การพัฒนากิจกรรมชุมนุมเสริมสร้างพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

Main Article Content

พิชชาพร บุราณ
จักรกฤษณ์ จันทะคุณ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างและตรวจสอบคุณภาพกิจกรรมชุมนุมเสริมสร้างพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 2) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหลังเรียนด้วยกิจกรรมชุมนุม 3) เปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมชุมนุม ดำเนินการวิจัยตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนบางระกำวิทยศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ภาคเรียนที่ 2/2565 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมการชุมนุมเสริมสร้างพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2) แบบวัดพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบ Dependent sample t-test และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย พบว่า 1) กิจกรรมชุมนุมเสริมสร้างพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผลการประเมินความหมาะสมของกิจกรรมชุมนุมอยู่ในระดับมาก (  = 4.41, S.D. = 0.25) และคู่มือการใช้กิจกรรมชุมนุมที่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D. = 0.20) การตรวจสอบคุณภาพของกิจกรรมชุมนุมพบว่า สามารถนำไปใช้ได้จริง 2) นักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หลังเรียนด้วยกิจกรรมชุมนุม พบว่า อยู่ในระดับมาก ( = 4.17, S.D. = 0.80) 3) นักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หลังเรียนด้วยกิจกรรมชุมนุมเสริมสร้างพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรนภา วัชระธํารงกุล. (2552). การสร้างแบบวัดความตระหนักรู้ต่อผลกระทบของสภาวะโลกร้อน สำหรับนักเรียนชวงชั้นที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ.

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2559). คู่มือกิจกรรม สิ่งแวดล้อมศึกษา z (H)ero Waste: ปฏิบัติการขยะเหลือศูนย์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2549). คู่มือเลือกซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กองส่งเสริมและเผยแพร่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2558). แนวทางแสดงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของสินค้าและ บริการ. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด นิวไพศาลการพิมพ์.

ก่อโชค นันทสมบูรณ์. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อการจัดการ สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน สำหรับชุมชนตำบลลำพาน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. ปริญญาปรัชญาดุษฎี บัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ฐากร สิทธิโชค. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจริยธรรมสิ่งแวดล้อม. วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: บริษัท. สุวีริยาสาส์น จำกัด.

ไพฑูรย์ พิมดี. (2555). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของนักศึกษามหาวิทยาลัย. สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ไพฑูรย์ พิมดี. (2557). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพฤติกรรมการบริโภค ที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม ของนักศึกษา. สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

วารีรัตน์ แก้วอุไรและคณะ. (2562). แนวทางการพัฒนาการศึกษาเพื่อรองรับการเติบโตที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อุไรวรรณ หาญวงค์. (2561). การพัฒนากิจกรรมชุมนุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ สำหรับนักเรียนระดับประถม ศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 29 (3), 189-208.

Ágnes Zsóka. (2013). Greening due to environmental education? Environmental knowledge, attitudes, consumer behavior and everyday pro-environmental activities of Hungarian high school and university students. Journal of Cleaner Production 48 (2013)126-138.

Ajzen, I. (1991). "The theory of planned behavior." Organizational behavior and human decision processes. 50(2), 179-211.

Anastasios Pagiaslis. (2014). Green Consumption Behavior Antecedents: Environmental Concern, Knowledge, and Beliefs. Psychology and Marketing. 31(5), 335– 348.

environmental behavior, Environmental Education Research, 13 (4), 437-452.

J Elkington. (1994). Towards the Sustainable Corporation: Win-Win-Win Business Strategies for Sustainable Development. Towards the Sustainable Corporation. 36(2). 90-100.

Kollmuss, A. and J. Agyeman. (2002). “Mind the gap: Why do people act environmentally and what are the barriers to pro-environmental behavior?” Environmental Education Research. 8 (3), 239-260.

Louise Chawla & Debra Flanders Cushing. (2007). Education for strategic

Louise Petty. (2017). Environmental Awareness For Children: Ideas for Teachers. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.highspeedtraining.co.uk/ hub/environmental-awareness-for-kids/

Roberts, Nina S. (2009). Impacts of the National Green Corps Programme (Eco-Clubs) on students in India and their participation in environmental educationactivities. Environ.Edu.Res,15, 443–464.

Schwartz, S. H. (1997). Normative influences on altruism. In: L. Berkowitz (Ed.), Advances in Experimental Social Psychology, 10, 221-279.

Shamila Janakiraman. (2021). Exploring the Effectiveness of Digital Games in Producing pro-Environmental Behaviors when Played Collaboratively and Individually: A Mixed Methods Study in India. Tech Trends. 65, 331–347.

Smith, William H. (2019). The role of environment clubs in promoting ecocentrism in secondary schools: student identity and relationship to the earth. The Journal of Environmental Education, 1940-1892.