ประสิทธิผลการปฏิบัติตามนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนไปสู่การปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ศศิวิมล คำเมือง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของกระบวนการนำนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนไปสู่การปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดพิษณุโลก และ 3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค และนำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาความยากจนของจังหวัดพิษณุโลก การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสมผสานที่ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ โดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกำนัน และผู้ใหญ่บ้านในเขต 9 อำเภอจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 316 คน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับประสิทธิผลของการปฏิบัติตามนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดพิษณุโลกภาพรวมทุกด้านเกิดประสิทธิผลในการแก้ไขปัญหาความยากจนในระดับมากที่สุด (มีค่าเฉลี่ย 4.70 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .090) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับที่ 1 ด้านการเข้าถึงบริการภาครัฐ มีค่าเฉลี่ย 4.96 อยู่ในระดับมากที่สุด อันดับที่ 2 คือ  ด้านรายได้ มีค่าเฉลี่ย 4.95 อยู่ในระดับมากที่สุด และอันดับที่ 3 คือ ด้านการศึกษา มีค่าเฉลี่ย 4.71 อยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนไปสู่การปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดพิษณุโลก พบว่า ปัจจัยด้านศักยภาพชุมชน (Beta =.570) ปัจจัยด้านผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ (Beta =.415) ปัจจัยด้านนโยบาย (Beta =.412) และปัจจัยด้านความเพียงพอของทรัพยากร (Beta =.503) สามารถอธิบายตัวแปรตามร่วมกันได้ร้อยละ 86.90 และ 3) ปัญหาและอุปสรรคจากการปฏิบัติตามนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิษณุโลก พบว่า ด้านการเก็บข้อมูล การขาดการสร้างความรู้ความเข้าใจในการสำรวจและรวบรวมข้อมูลระดับท้องถิ่น ด้านทัศนคติและพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่เคยชินกับการรับการสงเคราะห์จากภาครัฐ ด้านทัศนคติของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติที่ขาดการกลั่นกรองข้อเท็จจริงอย่างครอบคลุม ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อคนยากจนบางกลุ่มที่เข้าไม่ถึงความช่วยเหลือจากภาครัฐ และด้านการมีส่วนร่วมแบบบูรณาการของหน่วยปฏิบัติขาดความเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันของแต่ละภาคส่วนแบบบูรณาการ ส่วนแนวทางที่ช่วยให้การแก้ไขปัญหาความยากจนของจังหวัดพิษณุโลกมีประสิทธิผลมากขึ้นควรสร้างทัศนคติการทำงานแบบบูรณาการเชิงนโยบาย แบบองค์รวมรายมิติ ปรับเปลี่ยนเป็นการกำหนดเป้าหมายร่วม การเชื่อมโยงงบประมาณร่วมกัน การออกแบบมาตรการแบบมุ่งเป้าจากฐานข้อมูลเดียวกัน สร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ร่วมบูรณาการแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนารถ แก้วทิพย์, พระสุธีรัตนบัณฑิต และ โกนิฏฐ์ ศรีทอง (2563 : 336).รูปแบบการขจัดความยากจนเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนในจังหวัดเชียงราย.วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 8 (1), 336-347.

ชูชิต ชายทวีป. (2559). ปัจจัยสำเร็จของการลดปัญหาความยากจน. INTEGRATED SOCIAL SCIENCE JOURNAL, FACULTY OF SOCIAL SCIENCES AND HUMANITIES, MAHIDOL UNIVERSITY. 3 (2).

จิรวัฒน์ พิระสันต์ และคณะ. (2565). โครงการ การศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำภาคเหนือตอนล่าง: กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก ระยะที่ 2. รายงานฉบับสมบูรณ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ภานุเดช ปัญญา. (2560 : 82). การศึกษาการนำนโยบายประชารัฐไปสู่การปฏิบัติ : กรณีศึกษาโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทาง ประชารัฐในตำบลธัญญาและตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. (2549). นโยบายกระจายอำนาจและเพิ่มพลังให้แก่ท้องถิ่นศึกษาการทำงานเชิงบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐในการลดความยากจน. รายงานโครงการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

ไพศาล สรรสรวิสุทธิ์. (2550). การบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตําบลเขาทอง โดยการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ศศิธร ทองจันทร์. (2559 : 78). การบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกันกับการขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐไทย กรณีศึกษาโครงการความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนจังหวัดพิษณุโลก. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วสันต์ เหลืองประภัสร์และคณะ. (2557). การบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือ กันกับการขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐไทย : กรณีศึกษา โครงการความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนจังหวัดพิษณุโลก. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วัลยา พุ่มต้นวงศ์ และธัญญาภัทร โทจำปา. (2564). นโยบายภาครัฐกับการแก้ไขปัญหาความยากจน. กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

หวัง จวินตัน และกฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์. (2563). การนำนโยบายแก้จนตรงเป้าไปปฏิบัติของสาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์. 18 (1), 39-57.

วิโรจน์ ก่อสกุล. (2558). เอกสารประกอบการบรรยายวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.

Yuanzhi Guo , Yang Zhou , Yansui Liu. (2019). Targeted poverty alleviation and its practices in rural China : A case study of Fuping county, Hebei Province. University of Chinese Academy of Sciences, Beijing . Journal of Rural Studies. 93 (2022).