วิเคราะห์ความแตกต่างและปัจจัยสำคัญสำหรับการสร้างกรอบแนวความคิดการวิจัย ทางสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์

Main Article Content

ภีมศักดิ์ เอ้งฉ้วน

บทคัดย่อ

          บทความนี้วิเคาระห์ (1) ความแตกต่างระหว่างกรอบแนวความคิดเชิงทฤษฎีและกรอบแนวความคิด  การวิจัยทางสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ (2) ความแตกต่างระหว่างการสร้างกรอบแนวความคิดวิจัยเชิงปริมาณและกรอบแนวความคิดวิจัยเชิงคุณภาพทางสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ (3) ปัจจัยสำคัญสำหรับการสร้างกรอบแนวความคิดการวิจัยทางสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ และ (4) วิธีการที่นำเสนอกรอบแนวความคิดวิจัย
          ผลการวิเคราะห์พบว่า กรอบแนวความคิดการวิจัยเชิงทฤษฎีและกรอบแนวความคิดการวิจัยทางสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์มีความแตกต่างกันคือกรอบแนวความคิดเชิงทฤษฎีศึกษาตัวแปรอิสระทุกของทฤษฎีที่จะนำมาใช้ในการวิจัยเพราะว่านักวิจัยต้องการพิสูจน์ว่าทฤษฎีนั้นยังเหมาะสมกับบริบทที่เกิดปรากฎการณ์ปัจจุบันหรือไหม ส่วนกรอบแนวความคิดการวิจัยเลือกศึกษาตัวแปรอิสระที่สำคัญเท่านั้นของทฤษฎีที่จะนำมาใช้ในการวิจัยไม่ต้องการพิสูจน์ทฤษฎีเพียงแต่ต้องการตัวแปรอิสระที่สำคัญดังกล่าวมาสร้างกรอบแนวความคิดการวิจัยเรื่องที่สนใจศึกษาเท่านั้น ขณะเดียวกันกรอบแนวความคิดการวิจัยเชิงคุณภาพอาศัยทฤษฎีฐานรากมารองรับปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษาวิจัย ส่วนกรอบแนวความคิดการวิจัยเชิงปริมาณอาศัยทฤษฎีหลักมารองรับปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษาวิจัย เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม มุ่งเน้นการทดสอบสมมติฐานการวิจัยว่าเป็นจริงตามที่ตั้งไว้หรือไม่ สำคัญยิ่งไปกว่านั้นปัจจัยสำคัญสำหรับการสร้างกรอบแนวความคิดการวิจัยประกอบด้วยทฤษฎี ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและแนวความคิดของผู้วิจัยและ การนำเสนอกรอบแนวความคิดการวิจัยประกอบด้วยการบรรยาย แผนภาพ และแบบจำลองในรูปสมการทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จุมพล หนิมพานิช. (2560). การออกแบบญาณวิทยา กระบวนทัศน์ และกรอบแนวคิดทฤษฎีในการทําวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์เชิงคุณภาพ: ทฤษฎีและการปฏิบัติ. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมา ธิราช.

นภัสกร กรวยสวัสดิ์, ลำปาง แม่นมาตย์ และ มาลี กาบมาลา. (2561). พฤติกรรมการเข้าถึงสารสนเทศและการใช้คำศัพท์ในการสืบคันทรัพยากรสารสนเทศ สาขาบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ของผู้ใช้. วารสารสารสนเทศศาสตร์. 36 (1), 69-86.

บัณฑิตา อินสมบัติ. (2558). มโนทัศน์พื้นฐานของกรอบความคิดเชิงทฤษฎี กรอบความคิดการวิจัย โมเดลการวิจัย กรอบการวิจัย และแผนภูมิการวิจัย. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 5 (8), 13-23.

ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2561). แนวคิด หลักการและกระบวนการวิจัย: เชิงปริมาณ คุณภาพและผสานวิธีการเขียนวิทยานิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์.

