การศึกษาทัศนคติที่มีต่อการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Main Article Content

อัจฉรา อินโต

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติที่มีต่อการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) เปรียบเทียบทัศนคติที่มีต่อการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาระดับปริญญาตรี แยกตามเพศ อายุ  สถานภาพ  ชั้นปีที่ศึกษา  ผลการเรียน  สถานะการศึกษา  สถานภาพครอบครัว  รายได้ของครอบครัว และ 3) สอบถามคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาระดับปริญญาตรี การวิจัยเชิงพรรณา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 380 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย  กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie และ Morgan เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ  แบบสอบถามทัศนคติที่มีต่อการอยู่ร่วมกันก่อนสมรส สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test)  และ การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) 
          ผลการวิจัย พบว่า 1) ทัศนคติของนักศึกษาที่มีต่อการการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.40 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ .49 2) นักศึกษาที่มีเพศ อายุ ชั้นปี สถานภาพครอบครัว รายได้ครอบครัวแตกต่างกัน มีทัศนคติต่อการการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาแตกต่างกัน  นักศึกษาที่มี สถานภาพ ผลการเรียน สถานะการศึกษา แตกต่างกัน มีทัศนคติต่อการการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาไม่แตกต่างกัน 3) ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษา พบว่า ด้านความคิดนักศึกษาเห็นด้วยกับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรส ร้อยละ 85.26  ด้านความรู้สึกมีความรู้สึกยอมรับ ร้อยละ 72.89 ด้านพฤติกรรมมีแนวโน้มที่จะอยู่ร่วมกันก่อนสมรสร้อยละ 64.47

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2566). แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566 – 2570) ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา: https://shorturl.asia/hKpz1.

กรมอนามัย สำนักงานอนามัยเจริญพันธุ์. (2566). สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชน ปี 2565.ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2567. แหล่งที่มา: https://shorturl.asia/dCe6A.

จิราภรณ์ พูนรอดแก้ว. (2552). ทัศนคติต่อพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสของนักศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร คณะสาธารณสุขศาสตร์ สาขาสาธารณสุข (ต่อเนื่อง 2 ปี). สารนิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์.คณะสาธารณสุขศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นิธิกิตติกานต์ เหมสุวรรณ์และพาฝัน รัตนะ. (2565). การใช้ชีวิตคู่ก่อนการแต่งงานในทัศนะของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.). 28 (1), (19-25).

ภาณุ สหัสสานนท์ (2562). อยู่ก่อนแต่ง : ในบริบททางจิตวิทยา.ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2566.แหล่งที่มา: https://www.psy.chula.ac.th/th/feature-articles/premarital-cohabitation.

นุชลี อุปภัย. (2558) .จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานออนไลน์. (2544). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา: https://dictionary.orst.go.th/.

เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2562). การให้การปรึกษาวัยรุ่น= Adolescents counseling. (พิมพ์ครั้งที่ 4). ชลบุรี:

บริษัท เก็ทกู๊ดครีเอชั่น จำกัด.

เมธิกา ศรีสด และ พิมลพรรณ อิศรภักดี. (2559). การยอมรับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานของคนไทย. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร. 11 (2) (137-145).

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ. (2554). มุมมองเรื่องความรักและการเลือกคู่ของคนโสดในยุคปัจจุบัน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา: https://shorturl.asia/20SxH.

สายพิณ สำนักนี้. (2556). ความคิดเห็นของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงต่อการอยู่ก่อนแต่ง. วารสารมนุษศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา. 5 (2), 92-105.

สัจจา ทาโต. (2550). การมีเพศสัมพันธ์ก่อนเวลาอันควรของวัยรุ่นไทย. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 1 (2), 19-30.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2549). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงทุกวัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2559). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่12). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โสพิณ หมูแก้ว. (2544). “อยู่ก่อนแต่ง” การอยู่ร่วมกันโดยไมได้แต่งงานของนักศึกษามหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต. คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ . (2561). วิเคราะห์เด็กและเยาวชน 2560. กรุงเทพมหานคร: กองสถิติพยาการณ์ สำนักงาน สถิติแห่งชาติ.

สำนักอนามัยเจริญพันธุ์. (2564). คู่มือการดูแลแม่วัยรุ่นแบบบูรณาการ. นนทบุรี: บริษัทซีจีทูล จำกัด.

อำนาจ ยอดทอง. (2560). การทดลองอยู่ด้วยกันของชาย-หญิง ที่โสดบรรลุนิติภาวะแล้ว : วิเคราะห์มุมมองในพระพุทธศาสนา. วารสาร มจร. พุทธปัญญาปริทรรศน์. 2 (2), 15-34.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607–610.