แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ ตำบลปลายพระยา อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่

Main Article Content

อภิษญา บุญยัง
ห้าวหาญ ทวีเส้ง
อุทิศ สังขรัตน์

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ตำบลปลายพระยา อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ตำบลปลายพระยา อำเภอปลายพระยาจังหวัดกระบี่ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 34 คน ประกอบไปด้วย 4 กลุ่ม คือ 1) ฝ่ายบริหารของภาครัฐที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่ตำบล 2 คน 2) ตัวแทนชุมชนอย่างเป็นทางการ 5 คน 3) ตัวแทนชุมชนอย่างไม่เป็นทางการ 19 คน และ 4) นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวที่ตำบลปลายพระยา และผู้ประกอบการด้านที่พัก 8 คน เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การสำรวจ และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสังเกตไม่มีส่วนร่วม ซึ่งผู้ให้ข้อมูลเลือกจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตำบลปลายพระยา เพื่อร่วมให้ข้อเสนอแนะและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นของแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
         ผลการวิจัยพบว่าศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ตำบลปลายพระยา มีเพียง 2 หมู่บ้านที่ปรากฏศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ได้แก่ หมู่ที่1 บ้านปากน้ำ และหมู่ที่6 บ้านบางเหียน และแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ตำบลปลายพระยา พบว่ามี 5 ประการ 1) แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในประเด็นการตระหนักรู้คุณค่าแหล่งท่องเที่ยว 2) แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในประเด็นสภาพการเข้าถึง 3) แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในประเด็นสิ่งอำนวยความสะดวก 4) แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในประเด็นภูมิทัศน์สภาพแวดล้อม และ5) แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในประเด็นการรองรับนักท่องเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลพิพัฒน์ ชนะสิทธิ์ และนรินทร์ สังข์รักษา. (2561). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตลาดน้ำคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 12 (28), 163-176.

งานวิเคราะห์นโยบายและแผนสำนักปลัด. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ.2566-2570. (ครั้งที่1). ม.ป.ท: ม.ป.พ.

บุษบา สิทธิการ. (2557). การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวจากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. (ครั้งที่1). เชียงใหม่: บริษัทสันติภาพ แพ็คพริ้นท์ จำกัด.

ธนากร ทองธรรมสิริ และ โอชัญญา บัวธรรม. (2564). แนวทางสำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อสัมผัสประสบการณ์ท้องถิ่นในเขตพื้นที่ เมืองเก่าบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 3 (1), 21-34.

พงศ์กฤต นันทนากรณ์. (2564). การศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี กรณีศึกษาวัดขนอนหนังใหญ่. วารสารศิลปะศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ. 4.(1), 168-181.

ศิรินันท์ พงษ์นิรันดร, โอชัญญา บัวธรรม และ ชัชชญา ยอดสุวรรณ. (2559). แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตการศึกษาการจัดการมข. 9 (1), 234-259.

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และคณะ. (2556). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. (ครั้งที่1). กรุงเทพมหานคร: องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).

อรไท ครุธเวโช, สุภัทรา สังข์ทอง และ วรพจน์ ตรีสุข. (2561). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างมีส่วนร่วมชุมชนชาวเลบ้านแหลมตุ๊กแก จังหวัดภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี. 14 (3), 63-74.