮับแม่วิน 2) ระดับความคิดเห็นต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ใช้บริการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฮับแม่วิน ในภาพรวมนักท่องเที่ยวมีระดับคามคิดเห็นต่อการตัดสินใจ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน นักท่องเที่ยวชาวไทยมีความคิดเห็นต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวในการเดินทางมาใช้บริการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฮับแม่วิน มากที่สุด คือ ด้านทรัพยากรและชุมชนแวดล้อม


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยณรงค์ พิพิธวีรนันท์. (2559). ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ เลือกใช้บริการที่พักประเภทโฮสเทล ในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมป์ฟอร์ด.

มาร์เก็ตเทียร์ออนไลน์. (2566). โควิด-19 ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค และทัศนคติที่มีต่อแบรนด์อย่างไร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา https://marketeeronline.co/archives.

สำนักงานเลขานุการ คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2567). วิสาหกิจชุมชนน่ารู้. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2567. แหล่งที่มา http://www.sceb.doae.go.th/index_n2.html

ธัชชัย มงคลจันทรสกุล. (2564). การตัดสินใจและพฤติกรรมการเลือกใช้บริการรีสอร์ทในเขตจังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกริก.

พชรพจน์ นันทรามาศ, กิตติพงษ์ เรือนทิพย์ และ จารุวรรณ เหล่าสัมฤทธิ. (2563). เจาะพฤติกรรม ท่องเที่ยวใน New Normal: เมื่อโควิดทำให้ชีวิตเปลี่ยน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2566 แหล่งที่มา: https://krungthai.com/Download/economyresources/Economy Resources Download_450เจาะพฤติกรรมท่องเที่ยวใน_New_Normal_เมื่อโควิดทำชีวิตเปลี่ยน_31_08_63.pdf.

วสันต์ กานต์วรรัตน์. (2563). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกใช้บริการที่พักรีสอร์ทของนักท่องเที่ยวใน อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. 4 (2), 158-170.

องค์การบริหารส่วนตำบลแม่วิน. (2566). ข้อมูลทั่วไปของวิสาหกิจฮับแม่วิน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.maewin.net/index.php?ge=view _lan=0701245

Fallows, J., Wadhwa, V., Rolf Potts, P. I., Becker, E., Crabtree, J., Juniac, A. d. & Thei, S. (2020). The Future of Travel After the Coronavirus Pandemic. Foreignpolicy.com. Availablehttps://foreignpolicy.com/2020/06/13/travel-tourism-coronavirus- pandemic-future/ (13 June 2020).