รูปแบบการบริหารการส่งเสริมคุณภาพสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านสุขภาพ ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ในจังหวัดสระบุรี

Main Article Content

วาธิณี วงศาโรจน์
โชติ บดีรัฐ
ศรชัย ท้าวมิตร

บทคัดย่อ

           ปัจจุบันเด็กปฐมวัยมีปัญหาสุขภาพ และได้รับการดูแลในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่ จึงจำเป็น ต้องศึกษาการบริหารการส่งเสริมคุณภาพสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหา 2) ระดับการบริหาร 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหาร และ 4) นำเสนอรูปแบบการบริหารการส่งเสริมคุณภาพสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านสุขภาพ ตามมาตรฐานสถานพัฒนา       เด็กปฐมวัยแห่งชาติพื้นที่จังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ ผู้รับผิดชอบงานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย สังกัดกระทรวงมหาดไทย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดสระบุรี จำนวน 235 คน เชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้บริหารกระทรวงละ 1 คน รวม 4 คน และสนทนากลุ่มสังกัดละ 5 คน รวม 20 คน เครื่องมือที่ใช้ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ โดยใช้สถิติ Multiple Regression analysis, Content Analysis 
           ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารการส่งเสริมคุณภาพสถานพัฒนา   เด็กปฐมวัยด้านสุขภาพ คือ พัฒนาการเด็กและการเล่น การเจริญเติบโตและโภชนาการ สุขภาพช่องปาก    และฟัน และสิ่งแวดล้อมความปลอดภัยและป้องกันควบคุมโรค 2. ระดับการบริหารอยู่ในระดับมากที่สุด  3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารการส่งเสริมคุณภาพสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านสุขภาพ พบว่า ปัจจัยการมี ส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ .000, .001 ตามลำดับ ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และกฎหมาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .035, .039, .000 ตามลำดับ  4. รูปแบบการบริหารการส่งเสริมคุณภาพสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านสุขภาพ ตามมาตรฐานสถานพัฒนา เด็กปฐมวัยแห่งชาติ พื้นที่จังหวัดสระบุรีไปปฏิบัติที่เด่นชัดที่สุด คือ ควรมีการส่งเสริมปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ส่วนปัจจัยภายนอก คือ สังคม สิ่งแวดล้อม และกฎหมาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ เอื้องเพ็ชร์, พิมผกา ธรรมสิทธิ์ และ สุกัญญา รุจิเมธาภาส. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ พ.ศ. 2562 สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสุโขทัย. Roi Kaensarn Academi. 7 (10), 411-429.

กรรณิการ์ สุสม. (2557). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนาพฤติกรรม. วารสารวิจัย ราชภัฏกรุงเก่า. 1 (1), 30-36.

จินตนา พัฒนพงศ์ธร และ วันนิสาห์ แก้วแข็งขัน. (2561). รายงานการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ครั้งที่ 6 พ.ศ.2560. นนทบุรี: กลุ่มสนับสนุนวิชาการและการวิจัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรอมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

เจนภพ ปัญญาสงค์ ชัชภูมิ สีชมภู และพิมผกา ธรรมสิทธิ์. (2565). แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย โดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในกลุ่มโรงเรียนฝั่งนที สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 5 (6), 97 – 110.

ดลจรัส ทิพย์มโนสิงห์. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการของเด็กปบมวัยที่มารับบริการที่ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานคร. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. 17 (15), 51-68

นิตยา คชภักดี. (2554). ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก สำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป. บริษัทบียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด. กรุงเทพมหานคร.

ปิยะ ปุริโส และพรพิมล ชูพานิช. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตและภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียนอายุ 2-5 ปี ในเขตสุขภาพที่ 7 ประเทศไทย. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 13 (2), 65-76.

ยุภดี สงวนพงษ์ และธนิดา ผาติเสนะ. (2563). คุณภาพชีวิตของเด็กปฐมวัยอายุ 2-4 ปีในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 14 (35), 389-408.

วรพรรณ ถมยา และยอดชาย สุวรรณวงษ์. (2561). ได้ศึกษาผลของรูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปาก ด้วยการปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมต่อสุขภาวะช่องปากของเด็กปฐมวัยในศูนย์เด็กเล็กอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 33 (2), 89-104.

วิชุตา คงเหมือนเพชร, วิริณธิ์ กิตติพิชัย และศุภชัย ปิติกุลตัง. (2560). พฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยของ ผู้ปกครองในศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 47 (2), 189-199.

วรรณิษา หาคูณ. (2563). การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัย: I กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านวังบัวสามัคคีวิทยา อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 14 (2), 210 – 225.

วาสนา รังสร้อย. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของ โรงเรียนวัดลานบุญสำนักงานเขต ลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 8 (1), 278 – 292.

โสมศิริ เดชารัตน์, พิริยะลักษณ์ เพชรห้วยลึก, ธนวรรณ บัวเจริญ และดุสิต พรหมอ่อน. (2563). การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมและปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 3 (3), 64-78.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี

อาริสรา ทองเหม จินตนา พัฒนพงศ์ธร และปราณี พงษ์จินดา. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย : กรณีพื้นที่โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เขตกองทัพภาคที่ 3. กลุ่มสนับสนุนวิชาการและการวิจัย สำนักส่งเสริมอนามัย.

อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์ วารุณี เกตุอินทร์ และวนิสา หะยีเซะ. (2564). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของบิดาในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย: กรณีศึกษาอำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารพยาบาลทหารบก. 22 (1), 402 – 411.