การศึกษาคุณค่าทางสุนทรียภาพทางภาษาในเพลงเหลียว ของกลุ่มชาติพันธุ์จ้วง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณค่าทางสุนทรียภาพทางภาษาในเพลงเหลียวของกลุ่มชาติพันธุ์จ้วง ได้แก่ การใช้กฎการสัมผัสคำ และการใช้สำนวนในเพลงเหลียว ผู้วิจัยใช้ทฤษฎีสุนทรียศาสตร์ในการวิเคราะห์ โดยจัดกลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ทั้งหมด 9 คน และกลุ่มที่ 2 เป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเพลงเหลียวของชาวจ้วง ทั้งหมด 17 คน ผู้วิจัยใช้เครื่องบันทึกเสียงเป็นเครื่องมือในการวิจัย และใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงวรรณกรรมในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยผ่านการคัดเลือกเพลงเหลียวจำนวน 28 เพลงจาก “คลังโบราณรวมเพลงพื้นบ้านของชาติพันธ์จ้วง เพลงเหลียว” ผลการวิจัย คุณค่าทางสุนทรียภาพทางภาษาในเพลงเหลียวของกลุ่มชาติพันธุ์จ้วง ได้แก่ การใช้กฎการสัมผัสคำ และการใช้สำนวนในเพลงเหลียว พบว่า เพลงเหลียวมีกฎการสัมผัสคล้องจองที่ชัดเจนและมีรูปแบบความงามของการสัมผัสคำในเพลงเหลียว ได้แก่ การสัมผัสคำกลาง (เอว) และคำสุดท้าย (เท้า) และการสัมผัสคำท้าย (เท้า) และคำต้น (หัว) การใช้สำนวนในเพลงเหลียว มีการใช้การอุปมาอุปไมยและการใช้การเปรียบ “แทน” ซึ่งสะท้อนถึงลักษณะการใช้ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์จ้วง
Article Details
References
บุญเหลือ ใจมโน. (2564). สุนทรียภาพในบทกวีนิพนธ์. กรุงเทพมหานคร: ดีเซมเบอรี่.
Qin, N. (2558). Research on Zhuang folk songs. (壮族民歌研究).Nanning: Guangxi Nationalities Publishing House
หวง เก๋อ. (2533). Beautiful Zhuang language songs. (瑰丽的壮语). Nanning: Guangxi Publis- hing House.
Chen Ju. (2527). The Artistic Personality of Zhuang's Song of the Zhuang. Nationality. (壮族的艺术个性). หนานหนิง: สำนักพิมพ์ประชาชนกว่างซี.
Huang Yun. (2547). Aesthetic people. (审美的人). Beijing: Commercial Press.
LE,JI. (2546). หลักสุนทรียศาสตร์. (美学原理新编). Beijing: Peking University Press.
Liu, H.&.Lu,M,N. (2560). On the rhetorical techniques of phonetic pronunciation of Guangxi Zhuang folk songs. (论广西壮族民歌语音的修辞手法). Journal of Mudanjiang Normal University. 4 (2),16-30.
Luo Hantian. (2551). เพลงสงคราม (贼歌). หนานหนิง: สำนักพิมพ์สัญชาติ.
Ni Xu. (2564). The Liao Songs In Ping Guo, Guang Xi, China. (平果嘹歌). Journal of the Baise Academy. 24 (3),38-54.
Ou Yang ruoxiu และ Huang Shaoqing. (2529). ประวัติศาสตร์วรรณคดีจ้วง. หนานหนิง: สำนักพิมพ์ประชาชน.
Wang Jie. (2566). Aesthetic Illusions and Aesthetic Anthropology. หนานหนิง: สำนักพิมพ์ประชาชน.
Ye Lang. (2552). หลักสุนทรียศาสตร์. (美学原理). ปักกิ่ง: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยปักกิ่ง.
Zhang Shengzhen. (2536). คลังโบราณรวมเพลงพื้นบ้านของชาติพันธ์จ้วง เพลงเหลียว. (壮族民歌古籍集成•嘹歌). Nanning: Guangxi People's Publishing House.
Lu Xiaozhen. (2556). Zhuang folk song metaphor. Journal of Chongqing University Science and Technology. 25 (02), 149-151.
Hu Zhongshi. (2531). ประวัติศาสตร์วรรณกรรมจ้วง. Nanning: Guangxi People's Publishing House.