รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทีมของครูในการจัดการเรียนรู้โรงเรียนประถมศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 11

Main Article Content

ศศิธร ไชยโกษี
ไชยา ภาวะบุตร
เพ็ญผกา ปัญจนะ

บทคัดย่อ

          สังคมโลกมีความเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดปัญหาของผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำลง     ครูจึงต้องใช้ภาวะผู้นำทีมและทักษะในการทำงานร่วมกันเข้ามามีบทบาทในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) องค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อยของภาวะผู้นำทีมของครู ในการจัดการเรียนรู้โรงเรียนประถมศึกษา ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 11  2) สร้างและพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำทีมของครูในการจัดการจัดการเรียนรู้โรงเรียนประถมศึกษา ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 และ 3) หาประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทีมของครู ในการจัดการเรียนรู้โรงเรียนประถมศึกษา ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นําทีมของครู ในการจัดการเรียนรู้โรงเรียนประถมศึกษา ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 โดยการวิเคราะห์ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเชิงลึกและ  การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ครูในโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 375 คน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นําทีมของครู ในการจัดการเรียนรู้โรงเรียนประถมศึกษา ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 และยืนยันรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นําทีมของครู ในการจัดการเรียนรู้โรงเรียนประถมศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 กับครูจำนวน 30 คนจากโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน  20 โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลการวิจัย คือประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) และแบบประเมินภาวะผู้นำทีมของครู ในการจัดการเรียนรู้โรงเรียนประถมศึกษา ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
         ผลการวิจัยพบว่า
          1. องค์ประกอบภาวะผู้นําทีมของครู ในการจัดการเรียนรู้โรงเรียนประถมศึกษา ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 มี 5 องค์ประกอบหลัก 16 องค์ประกอบย่อย 80 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1) การมีเป้าหมายร่วม มี 20 ตัวบ่งชี้ 2) การแก้ปัญหาความขัดแย้ง มี 15 ตัวบ่งชี้ 3) ความรับผิดชอบร่วมกัน มี 20 ตัวบ่งชี้ 4) การมีความเชี่ยวชาญ มี 10 ตัวบ่งชี้ 5) การสื่อสาร มี 15 ตัวบ่งชี้
           2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นําทีมของครู ในการจัดการเรียนรู้โรงเรียนประถมศึกษา ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 ประกอบด้วย 1) หลักการของรูปแบบ 2) ความมุ่งหมายของรูปแบบ 3) เนื้อหาของรูปแบบ 4) กระบวนการของรูปแบบ 5) การวัดและประเมินผล
          3. ประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นําทีมของครู ในการจัดการเรียนรู้โรงเรียนประถมศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 พบว่า รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นําทีมของครูในการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนประถมศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 มีความเหมาะสมโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และครูที่เข้ารับการพัฒนามีภาวะผู้นําทีมของครูในการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนประถมศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 เพิ่มขึ้นหลังการพัฒนาคิดเป็นร้อยละ 25.16

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2567). แผนปฏิบัติราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระยะ 5 ปีพ.ศ.2566-2570. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2567. ประกาศกระทรวง.

จารุณี แสงหวัง. (2564). ภาวะผู้นำครูไทย: การปรับแนวคิดตะวันตกให้สอดคล้องกับบริบทการศึกษาไทย. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ณัฐพล วรรณศรี. (2564). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับ มัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นพรัตน์ อภิวิมลลักษณ์. (2559). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลในศาลยุติธรรม.วิทยานิพนธ์ ปร.ด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ประโยชน์ คล้ายลักษณ์. (2556). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการทำงานเป็นทีมของบุคลากรทาง การศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2549). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: เฮ้าส์ออฟเคอร์มีสท์.

ไพวัล ไชยทองศรี. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้การทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.วิทยานิพนธ์ ค.ด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ภิญโญ มนูศิลป์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของทีม.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 1 (2), 1–28.

วราภรณ์ ชาเรืองเดช. (2558). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของทีมคุณภาพที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ศิริพร กุลสานต์. (2557). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ ค.ด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เสถียร พะโยธร. (2560). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทีมที่มีประสิทธิผลสำหรับผู้บริหารระดับต้นโรงเรียนมัธยมศึกษา. ปริญญา กศ.ด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อรวรรนี ไชยปัญหา. (2556). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทีมของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

Belch, George E. and Belch, Michael A. (2004). Advertising and Promotion: An Intergrated Marketing Communication Perspective. 6th ed. Boston: McGraw-Hill.

Donnellan, M. B., Oswald, F. L., Baird, B. M., & Lucas, R. E. (2006). The Mini-IPIP Scales: Tiny-Yet-Effective Measures of the Big Five Factors of Personality. Psychological Assessment. 18, 192-203.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30, 608-610.

Zaccaro, Stephen J.; Rittman, Andrea L. and Marks, Michelle A. (2001). Team Leadership. The Leadership Quarterly. 12 , 451.