ทักษะการคิดเชิงบริหาร รากฐานพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กปฐมวัย อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 355 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ จำแนกตามขนาดของโรงเรียน ขนาดใหญ่พิเศษ ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบประเมินพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กวัยก่อนเรียน (MU.EF-101) มีลักษณะเป็นข้อคำถามเกี่ยวกับพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหาร 5 ด้าน ได้แก่ การหยุด การยับยั้งพฤติกรรม การเปลี่ยน/ความยืดหยุ่นในการคิด การควบคุมอารมณ์ ความจำขณะทำงาน และการวางแผนจัดการ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการแปลงคะแนนดิบให้เป็นคะแนนมาตรฐาน T ปกติ (T-Score) ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการการคิดเชิงบริหารอยู่ในระดับต่ำ ควรปรับปรุง (T-Score ≤ 40) ร้อยละ 15.49 ระดับต่ำ ควรพัฒนา T-Score 40-44) ร้อยละ 21.41 ระดับปานกลาง (T-Score 45-55) ร้อยละ 39.15 ระดับดี (T-Score 56-60) ร้อยละ 6.48 และระดับดีมาก (T-Score >60) ร้อยละ 17.46
จากผลการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าร้อยละของเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 39.15 ระดับต่ำ ควรปรับปรุง และระดับต่ำ ควรพัฒนา อยู่ถึงร้อยละ 36.90 และอยู่ในระดับอยู่ในระดับ ดี ขึ้นไป เพียงร้อยละ 23.94
Article Details
References
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2562). รายงานประจำปี กรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2562.กรุงเทพมหานคร: บริษัทละม่อม จำกัด.
นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2561). รู้จักทักษะสมอง EF Executive Function Skills. คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: บริษัทมติชนจำกัด (มหาชน).
นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2560). การพัฒนาและหาค่าเกณฑ์มาตรฐานเครื่องมือประเมินการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย. นครปฐม: ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล;หาวิทยาลัยมหิดล.
นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2559). Executive Functions (การคิดเชิงบริหาร). เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการระดมสมองวางกรอบประเด็นและเนื้อหาหนังสือนิทานฯ โครงการ “หนังสือนิทานสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดสำหรับเด็กปฐมวัย”.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครังที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวิริยาสาส์น.
พิณสุดา สิริธรังศรี. (2557). การยกระดับครูไทยในศตวรรษที่ 21. วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ราชกิจจานุเบกษา. (2562). พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562. เล่ม 136 ตอนที่ 56 ก. หน้า 5.
วีระศักดิ์ ชลไชยะ. (2559). พัฒนา EF ตั้งแต่เด็กปฐมวัย รากฐานของการพัฒนาประเทศในยุค Thailand 4.0. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์.
สุภาวดี หาญเมรี. (2564). “ความรู้ฐานราก 3 มิติเพื่อพัฒนาเด็ก”. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา https://www.rlg-ef.com
สุภาวดี หาญเมรี. (2562). รู้จักทักษะสมอง EF Executive Functions Skills. (บ.ก.), คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย (น.29-48). กรุงเทพมหานคร: มติชนจำกัด (มหาชน).
สุภาวดี หาญเมรี. (2558). EF ภูมิคุ้มกันชีวิตและป้องกันยาเสพติด คู่มือสำหรับครูอนุบาล. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์รักลูกบุ๊คส์ บริษัท รักลูก กรุ๊ป จำกัด กลุ่มบริษัทอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป).
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564-2570. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Anderson, P. (2002). Assessment and development of executive function (EF) during childhood. Child Neuropsychology. 8, 71-82.
Barkley, R. A. (2011). The nature of executive function (EF) deficits in daily life activities in adults with ADHD and their relationship to performance on EF test. Journal of Psychopathology and Behavior Assessment. 33, 137-158.
Seana Moran & Howard Gardner. (2012). Hill, Skill, and Will: Executive Function from
A Multiple-Intelligences Perspective, Executive Function in Education: From Theory to Practice, edited by Lynn Meltzer, The Guilford Press, N.Y. p.19.