การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคม เพื่อเสริมสร้างการรู้สิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

จิราภรณ์ ดอกน้อย
จักรกฤษณ์ จันทะคุณ

บทคัดย่อ

           การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) สร้างและประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคม เพื่อเสริมสร้างการรู้สิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 75/75 และ 2) เปรียบเทียบการรู้สิ่งแวดล้อมก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคม โดยการวิจัยครั้งนี้ประยุกต์ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา มีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.2 โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม จำนวน 40 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคม 2) แบบวัดการรู้สิ่งแวดล้อม ใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test Dependent)
           ผลการวิจัยพบว่า
           1. กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคม เพื่อเสริมสร้างการรู้สิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการนำเสนอหัวข้อสถานการณ์สิ่งแวดล้อม 2) ขั้นการท้าทายความเชื่อหลัก 3) ขั้นการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้าใจ 4) ขั้นการตรวจสอบความเข้าใจ 5) ขั้นการสรุปความคิดรวบยอด และ 6) ขั้นการใช้ความรู้และการใช้เหตุผลการประเมิน โดยผลการประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.25/76.72 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
           2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคม มีการรู้สิ่งแวดล้อมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กีรติกา อินทร์ชัย. (2564). การวิจัยเชิงปฏิบัติการในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการสอนวิทยาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ฐากร สิทธิโชค, มัลลิกา ใจเย็น, วิทวัส นิดสูงเนิน. (มปป.). แนวทางการจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2567. แหล่งที่มา: https://anyflip.com/fpjin/gqjk/ basic/51-99

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวิริยาสาส์น.

บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2545) การวัดประเมินการเรียนรู้. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ-โรฒ: กรุงเทพมหานคร.

บุศมาพร กันทะวัง. (2562). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคมเพื่อส่งเสริมการรู้พันธุศาสตร์ เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2551). การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิด Socio-scientific. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2 (3), 99-106.

พงศ์กรณ์ พันธุ์โยศรี. (2558). ผลของการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคมที่มีผลต่อความสามารถในการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชญา ปิยจันทร์. (2560). ฟอเรสต์สคูล (Forest school) โรงเรียนทางเลือกในป่ากว้างสำหรับทุกวัย. วารสารสิ่งแวดล้อม. 22 (2), 9-13.

พินิจ ขำวงษ์. (2551). การเรียนรูวิทยาศาสตร์จากประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวนื่องกับวิทยาศาสตร์. เอกสาร ประกอบการสัมมนา เรื่อง สอนวิทยาศาสตร์อย่างไรให้สอดคล้องกับบริบทชุมชนเมือง.

ภาสินี เปี่ยมพงศ์สานต์. (2548). สิ่งแวดล้อมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ธรรมดาเพรส.

รัตนะ บัวสนธ์. (2552). วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ล้วน สายยศ, อังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพค์รั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2566). รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2551) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). ราชกิจจานุเบกษา.

Aznam, N., & Irwanto, I. (2021). Socio-Scientific Issues as a Vehicle to Promote Soft Skills and Environmental Awareness. European Journal of Educational Research. 10 (1), 161-174.

Eilks, I., Marks, R., & Stuckey, M. (2018). Socio-scientific issues as contexts for relevant education and a case on tattooing in chemistry teaching. Educación química. 29 (1), 9-20.

Maryland Association for Environmental & Outdoor Education (MAEOE). (2020). Environmental literacy. Online. Retrieved July 8, 2020, from https://maeoe.org/ environmentalliteracy

Sadler, T. D., & Zeidler, D. L. (2009). Scientific literacy, PISA, and socioscientific discourse: Assessment for progressive aims of science education. Journal of Research in Science Teaching: The Official Journal of the National Association for Research in Science Teaching, 46(8), 909-921. Science Framework. Retrieved from

Zeidler, D. L., Applebaum, S. M., & Sadler, T. D. (2011). Enacting a socioscientific issues classroom: Transformative transformations. In Socio-scientific issues in the classroom: Teaching, learning and research (pp.277-305). Dordrecht: Springer Netherlands.