การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้จากการทำงาน เป็นฐานสำหรับจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะ วิชาชีพครูช่างอุตสาหกรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
รูปแบบการเรียนรู้โดยการใช้การทำงานเป็นฐาน คือ การจัดการเรียนสอนตามสภาพการทำงานจริงหรือการฝึกปฏิบัติงานจริง เป็นการผสมผสานการเรียนรู้ระหว่างภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเข้าด้วยกัน ดังนั้นจึงเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาทักษะที่เหมาะสมกับการจัดการศึกษาในปัจจุบัน โดยในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้งานเป็นฐานในรายวิชาฝึกงาน 2) ประเมินผลการจัดการเรียนรู้ และ 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 16 คน ที่ได้มาจากวิธีการเลือกการสุ่มแบบเจาะจง โดยใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้การเรียนรู้โดยใช้งานเป็นฐาน 2) แบบทดสอบสัมฤทธิ์จากการประเมินการปฏิบัติงานและ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบที
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การดำเนินการจัดการเรียนรู้โดยใช้งานเป็นฐานที่ออกแบบและพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนขึ้นประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างความร่วมมือกับสถานประกอบการ 2) การจัดทำแผนการฝึกร่วมกัน 3) การเตรียมความพร้อมก่อนออกฝึกงาน 4) การฝึกงานในสถานประกอบการ และ 5) การประเมินผลการฝึกงานร่วมกัน ผลการประเมินการจัดการเรียนรู้โดยใช้งานเป็นฐาน มีดังนี้ 1) ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ใช้เกณฑ์ KW#2 (70/80) เท่ากับ 80.63/85.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้โดยใช้งานเป็นฐานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ผลสัมฤทธิ์จากการประเมินการปฏิบัติงานสำหรับอาจารย์นิเทศและครูฝึกในสถานประกอบการต่อนักศึกษา พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยระดับดีมากที่สุด 4) ผลประเมินความพึงพอใจของครูฝึกในสถานประกอบการต่อนักศึกษา พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยระดับดีมากที่สุด ผลประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนด้านบรรยากาศในการจัดการเรียนรู้ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านประโยชน์ที่ได้รับจากรูปแบบการเรียนรู้โดยงานเป็นฐาน พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยระดับดีมากที่สุด และจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามพบว่าผู้เรียนได้มีการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูช่างอุตสาหกรรมหลายด้าน เช่น ด้านวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง ด้านขั้นตอนในการแก้ปัญหาที่พบจากการลงมือปฏิบัติงานจริง ด้านการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆที่ได้จากการลงมือปฏิบัติงานจริง และการได้ทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่น
Article Details
References
กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2556). นวัตกรรมและเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา. ศูนย์ผลิตตำราเรียนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
กุลธิดา มีสมบูรณ์. (2561), การจัดการเรียนรู้โดยใช้งานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย. Mangraisaan Journal. 6 (2),53-64.
จิตรา จันทราเกตุรวิ และ พรพิมล ประสงค์พร. (2562). การเสริมสร้างสมรรถนะของผู้เรียนโดยใช้การเรียนรู้ในรูปแบบ Work-based Education. Panyapiwat Journal. 13 (1), 308-317.
ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประกิต ไชยธาดา (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) ในรายวิชาปฏิบัติการเคมี 2 หัวข้อการเตรียมสารละลาย ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้. 5 (2), 55-64.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนร้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2558). Work-Based Learning ทฤษฎีบวกการปฏิบัติงานจริงสร้างศักยภาพการทำงานของนักศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2566. แหล่งที่มา: https://issuu.com/prwalailak/docs/ 1158.
อดิศา เบญจรัตนานนท์. (2560). ความพึงพอใจของสถานประกอบการต่อนักศึกษาฝึกงานสาขาวิชาภาษาอังกฤษคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 28 (2), 184-194
อภิชาติ วงศ์อนันต์. (2561).การพัฒนารูปแบบการเรียนเพื่องานโครงการพิเศษทางด้านสถาปัตยกรรม.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 15 (2), 190-198
Raelin, J. A. (2000). Work-Based Learning: The New Frontier of Management Development. New Jersey: Prentice Hall.