การพัฒนาและยกระดับแพลตฟอร์มเพื่อขจัดความยากจนและ สร้างโอกาสทางสังคม จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

ศรีสุนันท์ ประเสริฐสังข์
เกรียงไกร กันแก้ว
เจษฎ์บดินทร์ จิตต์โศภิตานนท์
วรฉัตร วริวรรณ
ธิดารัตน์ สาระพล
เมตตา ฟองฤทธิ์
การุณา แก้วนิมิตร
ประเสริฐ สุทธิประภา
วิชิต ถิรเดโชชัย
พงศ์สวัสดิ์ ราชจันทร์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อพัฒนาและยกระดับแพลตฟอร์มขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จ   และแม่นยำ (Provincial Poverty Alleviation Operating System : PPAOS) เพิ่มโอกาสของการเข้าถึงพัฒนาอาชีพ การศึกษาเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำได้อย่างตรงจุดและเหมาะสมกับบริบทพื้นที่ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ ระบบ PPAOS และ แบบสอบถามระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนระดับพื้นที่ของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย  1 กลุ่ม คือ ครัวเรือนเป้าหมายตามฐานข้อมูล TP MAP ปีพ.ศ.2566 จำนวน 3,456 ครัวเรือน ในพื้นที่เป้าหมายหลัก จำนวน 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอจังหาร อำเภอธวัชบุรี อำเภอปทุมรัตต์ อำเภอสุวรรณภูมิ และ อำเภอโพนทราย พื้นที่เป้าหมายรองเป็นอำเภออื่นในจังหวัดร้อยเอ็ด นอกเหนือจาก 7 อำเภอเป้าหมายหลัก โดยมีกระบวนการรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการปฏิบัติการ การปรับปรุงแผนการทำงานให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่และสถานการณ์ รวมทั้งการวิเคราะห์ผลย้อนกลับ
          ผลการศึกษาประเด็นพัฒนาและยกระดับแพลตฟอร์มขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ พบว่าการสร้างแพลตฟอร์มขจัดความยากจนของประเทศ (National Platform to End Poverty) สำหรับแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ประกอบด้วย ระบบค้นหาสอบทานข้อมูลครัวเรือนยากจน ระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนระดับพื้นที่ (PPPConnext) ระบบส่งต่อความช่วยเหลือคลังนวัตกรรมแก้จน และระบบติดตามประเมินผล ซึ่งทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูล ระบุคนจนเป้าหมาย และออกแบบการช่วยเหลือคนจนได้อย่างเบ็ดเสร็จ แม่นยำ สอดคล้อง และเหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ในจังหวัดร้อยเอ็ด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติ สัจจาวัฒนา. (2560). งานวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ รูปแบบงานวิจัยใหม่ที่ท้าทายกระบวนทัศน์การวิจัยของประเทศไทย. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 9 (1), 1-7.

ชูชิต ชายทวีป. (2559). ปัจจัยสำเร็จของการลดปัญหาความยากจน. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. 3 (2), 188-214.

พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม และคณะ. (2564). กลไกความร่วมมือเชิงพื้นที่แก้ไขปัญหาความยากจนจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการบริหารปกครอง. 10 (2), 257-288.

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่. (2566). แนวทางดำเนินงานการขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จแม่นยำ : ถอดบทเรียนจาก โครงการวิจัยแก้จน 20 จังหวัด. กรุงเทพมหานคร.

สีลาภรณ์ บัวสาย. (2551). ABC งานวิจัยรูปแบบใหม่เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่. ชุดบริหารงานวิจัย ลำดับที่ 13 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. กรุงเทพมหานคร.