การพัฒนารูปแบบกระบวนการลูกเสือเพื่อเสริมสร้างวินัยของนักเรียน ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการลูกเสือเพื่อเสริมสร้างวินัยของนักเรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษา 2) สร้างรูปแบบกระบวนการลูกเสือเพื่อเสริมสร้างวินัยของนักเรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษา และ 3) ประเมินยืนยันรูปแบบกระบวนการลูกเสือเพื่อเสริมสร้างวินัยของนักเรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษา ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์ผู้บริหารและครูลูกเสือที่เป็นโรงเรียนต้นแบบลูกเสือ จำนวน 16 คน ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบรูปแบบกระบวนการลูกเสือกับหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือจำนวน 18 คน เป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ใช้สถิติวิเคราะห์ค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ขั้นตอนที่ 3 ยืนยันรูปแบบ ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 เท่าของตัวแปร จำนวน 140 คน เป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ใช้สถิติวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. กระบวนการลูกเสือเพื่อเสริมสร้างวินัยของนักเรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษามี 8 ประเด็นหลัก 79 ประเด็นย่อย ซึ่งเรียกชื่อย่อว่า PIYAPONG MODEL
2. รูปแบบกระบวนการลูกเสือเพื่อเสริมสร้างวินัยของนักเรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษา PIYAPONG MODEL ประกอบด้วย 1) P: The Scout Promise and Law มี 11 กิจกรรม 2) I: Learning by doing มี 11 กิจกรรม 3) Y: Symbolic framework มี 10 กิจกรรม 4) A: Adult Support มี 9 กิจกรรม 5) P: Patrol system มี 10 กิจกรรม 6) O: Nature and the outdoor มี 10 กิจกรรม 7) N: Community Involvement มี 9 กิจกรรม 8) G: Personal progression มี 9 กิจกรรม
3. การยืนยันรูปแบบ พบว่า โรงเรียนต้นแบบลูกเสือมีค่าน้ำหนัก .246 ที่ระดับ .05 ส่วนโรงเรียนทั่วไปมีค่าน้ำหนัก .088 แสดงว่าครูที่ปฏิบัติกิจกรรมลูกเสือ มีผลต่อการมีวินัยของนักเรียน
Article Details
References
ชลลดา ศรเดช. (2550). การเห็นคุณค่าพรหมจารีของวัยรุ่นหญิง. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิจัยการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ณรงค์ จันทะคัด. (2550). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ของโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี. (2551). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: เมธีทิปส์.
นันท์มนัส รอดทัศนา. (2554). การจัดทำคู่มือจัดกิจกรรมพัฒนาความมีวินัยของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียน สาร สาส์น วิเทศ บาง บอน (Doctoral dissertation).
ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580. (2561). กรุงเทพมหานคร: ราชกิจจานุเบกษา.
วรรณภา พรหมถาวร และคณะ. (2551). การติดตามและประเมินผลการจัดกิจกรรมลูกเสือในค่ายลูกเสือ. กรุงเทพมหานคร: สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน.
สมบัติ เดชบำรุง (2557). การบริหารงานลูกเสือกับผลการประเมินตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพงานลูกเสือ ภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 และ เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10 (2), 136-147.
สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2542). ปัจจัยที่ส่งผลต่อมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม. วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา. 7 (1), 91-102.
สมาน อัศวภูมิ. (2550). การใช้วิจัยพัฒนารูปแบบในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.
สุภาพร จตุรภัทร. (2556). การพัฒนาจิตสาธารณะผ่านโครงการกิจกรรมนักศึกษาต่อการเปลี่ยนแปลงด้าน คุณธรรมจริยธรรมที่ดีของนักศึกษา: กรณีศึกษานักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลที่เข้า ร่วมโครงการค่ายบัณฑิตอาสาเสริมสร้างชุมชน. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัย บูรพา. 13 (1), 156-168.
Colaizzi, P. (1978). Psychological research as the Phenomenologist views it in Existential – Phenomenological Alternatives for Psychology (Valle R. & King M. eds), Oxford University Press, London.