ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการจัดการโซ่อุปทานต่อความสามารถในการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจของธุรกิจสายการบินในประเทศไทย

Main Article Content

สันติพงศ์ จิโรจน์กุลกิจ
สรพล บูรณกูล

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสามารถในการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจของธุรกิจสายการบินในประเทศไทย เพื่อศึกษาอิทธิพลของความสามารถในการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจของธุรกิจสายการบินในประเทศไทย และเพื่อเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้การจัดการโซ่อุปทานต่อความสามารถในการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจของธุรกิจสายการบินในประเทศไทย ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี  (Mixed Method) ประกอบด้วยการใช้วิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มผู้ให้บริการการขนส่งสินค้าทางอากาศ จำนวน 460 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยกำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 30 ท่าน เป็นการการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interviews) โดยมีเกณฑ์ในการคัดเลือก (เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 5 ปี) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ประกอบด้วย ค่าความถี่ (Frequency: F) ค่าเฉลี่ย (Mean: M) ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) สถิติวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร จากค่าสหสัมพันธ์ (Correlation)  และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) วิเคราะห์สมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling : SEM) ผลการวิจัยพบว่า ด้านประเภทขององค์กร ส่วนมากเป็นธุรกิจสายการบิน ด้านจำนวนบุคลากรส่วนมากมีจำนวนมากกว่า 60 คน และด้านระยะเวลาดำเนินกิจการส่วนมากระยะเวลา 3 - 5 ปี
          ผลการวิเคราะห์ปัจจัยด้านการประยุกต์ใช้การจัดการโซ่อุปทานโดยรวม อยู่ในเกณฑ์ระดับมาก      โดยสูงสุด ด้านการแบ่งปันข้อมูล รองลงมา ด้านความสัมพันธ์ระยะยาว  ด้านกระบวนการ ด้านความร่วมมือ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยด้านภาวะผู้นำในโซ่อุปทานโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับมากโดยสูงสุด ด้านแรงบันดาลใจ รองลงมา ด้านแรงจูงใจ ด้านอุดมคติ ด้านการตัดสินใจส่วนบุคคล ด้านผลตอบแทน ด้านการจัดการ ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยด้านการดำเนินงานการบริหารอย่างต่อเนื่องโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับมากที่สุด โดยสูงสุด ด้านการทดสอบปรับปรุงและทบทวนแผน  รองลงมา ด้านการพัฒนาและเตรียมการตอบสนองต่อเหตุการณ์ในภาวะฉุกเฉิน ด้านการบริหารโครงการจัดการความต่อเนื่อง  ด้านการปลูกฝังวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง ด้านการศึกษาและทำความเข้าใจองค์การ ด้านการกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างความต่อเนื่อง ผลวิเคราะห์ปัจจัยด้านการดำเนินงานการบริหารอย่างต่อเนื่อง ด้านการกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างความต่อเนื่อง โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก
          ผลวิเคราะห์เส้นอิทธิพลสมการเชิงโครงสร้างตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลการดำเนินงานการบริหารอย่างต่อเนื่องในธุรกิจสายการบินของประเทศไทยสรุปได้ว่า ปัจจัยด้านการประยุกต์ใช้การจัดการโซ่อุปทานมีอิทธิพลต่อด้านการดำเนินงานการบริหารอย่างต่อเนื่องสูงสุด มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลรวม 0.89 รองลงมา ด้านภาวะผู้นำในโซ่อุปทาน ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลรวม 0.87 และด้านความยืดหยุ่นในโซ่อุปทาน  ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลรวม 0.18 โดยมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงได้ร้อยละ 97.0 และปัจจัยด้านภาวะผู้นำในโซ่อุปทานมีอิทธิพลต่อด้านความยืดหยุ่นในโซ่อุปทานสูงสุด มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลรวม 0.87  รองลงมา ด้านการประยุกต์ใช้การจัดการโซ่อุปทาน ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลรวม 0.84 โดยมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงได้ร้อยละ 88.0 นอกจากนี้ยังพบว่าด้านการประยุกต์ใช้การจัดการโซ่อุปทานมีอิทธิพลต่อด้านภาวะผู้นำในโซ่อุปทาน ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลรวม 0.88 โดยมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงได้ร้อยละ 77.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ประจักษ์ พรมงาม, & ชิตพงษ์ อัยสานนท์. (2021). โมเดลเชิงโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อ สมรรถนะโซ่อุปทานองค์กรผู้ผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ พิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของประเทศไทย. วารสารชุมชนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.15 (4), 196-209.

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. (2561). ประวัติ ความเป็นมา ภารกิจและหน้าที่ของสำนักงานการบิน พลเรือนแห่งประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย.

Autry, C. W., & Golicic, S. L. (2010). Evaluating buyer–supplier relationship–performance spirals: A longitudinal study. Journal of operations management. 28 (2), 87-100.

Defee, C., Esper, T., and Mollenkopf, D. (2009). “Leveraging closed-loop orientation and leadership for environmental sustainability.” Supply Chain Management: An International Journal. 14 (2), 87-98.

Fariz, F. (2022). The effect of supplier integration, manager transformational leadership on supply chain performance. Growing Science, 993-998.

Piprani, A. Z., Khan, S. A. R., Salim, R., & Khalilur Rahman, M. (2023). Unlocking sustainable supply chain performance through dynamic data analytics: a multiple mediation model of sustainable innovation and supply chain resilience. Environmental Science and Pollution Research. 30 (39), 90615-90638.

Tyssen, A. K., Wald, A., & Spieth, P. (2013). Leadership in temporary organizations: A review of leadership theories and a research agenda. Project Management Journal. 44 (6), 52-67.

The Standard. (2544). Online. From: https://thestandard.co/finnomena141063/