ภีมศักดิ์ เอ้งฉ้วน. (2556). รายงานการวิจัยปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเลือกแหล่งสารสนเทศ: กรณีศึกษาของนักศึกษาอาเซียนในประเทศ ไทย. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภีมศักดิ์ เอ้งฉ้วน. (2561). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเลือกแหล่งสารสนเทศ: กรณีศึกษานักศึกษาอาเซียน

ในประเทศไทย. วารสารบรรณศาสตร์ มศว. 11 (1), 191-208.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. บัณฑิตศึกษา สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์. (2545). ประมวลสาระชุดวิชาสถิติและการวิจัยทางสังคมศาสตร์ หน่วยที่ 1-6 (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วรรณดี สุทธินรากร. (2556). การวิจัยเชิงคุณภาพ: การวิจัยในกระบวนทัศน์ทางเลือก. กรุงเทพมหานคร:

สยามปริทัศน์.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2550). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: เฟื่องฟ้าพริ้นติ้ง.

สุทิติ ขัตติยะ และ วิไลลักษณ์ สุวจิตตานนท์. (2554). แบบแผนการวิจัยและสถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง.

Angchun, P. (2016). A conceptual framework for studying factors influencing distance learners’ access and use of information sources. Academic Journal of Humanities

and Social Sciences. 24 (44), 147-170.

Aparicio, M., Bacao, F., & Oliveira, T. (2016). An e-learning theoretical framework.

An e-learning theoretical framework. 19 (1), 292-307.

Fang, X., Ng, D. T. K., Leung, J. K. L., & Xu, H. (2023). The applications of the ARCS model in instructional design, theoretical framework, and measurement tool: a systematic review of empirical studies. Interactive Learning Environments, 1-28.

Fox, W., & Bayat, M. S. (2007). A guide to managing research. Cape Town: Juta.

Grant, C., & Osanloo, A. (2014). Understanding, selecting, and integrating a theoretical

framework in dissertation research: Creating the blueprint for your “house”. Administrative Issues Journal: Connecting to Education, Practice and Research. 4 (20), 12-26. doi: 10.5929/2014.4.2.9

Hennig-Thurau, T., Aliman, D. N., Herting, A. M., Cziehso, G. P., Linder, M., & Kübler, R.

V. (2023). Social interactions in the metaverse: Framework, initial evidence, and research roadmap. Journal of the Academy of Marketing Science. 51 (4), 889-913.

Hertzum, M. (2002). The importance of trust in software-engineers’ assessment and choice of information sources. Information and Organization. 12 (1), 1-18.

Imenda, S. (2014). Is there a conceptual difference between theoretical and conceptual frameworks? Journal of Social Sciences. 38 (2), 185-195.

Lincoln, Y. S., & Guba, E. G. (1985). Naturalistic inquiry. Beverly Hills, CA: SAGE.

Mann, T. (1993). Library research model: A guide to classification, cataloging, and computer. New York: Oxford University Press.

Maxwell, J. R. (2005). Qualitative research design: An interactive approach (2nd ed.). Thousand Oaks, CA: SAGE.

Miles, M. B., & Huberman, A. M. (1994). Qualitative data analysis: An expanded

sourcebook (2nd ed.). Thousand Oaks, CA: SAGE.

Neuman, W. L. (1997). Social research methods: Qualitative and quantitative approaches (3rd ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Ravitch, S. M., & Riggan, M. (2017). Reason & rigor: How conceptual frameworks guide research (2nd ed.). Thousand Oaks, CA: SAGE.

Rogers, E. M. (1995). Diffusion of innovations. (5th ed.). New York: Free Press.

Van der Waldt, G. (2020). Constructing conceptual frameworks in social science research.

The Journal for Transdisciplinary Research in Southern Africa. 16 (1), 1-9. DOI: https://doi.org/10.4102/td.v16i1.758

Yamauchi, L. A., Ponte, E., Ratliffe, K. T., & Traynor, K. (2017). Theoretical and conceptual frameworks used in research on family-school partnerships. School Community Journal. 27 (2), 9-34