รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงาน ตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล 2) ความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยที่ส่งต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล 3) พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ 4) ตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 5) ขนาดอิทธิพลของปัจจัยส่งผลต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และครู สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปีการศึกษา 2566 จำนวน 432 โรงเรียน โดยได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม จำนวน 3 ตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติสถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบ (factor analysis) และ การวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล (path analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1) ความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน
2) ความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยที่ส่งต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลในภาพรวมพบว่า ค่าเฉลี่ยระดับการดำเนินงานของปัจจัยที่ส่งต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน
3) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี มีค่า Chi – Square = 343.204 ค่า df = 329.0 ค่า Sig. = 0.329 ค่า CMIN/df. = 1.043 ค่า GFI = 0.978 ค่า AGFI = 0.956 ค่า NFI = 0.994 ค่า IFI = 1.000 ค่า CFI = 1.000 ค่า RMR = 0.004 และค่า RMSEA = 0.007
4) ปัจจัยระบบการบริหาร ปัจจัยบุคลากร และปัจจัยภาวะผู้นำ มีอิทธิพลต่อการบริหารตามหลัก ธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีอิทธิพลเปลี่ยนแปลงได้ร้อยละ 93.0 (R2 = 93.00) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2566).ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www. moe.go.th/360policy-and-focus-moe-fiscal-year-2024/
แก้วกาญจน์ กิมานุวัฒน์. (2564). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ชยุต มารยาทตร์. (2560). การบริหารจัดการสถานีตำรวจตามหลักธรรมาภิบาลของหัวหน้าสถานีตำรวจ
นครบาล. วารสารการบริหารการปกครอง. 6 (1), 445-468
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น
ปัญญา วรรณบุตร. (2553). ปัจจัยของความสำเร็จในการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารงานของเทศบาลตำบลหาดทนง อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปรีชา อุยตระกูล. (2563). ทางออกของไทยในการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา: https://researchcafe.tsri.or.th/civil-society-and-implementation-of-governance/
ไพศาล วรคํา. (2559). การวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
มะยุรี สุดตา. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา : องค์การบริหารส่วนตำบลป่ามะคาบ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
มาลีณ เรืองเดช. (2559). ปัจจัยการบริหารที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองกิ่ว อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
รุ่งนภา ตาอินทร์. (2551). ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลบริหารจัดการที่ดี : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วรชัย สิงหฤกษ์ และ ประสพชัย พสุนนท์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารจัดการของชุมชนสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด. วารสารจัดการสมัยใหม่. 14 (1), 67-75.
วิธาวีร์ ประทุมสวัสดิ์. (2556). ธรรมาภิบาลการบริหารองค์กรยุคใหม่กับการปฏิรูปการศึกษาไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา: http://www.bangkokideaeasy.com/informations /16charoensin/files/dynamiccontent/file-207606-16152606821395770519.pdf.
วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ. (2557). ธรรมาภิบาลในองค์การภาครัฐ: ศึกษากรณีโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรีวิไล ศรีเฉลิม. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลกับประสิทธิผลการบริหารงานตามหลักธรรมา ภิบาลของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลเมืองชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร. (2564). หลักสูตรการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 8. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา : https://circular.bangkok. go.th/doc/20210216/911.pdf
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2555). หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี.ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา: http://www.bangkokideaeasy.com/ informations/16charoensin/files/dynamiccontent/file-20760616152606821395770519.pdf.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). ธรรมาภิบาลการบริหารองค์กรยุคใหม่กับการปฏิรูปการศึกษาไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/258/T_0001.PDF
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2006). Multivariate data analysis. Pearson Education.
Schumacker, E. R., & Lomax, G. R. (1996). A beginner’s guide to structural equation modeling. Mahwah, NJ: Erlbaum.
Sukdeo, S., Lynch, J., Zulu, T., & Govender, P. (2017). The influence of corporate governance on employee welfare. Corporate Ownership and Control. 14 (4) , 196-204.