ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำยุคปรกติใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา และสตูล

Main Article Content

กวินท์ บินสะอาด
วัน เดชพิชัย
ตรัยภูมินทร์ ตรีตรีศวร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำยุคปรกติใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา และสตูล 2) เพื่อพัฒนาคู่มือประเมินภาวะผู้นำยุคปรกติใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา และสตูล การดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ ได้แก่  ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำยุคปรกติใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากนั้นนำไปวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ EFA กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 440 คน ซึ่งเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับของลิเคิร์ท ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.98 – 1.00 และนำไปวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน CFA ได้ค่าความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์คือ ( c2 = 653.280, p 0.000 value < .001, df = 344, c2 / df = 1.899, RMSEA = 0.064, CFI = 0.964, TLI = 0.945 และ RMR = 0.011) ระยะที่ 2 การพัฒนาคู่มือประเมินภาวะผู้นำยุคปรกติใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยผู้เชี่ยวชาญ 7 คน
          ผลการวิจัย พบว่า
          1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำยุคปรกติใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา และสตูล มี 5 องค์ประกอบ 33 ตัวบ่งชี้
          2. คู่มือการประเมินภาวะผู้นำยุคปรกติใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา และสตูล ประกอบด้วย 1) หลักการและเหตุผล 2) แนวคิดหลัก 3) วัตถุประสงค์ของคู่มือ 4) คำชี้แจงการใช้คู่มือ 5) ลักษณะของคู่มือ 6) ประเด็นและความหมายที่ใช้ในการประเมิน 7) แนวทางการประเมิน และ 8) ตัวอย่างแบบประเมินภาวะผู้นำยุคปรกติใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา และสตูล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤติภัทรกร ศิริภัทรนิธิโภคิน. (2564). การใช้เทคโนโลยีในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาในยุควิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

ณัฐพงศ์ ตระการ และ สุรางคนา มัณยานนท์. (2565). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 2 (1), 121-135.

ทวีสันต์ วิชัยวงศ์. (2562). ภาวะผู้นำยุคใหม่และทักษะการบริหารงานในองค์กร. คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ทัชเชษฐ์ นิยมสุข. (2560). ภาวะผู้นำทางจริยธรรมของนายกเทศมนตรีที่ส่งผลต่อ ประสิทธิภาพองค์การ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 10 (1), 215-228.

ธันยนันท์ สุริยาวิชญ์. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างความไว้วางใจกับพนักงานในองค์กร. วิทยาลัยการจัดการ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

นิภาพร รอดไพบูลย์. (2565). ทักษะการบริหารในศตรวรรษที่21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระแก้ว. คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา

เบญจวรรณ หาญวุฒินานนท์. (2560). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อบทบาทผู้บริหารในการส่งเสริมองค์กรแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พาที เกศธนากร. (2553). การพัฒนาระบบการประเมินผู้บริหารมืออาชีพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

สร้อยทิพย์ แก้วตา (2565) คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุวภัทร เสียมภูเขียว. (2566). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนในเครือข่ายอำเภอบ้านดุงในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วารสารคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 3 (2), 48-62.

หฤทธิ์ เขียวสะ และอมลวรรณ วีระธรรมโม. (2562). การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหาร สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. (รายงานการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับ บัณฑิตศึกษา แห่งชาติ ครั้งที่ 20). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อนุวัฒน์ ทัศบุตร (2565) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงาน เป็นทีมที่มีประสิทธิภาพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Dessler, G. (1998). Management Fundamentals: Modern Principles and Practices. Reston Virginia: Reston

Khatkarw, P. (2016). The Dimensional Vision of School Administrators and School Academic Affairs Management under Nakornprathom Primary Educational Service Area Office 2. Master of Education Thesis, Program in Educational Administration Department of Educational Administration, Graduate School, Silpakorn University. (in Thai)