ประสิทธิผลการนำนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ไปปฏิบัติในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

Main Article Content

ปุณณดา ทรงอิทธิสุข
ศรชัย ท้าวมิตร
โชติ บดีรัฐ

บทคัดย่อ

          วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลและปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของหน่วยงานรัฐในการนำนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว และเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการทำงานของหน่วยงานรัฐในการนำนโยบายการบริหารจัดการทำงานของคนต่างด้าวไปปฏิบัติในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ใช้วิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง คือ สำนักจัดหางาน โรงพยาบาลแม่สอด สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานประกันสังคม ที่ว่าการอำเภอแม่สอด จ.ตาก จำนวน 316 คน คำนวณหาจำนวนกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Yamane เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
        ผลการวิจัยพบว่า
        1. ประสิทธิผลการนำนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับเห็นด้วย โดยเห็นด้วยกับการที่มีการใช้กฎหมายควบคุมการขออนุญาตการทำงานของคนต่างด้าวมากที่สุด (Mean = 47, S.D. = 0.702)
        2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย โดยเห็นด้วยกับนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวมีความชัดเจนและนำไปปฏิบัติได้จริงมากที่สุด อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง (Mean = 4.58, S.D. = 0.664)
          3. มีการชี้แจงการดำเนินงานให้แก่บุคลากรทราบแนวทางการปฏิบัติ เพื่อให้มีความเข้าใจในหน้าที่งานของตนเอง และมีการปรับปรุงในการดำเนินงานอยู่เสมอเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง โดยการประชุม ชี้แจง แนวทางการปฏิบัติของบุคลากรที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการจัดหางาน. (2565). การจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2565. แหล่งที่มา: https://www.doe.go.th.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: ไทเนรมิตกิจอินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.

ณัฐวุฒิ จันทร์แก้ว. (2564). ประสิทธิผลการนำนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองในเขตอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชนใ 3 (3), 121-134.

ประสงค์ เลาหะพงษ์. (2559). การศึกษาเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง สัญชาติเมียนมา ลาวและกัมพูชา ในการบังคับใช้กฎหมายของประเทศไทย. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ใ 16 (2), 118-128.

ประสงค์ อุทัย, สมบัติ ทีฆทรัพย์ และวัฒนา เอกปมิตศิลป์. (2563). ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการระบบการลงทะเบียนแรงงานต่างด้าวในเขตกรุงเทพมหานคร. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University. 14 (1), 105-113.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2553). หลักการทําวิจัยและการทําวิทยานิพนธ์. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

วิชาดา ไตรรัตน์. (2540). ปัญหาและอุปสรรคในการนำนโยบายการจัดระบบเพื่อควบคุมการทำงานของ แรงงานตางชาติผิดกฎหมายไปปฏิบัติ. ภาคนิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคม: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศิวิไล ชยางกูร. (2555). แรงงานข้ามชาติกับความต้องการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2. (2559). เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด จังหวัดตาก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2565. แหล่งที่มา: https://ipc2.dip.go.th/th/category/2016-11-09-08-51-32/2018-02-14-04-01-35.

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ.(2558). นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ.2558-2564). กรุงเทพมหานคร: คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ และกรรณิการ์ สุขเกษม. (2547). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ: การวิจัยปัญหาปัจจุบันและการวิจัยอนาคตกาล. กรุงเทพมหานคร: เฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง.

อรรถสิทธิ์ วารีศรี. (2563). การนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปการปฏิบัติในพื้นที่ภาคใต้. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา. 10 (1), 65-74.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing. (3 rd ed). New York: Harper & Row.