ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารเรือนจำที่มีอิทธิพลต่อความเป็น องค์กรนวัตกรรมของเรือนจำในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาระดับของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารเรือนจำในเขต สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) ศึกษาระดับของความเป็นองค์กรนวัตกรรมของเรือนจำในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ3) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารเรือนจำที่มีอิทธิพลต่อความเป็นองค์กรนวัตกรรมของเรือนจำในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การวิจัยเป็นเชิงปริมาณโดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่า IOC ระหว่าง 0.67 – 1.00 และค่าสัปประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาร์ค (Conbach’s coefficient Alpha) เท่ากับ 0.99 กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าพนักงานเรือนจำในสังกัดเรือนจำในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 188 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารเรือนจำ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก สามารถพิจารณาตามรายด้านโดยเรียงตามด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ และด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ตามลำดับ 2) ระดับของความเป็นองค์กรนวัตกรรมของเรือนจำ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก สามารถพิจารณาตามรายด้านโดยเรียงตามด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านการมุ่งเน้นความสำคัญของบุคลากร ด้านโครงสร้างองค์กร ด้านมีวิสัยทัศน์และเป้าหมายร่วม ด้านการสื่อสารที่มีคุณภาพ ด้านความคิดสร้างสรรค์ และด้านการพัฒนาบุคลากร 3) ปัจจัยมีอิทธิพลต่อความเป็นองค์กรนวัตกรรมของเรือนจำในเขต สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถทำนายความเป็นองค์กรนวัตกรรมได้ร้อยละ 67.5 โดยเรียงลำดับความสำคัญจากค่าสัมประสิทธ์พยากรณ์คือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างอุดมการณ์ (b= 0.689) และด้านการคำนึงความเป็นปัจเจกบุคคล (b= 0.145) ตามลำดับ
Article Details
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมราชทัณฑ์. (2565). แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 –2570). ของกรมราชทัณฑ์. ม.ป.พ.
ฐากูร อนุสรณ์พาณิชกุล. (2563). รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และการจัดการนวัตกรรมที่มีผลต่อความสำเร็จวิสาหกิจชุมชน ในเขตภาคเหนือตอนล่าง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง. 9 (2),
-25.
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร, สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล, พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ และ กมลมาลย์ ไชยศิริธัญญ. (2564). การศึกษาองค์ประกอบของการพัฒนาสถาบันการอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกของประเทศไทยให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม. วารสารสังคมศาสตร์. 10 (2), 20-35.
ธัญญามาศ แดงสีดา. (2565). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยเกริก
นันธิดา จันทร์ศิริ. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนในการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมภายในองค์กร. วารสารสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์. 17 (1), 79-98.
บุษกร คำโฮม. (2562). บทบาทของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการส่งเสริมนวัตกรรมองค์กร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร. 16 (75), 1-6.
พิชชาภา ตันเทียว และอรพรรณ คงมาลัย. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรนวัตกรรม บริบท การประปานครหลวง. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. 18 (1), 141-158.
พิทยาภรณ์ ปัญญาหอม และกฤษดา ผ่องพิทยา. (2566). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสิงห์บุรี. วารสารสถาบันวิจัยญาณ สังวร. 14 (1), 47-58.
รัตนวดี โมรากุล, ดวงใจ ชนะสิทธิ, นภาเดช บุญเชิดชู และ อรพรรณ ตู้จินดา. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบองค์กรแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10 (2), 2341-2355.
รุ้งนภา จันทร์ลี. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี. RBRU e-Thesis. https://etheses.rbru.ac. th/ showthesis.php?theid=326&group=20.
วิทย์ มงคลวิสุทธิ์, บุญฑวรรณ วิงวอน และ สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล. (2563). องค์กรแห่งนวัตกรรมในฐานะบทบาทเชื่อมโยงระหว่างภาวะผู้นำและการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของกลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน. Journal of Management Science Chiang Rai Rajabhat University. 16 (2), 1-22.
วิทยา ดวงสินธุ์. (2566). อิทธิพลภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. วารสารชมรมบัณฑิตศิลป์. 1 (1), 15-21.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.). (2562). โครงการวิเคราะห์ผลสำเร็จของการดำเนินโครงการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของชาติในบริบททางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม. รายงานฉบับสุดท้าย (Final Report) โครงการวิเคราะห์ผลสำเร็จของการดำเนินโครงการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของชาติในบริบททางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม. 1 (1), 1-10.
สาธิต ปานอ่อน, ปภาวดี มนตรีวัต และจีระ ประทีบ. (2556). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการในกลุ่มเรือนจำเขต 7. วารสารการจัดการสมัยใหม่. 11 (1), 97-106.
สาธิต สุวรรณโสภา และวงศ์ธีรา สุวรรณิน. (2563). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อพฤตกิรรม การสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานบริษัทลีสซิ่งในเขตกรุงเทพ มหานคร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 4 (1), 110-125.
สิริภักตร์ ศิริโท, รัตติญา ละเต็มซัน และวิวัฒน์ กิตติพงศ์โกศล. (2560). ความเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. วารสารบริหารธรุกิจเทคโนโลยีมหานคร. 14 (1), 159-177.
สุพจน์ ปลื้มจิตร และวิเชียร รู้ยืนยง. (2566). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 13 (2), 202-215.
แสงดาว คณานับ และลัดดาวัลย์ เพรชโรจน์. (2566). ได้ศึกษาถึงภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์. 8 (2), 1035-1048.
อุบลรัตน์ สุขพันธ์ และ จรัส อติวิทยาภรณ์. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1. วารสารการบริหารจัดการและนวัตกรรมท้องถิ่น. 5 (6), 92-109.
Avolio, B.J. and B.M. Bass, 1994. Individual Consideration Viewed at Multiple Levels of Analysis: A Multi-Level Framework for Examining the Diffusion of Transformational Leadership. Leadership Quarterly. 6 (2), 199-218.
Hill, Charles W.L. & McShane, S.L. (2008). Principple of management. McGraw-Hill.
McKeown, M. (2008). The Truth About Innovation. Prentice Hall.
Little, R.J.A., & Rubin, D.B. (2002). Statistical analysis with missing data. (2nd.ed.). John Wiley & Sons.