ตัวแบบการบริหารจัดการที่ดีของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน พื้นที่กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นิรันทร์ ภิรมย์ลาภา
วรรณวิภา ไตลังคะ
มนสิชา โพธิสุข
บุญส่ง ศรีอนุตร์
ชูชีพ เบียดนอก

บทคัดย่อ

          ความขัดแย้งเป็นกระบวนการทางสังคมอย่างหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยกระบวนการระงับข้อพิพาททางเลือก ผ่านศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการสร้างความสมานฉันท์สู่สังคม การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะการบริหารจัดการที่ดี และพัฒนาตัวแบบการบริหารจัดการที่ดีของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนพื้นที่กรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้สำเร็จการฝึกอบรมหลักสูตรไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน จากสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยเป็นผู้ผ่านการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ไม่น้อยกว่า 6 เดือน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 260 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง  
         ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะการบริหารจัดการที่ดี โดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยตัวแปรแฝงที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการที่ดีมากที่สุดคือ ประสิทธิภาพในการวางแผนและการควบคุม รองลงมาคือ ภาวะผู้นำและความร่วมมือ การเมืองและการบริหารสภาพแวดล้อมภายนอก และสมรรถนะองค์การ เมื่อพิจารณาความสอดคล้องของตัวแบบการบริหารจัดการที่ดีของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่าการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยค่าความกลมกลืนผ่านเกณฑ์ แสดงว่าโมเดลมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างคือ Chi-square =760.1111, chi-square/df= 2.781, df= 198, p=0.000 CFI=0.826, IFI=0.923, RMR=0.035 และ RMSEA=0.080 แสดงให้เห็นว่า สมรรถนะองค์การ ประสิทธิภาพในการวางแผนและการควบคุม การเมืองและการบริหารสภาพแวดล้อมภายนอก และภาวะผู้นำและความร่วมมือ ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อการบริหารจัดการที่ดีของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนพื้นที่กรุงเทพมหานคร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ. (2564). รายงานประจำปี 2564 กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ. ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2566. แหล่งที่มา: https://ww2-api.rlpd.go.th/File/Documentcontent

จุฑารัตน์ เอื้ออํานวย. (2551). ระบบยุติธรรมและยุติธรรมทางเลือก: แนวการวิเคราะห์เชิงสังคมศาสตร์.

กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

จักรกริญน์ ทอดสูงเนิน และคณะ. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชนกรณีศึกษา ศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 40 (1), 98-113.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ประยุกต์ ปิติวรยุทธ. (2566). การนำนโยบายเมืองสมุนไพรไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย. 13 (1), 481-496.

ธีระวัฒน์ สุขีสาร. (2554). การศึกษาความเที่ยงตรงของการประมาณค่าในการวิเคราะห์ โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับภายใต้เงื่อนไขวิธีการประมาณค่า และขนาด ตัวอย่างที่แตกต่างกัน. ปริญญาการศึกษาดุษฎีนิพนธ์บัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิมาน กฤตพลวิมาน และคณะ. (2563). วิเคราะห์ประเด็นสำคัญภายใต้พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.2562. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข. 6 (2), 453-465.

วิทูล หนูยิ้มซ้าย และคณะ. (2562). รูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยแนวทางพุทธสันติวิธี: กรณีศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท สภาทนายความ กรุงเทพมหานคร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 7 (2), 302-314.

วรเดช จันทรศร. (2559). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิก.ธี.

ศักดิ์ชาย สุนทรธนาภิรมย์. (2565). แนวทางการพัฒนาระบบและศักยภาพการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของหน่วยงานซึ่งดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562. Jounal of Politics and Governance. 12 (3), 17-34.

สุทธิศักดิ์ ดือเระ และคณะ. (2564). การระงับข้อพิพาททางอาญาโดยชุมชนมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนใต้. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยฟาฎอนี. 16 (30), 17-28.

สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. สำนักงาน ก.พ.ร. (2566). หลักการบริหารจัดการที่ดี. ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.igpthai.org/

Comrey, A. L., & Lee, H. B. (1992). A first course in factor analysis. (2nd ed.). Hillsdale: Lawrence Erlbaum Associates.