ความเชื่อและพิธีกรรมเพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ของกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

อิทธิพงษ์ ทองศรีเกตุ
จิรวัฒน์ รักชาติ
พสุนิต สารมาศ

บทคัดย่อ

          ภายใต้วิกฤติของโรคระบาดโคโรนาไวรัส 2019 มาตรการทางกายภาพเพื่อป้องกันการแพร่กระจายและการติดเชื้อถือกำเนิดขึ้น ขณะที่ผู้คนก็แสวงหาที่พึ่งทางใจเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมเพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ของกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา จังหวัดแม่ฮ่องสอนใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ และกลุ่มชาติพันธุ์กระเหรี่ยงแดง จำนวน 20 คน จาก 4 ชุมชนที่ตั้งอยู่ใกล้กับพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา จังหวัดแม่ฮ่องสอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
          ผลการศึกษาพบว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้สร้างความหวาดกลัว ความวิตกกังวลต่อการติดโรคที่มีอาจนำมาสู่การเสียชีวิตอย่างฉับพลัน กลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ชายแดนได้ประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อที่มีมาแต่โบราณ กลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ได้ประกอบพิธีวานปะลีกและเลี้ยงผีเจ้าเมือง ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์    กระเหรี่ยงแดงได้ประกอบพิธีเสี่ยงทางกระดูกไก่และปลูกเสาต้นธี ความเชื่อและพิธีกรรมที่ประกอบขึ้นของทั้งสองกลุ่มชาติพันธุ์เป็นเสมือนเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ช่วยประโลมให้คนในชุมชน สังคมผ่อนคลายจากความตึงเครียด ตลอดจนเป็นกำลังใจในการต่อสู้กับการระบาดของโรคโควิด-19 และเป็นแนวทางหนึ่งในการรักษาที่ตั้งอยู่บนฐานคิดแบบพหุลักษณ์ทางการแพทย์อันเป็นการดูแลสุขภาพภายใต้ความเชื่อ พิธีกรรมและวัฒนธรรมท้องถิ่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่ 256 วันที่ 16 กันยายน 2563. ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563). 10 ความวิตกกังวลของคนไทย ในวันที่โควิด-19 ยังระบาด. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2566 แหล่งที่มา: https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id =30339

การจัดการค้าชายแดน. (2562). การค้าชายแดน จังหวัดแม่ฮ่องสอน.จังหวัดแม่ฮ่องสอน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2566. แหล่งที่มา: https://www.maehongson.go.th/new/border-trading/.

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (2549). พหุลักษณ์ทางการแพทย์:มุมมองมานุษยวิทยากับความหลากหลายของ วัฒนธรรมสุขภาพ.ในพหุลักษณ์ทางการแพทย์กับสุขภาพในมิติสังคมวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน).

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์และยงศักดิ์ ตันติปิกฎ. (2550). สุขภาพไทย วัฒนธรรมไทย. นนทบุรี: สำนักวิจัย สังคมและสุขภาพ.

เจษฎา เนตะวงศ์. (2565). การต่อสู้ ต่อรองของชุมชนชาติพันธุ์กับการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส (COVID-19). คลังข้อมูลจดหมายเหตุดิจิทัล โควิด-19 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2566. แหล่งที่มา: https://db.sac.or.th/covid-19/th/article-details.php?atc _id=101#

ธิดารัตน์ วงศ์จักรติ๊บ, ภาณุวัฒน์ สกุลสืบ และ ทัตพิชา สกุลสืบ. (2564). พิธีกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของชุมชนบ้านกิ่วท่ากลาง-ท่าใต้ หมู่ที่ 7 ตําบลบ้านกิ่ว อําเภอแม่ทะ จังหวัดลําปาง. วารสารมังรายสารสถาบันภาษาและวัฒนธรรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 9 (1), 65-79.

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2564). ความหวัง กำลังใจ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และโควิด-19. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.sac.or.th/portal/th/article/detail/247

ภานุวัฒน์ สกุลสืบ. (2566). หุ่นพยนต์กับการป้องกันโรคโควิด-19: กรณีศึกษาตามแนวคิดคติชนวิทยา 3 มิติ ของกิ่งแก้ว อัตถากร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง. 11 (1), 79-89.

วิชัย โชควิวัฒน์, สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ และ ประพจน์ เภตรา กาศ. (2553). รายงานการสาธารณสุขไทย ด้านการแพทย์แผนไทยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ ทางเลือก. กรุงเทพมหานคร: สํานัก วิชาการกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.

วิภานันท์ ม่วงสกุล, ระชี ดิษฐจร, บัวทิพย์ เพ็งศรี และนิตยา วิโรจนะ.(2565). พหุลักษณ์ทางการแพทย์เพื่อ ป้องกันโรคโควิด-19. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. 23 (45), 99-111.

สังคม ศุภรัตนกุล. (2561). การเลือกแบบแผนการรักษาการเจ็บป่วยของครัวเรือนในพื้นที่ชนบทอีสาน. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ. 11 (2), 12-22.

สามารถ ใจเตี้ย. (2561). การสื่อสารพิธีกรรมล้านนาเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารวิชาการนวัตกรรม สื่อสารสังคม. 6 (2), 142-151.

สามารถ ใจเตี้ย และ วราคณา สินธุยา. (2562). ผีล้านนาในมิติการสร้างเสริมสุขภาพชุมชน. วารสารวิจัย ราชภัฎพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 14 (2), 161-169.

โสภี อุ่นทะยา. (2557). วาทกรรมชายแดน. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง. 10 (3), 49-68.

อภิลักษณ์ เกษมผลกูล และ สินีกานต์ แก้วกันหา. (2563). รูปแบบและบทบาทความเชื่อในสถานการณ์ไวรัส โคโรนา: การศึกษาความเป็นพหุวัฒนธรรมในสังคมไทย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 28 (3), 260-286.

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (2549). พหุลักษณ์ทางการแพทย์กับสุขภาพในมิติสังคมวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

Khanna, A., I, N., Chakrabarti, R., & Indraganti, P.K. (2021). Does Collective Consciousness Compromise during Epidemics and Pandemics?. EAI Endorsed Transactions on Smart Cities. 5 (13), 1-7.

Kleinman, A. (1980). Patients and Healers in the Context of Culture: An Exploration of the Borderland between Anthropology, Medicine, and Psychiatry. Berkeley: University of California Press.

Kowalczyk, O., Roszkowski, K., Montane, X., Pawliszak, W., Tylkowski, B., & Bajek, A. (2020). Religion and Faith Perception in a Pandemic of COVID‑19. Journal of Religion and Health. 59, 2671–2677.

SDG Move. (2564). SDG Updates สำรวจผลกระทบของโควิด-19 ต่อสุขภาพจิตของคนไทยใน 1 ปีที่ ผ่านมาเพื่อดูแลสุขภาพจิตใจกันให้มากขึ้นในปี 2564. ออนไลน์. สืบค้น 24 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.sdgmove.com/2021/01/13/sdg-updates-impact-covid-19- mental-health/