สวัสดิการชุมชนเมืองมิติสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุเพื่อการพัฒนาสังคมผู้สูงอายุ ที่มีศักยภาพอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ชุมชนแฟลตสิริสาสน์ เคหะศรีย่าน เขตดุสิต ชุมชนตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

แสน กีรตินวนันท์
สิริยา รัตนช่วย

บทคัดย่อ

          การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรนำไปสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุและการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุมีความสำคัญอย่างมากในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและการสร้างสังคมผู้สูงอายุที่มีศักยภาพอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาความต้องการของผู้สูงอายุทางด้านสวัสดิการชุมชนเมือง และ 2) เพื่อศึกษากลไกและกระบวนการในการบริหารจัดการสวัสดิการชุมชนเมืองสำหรับผู้สูงอายุที่นำไปสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุที่มีศักยภาพอย่างยั่งยืน มีผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย 2 กลุ่มหลักคือ 1) กลุ่มผู้นำของทั้งสองชุมชน จำนวน 12 คน และ 2) กลุ่มผู้สูงอายุทั้งสองชุมชน จำนวน 28 คน รวมทั้งสิ้น 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) การศึกษาเอกสาร  2) การสังเกต 3) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และ 4) การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม โดยการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพในลักษณะของการบรรยายที่เน้นการพรรณนาและวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) เพื่อหาข้อสรุปในเชิงอุปนัย (Inductive) 
          ผลการศึกษา พบว่า 1) ความต้องการของผู้สูงอายุที่มีต่อสวัสดิการชุมชนเมืองมิติสาธารณสุข ประกอบด้วย การตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับผู้สูงอายุอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายและการกายภาพบำบัดเบื้องต้นสำหรับผู้สูงอายุ ชุดความรู้ที่จำเป็นต่อการดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ อุปกรณ์ช่วยเหลือฉุกเฉินทางการแพทย์ประจำชุมชน บุคลากรทางการแพทย์เคลื่อนที่เข้าบริการผู้สูงอายุในชุมชน และ 2) กลไกและกระบวนการในการบริหารจัดการสวัสดิการชุมชนเมืองสำหรับผู้สูงอายุ ที่กรณีศึกษาทั้งสองชุมชนนำมาใช้ร่วมกัน ประกอบด้วย กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร กิจกรรมของชุมชนในวันสำคัญ  ต่าง ๆ กลุ่มผู้นำชุมชนและกลุ่มแกนนำอาสาสมัคร เครือข่ายความสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกชุมชน


 


Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฏฐ์ฐิตตา เทวาเลิศสกุล, วณิฎา ศิริวรสกุล และ ชัชสรัญ รอดยิ้ม. 2559. แนวทางการพัฒนาผู้สูงอายุจากภาระให้เป็นพลัง กรณีศึกษาเทศบาลนครรังสิต, Veridian E-Journal, Silpakorn University. 9 (1), 529 – 545.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2554). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2554. กรุงเทพมหานคร: พงษ์พาณิชย์เจริญผล.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2563). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2563. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิซซิ่ง จำกัด.

น้อมจิตต์ นวลเนตร. (2553). ศาสตร์น่ารู้สำหรับงานกายภาพบำบัดชุมชน, กรุงเทพมหานคร: คลังนานาวิทยา.

ยุทธนา แยบคาย และ ปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2563). การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่สำคัญของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 31 (2), 269 – 279.

ญาดานุช บุญญรัตน์. (2561). การป้องกันการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนโดยมีผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง. ลำปางเวชสาร. 39 (1), 41 – 55.

วิภานันท์ ม่วงสกุล (2558). การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังด้วยแนวคิดพฤฒพลัง. วารสารวิจัยสังคม. 38 (2), 93 – 112.

สิริยา รัตนช่วย. (2565). กระบวนการจัดการความรู้ในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

แสน กีรตินวนันท์ และ เพชร รอดอารีย์. (2562). กลไกการสร้างความเข้มแข็งและความต้องการทางด้านสวัสดิการชุมชนเมืองสำหรับผู้สูงอายุ, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น). 14 (2), 103 – 120.

สันต์ หัตถีรัตน์. (2564). การแพทย์ทางไกล. หมอชาวบ้าน. 43 (508), 34 – 39.

อุทุมพร วานิชคาม. 2562. การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 25 (1), 164 – 179.

Asadzadeh, Mohammad, Maher, Ali, Jafari, Mehrnoosh, Mohammadzadeh, Khalil A., Hosseini and Seyed Mojtaba. 2022, A review study of the providing elderly care services in different countries, Journal of Family Medicine and Primary Care. 11 (2), 458 - 465.

Sumini, Sukamdi, Evita Hanie Pangaribowo, Yeremias T. Keban and Muhadjir Darwin. 2020. Elderly Care: A Study on Community Care Services in Sleman, DIY, Indonesia, Hindawi Journal of Aging Research. 2020, 1 – 11.

Singh, B, & Kiran, U. V. (2014). Recreational activities for senior citizens. IOSR Journal of Humanities and Social Science. 19 (4), 24 – 30.

Toepoel, V. (2013). Ageing, leisure, and social connectedness: How could leisure help reduce social isolation of older people? Social Indicators Research. 113, 355 – 372.